• Progression of Myopia in young Adults

การเพิ่มขึ้นของสายตาสั้น ในวัยผู้ใหญ่
• จากการศึกษา Refraction หรือค่าสายตาของคนที่อายุ 20-40 ปี โดย Grosvenor , 1977c พบว่า การพัฒนาสายตาสั้นเฉลี่ยของคนอายุ 20 ปี อยู่ที่ประมาณ 1.00 Diopter ในช่วงระยะเวลา 20 ปี หรือ เพิ่มขึ้นเป็น 0.05 Diopter ต่อปี
Goss , Erickson และ Cox ( 1985 ) ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับการเพิ่มขึ้นของสายตาสั้น ในวัยผู้ใหญ่ 108 คน โดยเกณฑ์ที่ใช้คือ จะต้องมีอายุมากกว่า 18 ปีขึ้นไป สามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม
กลุ่มที่ 1 : Adult Stabilization ( พบใน ร้อยละ 68 ของเพศชาย และ ร้อยละ 89 ของเพศหญิง )
จะเป็นกลุ่มที่ค่าสายตาสั้นมีการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงวัยรุ่นตอนต้น และเริ่มคงที่ในวัยผู้ใหญ่
กลุ่มที่ 2 : Adult Continuation ( พบน้อย )
เป็นกลุ่มที่ค่าสายตาสั้นจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงวัยรุ่นและมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นช้าลงในวัยผู้ใหญ่
กลุ่มที่ 3 : Adult Acceleration ( พบน้อยที่สุด )
เป็นกลุ่มที่ค่าสายตาสั้นจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วหลังช่วงวัยรุ่น หรือเพิ่มขึ้นในวัยผู้ใหญ่
Goss พบว่าในกลุ่มตัวอย่างคนไข้ 32 คน ที่ทำการหาค่าสายตา จากการทำ Refraction และ หาค่าความโค้งของกระจกตา จากเครื่อง Keratometer 3 ครั้งขึ้นไป ในคนที่มีอายุมากกว่า 18 ปีขึ้นไป
อัตราการเปลี่ยนแปลงของค่าสายตาสั้น ( D/year ) และ ความโค้งของกระจกตา หรือ Corneal Radius ( mm/year ) มีความสัมพันธ์กัน
กลุ่มตัวอย่างกลุ่มแรก ( Adult Stabilization ) พบว่า มี corneal radius เพิ่มขึ้น หรือ มีกระจกตาแบนลง ( flattened ) 11 คน อีก 8 คน พบว่า มี corneal radius ลดลง หรือ มีกระจกตานูนขึ้น ( steepened ) และไม่มีการเปลี่ยนแปลงเลย 1 คน
กลุ่มตัวอย่างกลุ่มที่ 2 และ 3 พบว่า มี corneal radius ลดลง หรือมีกระจกตาโค้งนูนขึ้น 2 กลุ่มนี้ มีค่าสายตาสั้นเพิ่มขึ้น 0.12 Diopter ต่อปี ในขณะที่ corneal radius ลดลง 0.012 มิลลิเมตรต่อปี
จากการคำนวณ การลดลงของ corneal radius 0.012 mm มีผลทำให้สายตาสั้นเพิ่มขึ้นประมาณ 0.06 Diopter ซึ่งเห็นได้ว่า เมื่อ corneal มีความ steep หรือนูนมากขึ้น จะทำให้ค่าสายตาสั้นเพิ่มขึ้นประมาณครึ่งหนึ่งของคนไข้ที่ทำการทดลอง
.
จากการวิเคราะห์ข้อมูลของ Goss and Evicks ได้ค้นพบถึงความสัมพันธ์กันระหว่าง การเปลี่ยนแปลงของค่าสายตา กับ การเปลี่ยนแปลงของกระจกตา
ในกลุ่มตัวอย่าง 100 คน ที่อายุ 6 - 15 ปี ไม่มีความสัมพันธ์กันระหว่างการเพิ่มขึ้นของค่าสายตาสั้นและการเปลี่ยนแปลงของกระจกตา
ในกลุ่มตัวอย่าง 37 คน ที่อายุเกิน 18 ปี การเพิ่มขึ้นของค่าสายตาสั้นมีความสัมพันธ์กับการโค้งนูนมากขึ้นของกระจกตา และรวมถึงแนวโน้มที่จะมี สายตาเอียง หรือ Astigmatism เพิ่มขึ้นด้วยในแนว with the rule
.
สรุปได้ว่าในวัยผู้ใหญ่ การเพิ่มขึ้นของค่าสายตาสั้น ส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่กับ การเพิ่มขึ้นของความ steep หรือความโค้งนูนของพื้นผิวด้านหน้าของกระจกตา
ดังนั้นการตรวจเช็คปัญหาสายตาเป็นสิ่งสำคัญ เมื่อตรวจพบว่ามีค่าสายตาที่เพิ่มมากขึ้น เราก็จะได้แก้ไขปัญหานั้นให้ดีขึ้นได้ หากเป็นไปได้แนะนำให้ทุกท่านตรวจเช็คสุขภาพสายตา ปีละ 1 ครั้งเป็นอย่างน้อยนะคะ
Ref . Theodore Grosveno Primary Care Optometry .
Content by Worada Saraburin , O.D .
Facebook Page : Vorada Optometry
โฆษณา