31 มี.ค. 2023 เวลา 12:30 • การศึกษา

#บิดอะห์ : #การตัสเบี๊ยะห์ระหว่างร็อกอะห์ของละหมาดตะรอเวี๊ยะห์

💥ข้อตัดสิน (ฮุก่ม) เรื่องการตัสเบี๊ยะห์ระหว่างร็อกอะห์ของละหมาดตะรอเวี๊ยะห์
📌เป็นบิดอะห์ที่ถูกเสริมเข้ามาโดยที่จะไม่ได้รับผลบุญจากการกระทำ
เมื่อเราลองเขาไปศึกษารูปแบบการตัสเบี๊ยะห์ที่เกิดขึ้นระหว่างร็อกอะห์ของละหมาดตะเวี๊ยะห์เราจึงทราบว่า การกระทำดังกล่าวประกอบด้วยประการดังต่อไปนี้
🔴1-มีการเจาะจงทำการซิเกรหลังจากเสร็จทุกๆ 2 ร็อกอะห์ โดยมีเหตุผลมาจากช่วงเวลา (หลังละหมาด 2 ร็อกอะห์) หมายถึงการพุ่งเป้าไปที่ช่วงเวลานี้ โดยจะไม่ถูกกระทำในช่วงเวลาอื่น จึงเป็นการเจาะจงซิเกรที่มีเหตุผลทางเงื่อนของเวลา (หลังจากเสร็จสิ้นทุกๆ 2 ร็อกอะห์)
🔴2-มีการรวมตัวซิเกรด้วยเสียงๆเดียว
🔴3-กระทำอย่างสม่ำเสมอในช่วงเวลาดังกล่าวโดยมีหมุดหมาย
.
.
👉#รูปแบบของอิบาดะห์ที่ถูกประกอบสร้างขึ้นโดยแต่ละส่วน_ต้องอาศัยหลักฐานที่เฉพาะ...
#เพราะรูปแบบ (ที่ใช้ทำอิบาดะห์) #ก็คือส่วนหนึ่งของบทบัญญัติ ยังหมายรวมถึงรูปที่ถูกประกอบขึ้นมา
#ฉะนั้นรูปแบบที่ว่าจึงเป็นส่วนหนึ่งในหมวดอิบาดะห์ และเข้าอยู่ในเรื่องของการบัญญัติศาสนา หรืออะไรทำนองนี้
#โดยที่หลักเดิมสำหรับเรื่องนี้คือการเตากีฟ (ห้ามปฏิบัติจนกว่าจะมีหลักฐาน)
📌️ส่วนหนึ่งจากหลักฐานที่สามารถใช้มาเพื่อบ่งบอกถึงการห้ามปฏิบัติ (จนกว่าจะมีหลักฐาน)
✅️ : ท่านร่อซูลละทิ้งการปฏิบัติสิ่งหนึ่งทั้งๆที่มีเหตุให้ปฏิบัติ และปราศจากอุปสรรคใด เช่นเดียวกับการทิ้ง (ไม่ปฏิบัติ) ของเศาะฮาบะห์
✅️ย่อมถูกต้องแล้วที่จะใช้การอ้างหลักฐานด้วย...
📚แบบอย่างของท่านนบี #ที่ท่านเลือกไม่ปฏิบัติ
📚และการเห็นพ้องกันของท่านวิชาการ (อิจมาอ์) #ที่ไม่ปฏิบัติกัน
#เพราะประเด็นนี้อยู่ในหมวดของอิบาดะห์ และอยู่ภายใต้หัวข้อการตราบัญญัติทางศาสนา #หาใช่อยู่ในหมวดของจารีต
📌#ฉะนั้นการเจาะจงด้วยเงื่อนเวลา_นับเป็นเรื่องของการวางบทบัญญัติทางศาสนา
ช่วงเวลาต่างๆทั้งหมดเท่าเทียมกันไม่มีเวลาใดประเสริฐเหนือช่วงเวลาหนึ่ง นอกเสียจากมีบทบัญญัติได้มอบความประเสริฐให้กับช่วงเวลานั้น และเจาะจงช่วงเวลานั้นสำหรับทำอิบาดะห์
🔥ต่อมาคือวิธีการที่เฉพาะเจาะจง #ซึ่งคือการร่วมทำ (ซิเกร) #เป็นเสียงๆเดียวกัน ... 📌ก็คือการวางบทบัญญัติทางศาสนา (ขึ้นมาใหม่)
#และการทำซิเกรอย่างเป็นวาระประจำทุกสองร็อกอะห์ตลอดคืนเราะมะฎอน_โดยมีเงื่อนของเวลาปฏิบัติ #สิ่งเหล่านี้ถูกนับว่าเป็นการบัญญัติศาสนา (ขึ้นมาใหม่)
⛔️ไม่ถูกต้องที่จะอ้างหลักฐานกว้างๆที่พูดถึงความประเสริฐของการซิเกร เพระหลักฐานกว้างๆบทนั้นขัดกับหลักฐานที่มีความเฉพาะเจาะจง #ซึ่งคือการทิ้ง (ไม่ปฏิบัติ) #ของท่านนบี ซอลลัลลอฮฮุอะลัยฮิวะซัลลัม และการทิ้ง (ไม่ปฏิบัติ) ของบรรดาเศาะฮาบะห์
⛔️และทุกกิจการที่ไปขัดแย้งกับหลักฐานที่มีความเฉพาะเจาะจง...ก็จะเข้าอยู่ในหมวดบิดอะห์
🔥 #รูปแบบการตัสเบี๊ยะระหว่างร็อกอะห์ในการละหมาดช่วงเดือนเราะมะฎอนเป็นบิดอะห์ที่ถูกทำขึ้นมาใหม่...
🔴อิบนุลฮาญ อัลมาลิกี กล่าวไว้ในหนังสือของท่าน : อัลมัดคัล (2:293)
"เป็นที่สมควรจะออกห่างกับการกระทำที่พวกเขาอุตริกันขึ้นมาคือเป็นการซิเกรหลังจากทุกๆสองสลามของการละหมาดตะรอเวี๊ยะ และการยกเสียงสูงสำหรับทำการซิเกร และสอดประสานเป็นเสียงเดียวกัน #ทั้งหมดเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของบิดอะห์_และอุตริกรรทางศาสนาที่ถูกห้าม
แนวทางที่ดีที่สุดคือแนวทางของท่านร่อซูลและคอลีฟะฮ์หลังจากท่าน และบรรดาเศาะฮาบะที่อัลลอฮ์พึงพอพระทัยในตัวพวกเขาทั้งหมด
ไม่เคยมีการเล่าถึงว่ามีคนใดในหมู่สลัฟกระทำสิ่งนี้...เราเปิดกว้างได้สุดตามที่พวกเขาเปิดกว้างไว้ (บรรดาสลัฟ) "
📌ส่วนกรณีที่มีคนทำการซิเกรส่วนตัวเป็นครั้งคราว การกล่าวตัสเบี๊ยะ กล่าวตะฮฺลีล #โดยไม่มีเงื่อนของเวลาเข้ามากำกับ_และไม่ได้เชื่อว่ามีความประเสริฐเป็นพิเศษ...
#การซิเกรย่อมเป็นส่วนหนึ่งของความดี ซึ่งไม่ถูกจำกัดเวลาและรูปแบบ...
👉ก็ไม่เป็นไรที่เขาจะกระทำ และก็ไม่ได้เข้าข่ายการเป็นบิดอะห์อิดอฟีด้วย
#เขียน : ดร.อะหมัด มูฮัมหมัด ศอดิก อันนัจญาร
#แปลเรียบเรียง : อ. ฟาดิ้ล สมภักดี
#อิสลาม #บิดอะฮฺ #เพจความรู้ที่ยังประโยชน์_العلم_النافع #Al_Beneficial_Knowledge
โฆษณา