2 เม.ย. 2023 เวลา 12:02 • หุ้น & เศรษฐกิจ

ขนาดไอน์สไตน์ยังเคยบอกว่านั่นคือสิ่งมหัศจรรย์อันดับ 8 ของโลก

แต่นั่นหมายความว่าเราต้องมีเวลาในการลงทุนนานๆด้วยนะ อีกอย่างที่เราชอบก็คือถ้าสินทรัพย์ไหนที่ให้ผลตอบแทนทบต้นบ่อยๆก็น่าจะดีกว่าสินทรัพย์ที่ทบต้นน้อยกว่า
ลองมาดูตัวอย่างนี้กัน สมมติว่าเราฝากเงินกับ ธนาคาร 1 ด้วยเงินต้น 100 บาท และให้ดอกเบี้ย 100% ดังนั้นเมื่อปลายปีเราจะมีเงินเท่ากับ
100*(1+1) = 200
ทีนี้ถ้าเราฝากกับธนาคาร 2 ด้วยเงินและดอกเบี้ยเท่ากันแต่ให้ดอกเบี้ยทบต้น 2 ครั้งต่อปี นั่นหมายความว่าเมื่อปลายปีเราจะมีเงิน
{ 100*(1+1/2) * (+1/2) } = 150 * (1+1/2) = 225 บาท หรือเท่ากับ 100 * (1+1/2)^2
ซึ่งจะเห็นได้ว่ามากกว่าธนาคาร 1 อยู่ 25 บาท นี่เป็นกำไรที่เกิดจากการทบต้นที่ถี่กว่านั่นเอง
คราวนี้สมมติว่ามี ธนาคาร 3 เสนอให้ดอกเบี้ยเหมือนกันแต่ทบต้นให้ 4 ครั้ง เมื่อปลายปีเราจะมีเงิน
100 * (1+1/4)^4 = 244.14 ซึ่งมากกว่าธนาคาร 1 และธนาคาร 2
ถ้าอย่างนั้นสมมติว่ามีธนาคาร 10 เสนอดอกเบี้ยทบต้นให้ 10 ครั้งต่อปี เราก็จะยิ่งได้เงินมากขึ้นใช่หรือไม่
ถูกต้องแล้วครับ คราวนี้เราจะได้เงิน = 100 * (1 + 1/10) ^10 = 259.37 บาท ซึ่งมากกว่าทั้ง 2 ธนาคาร
อย่างนั้นถ้ามีธนาคารที่ให้ดอกเบี้ยทบต้นทุกวัน ทุกชั่วโมง ทุกนาที ทุกวินาที เงินของเราก็จะยิ่งมากขึ้น .. ใช่ครับ
แล้วเงินของเราจะเพิ่มพูนจนเป็นหลายพันล้าน หมื่นล้านหรือไม่!!!
คำถามนี้ถูกตั้งขึ้นมาครั้งแรกเมื่อปี 1683 โดย จาคอบ แบร์นูลลี่ (Jacob Bernoulli )
นักคณิตศาสตร์ชาวสวิสเซอร์แลนด์
ซึ่งจาคอบได้ตั้งเป็นสมการว่าเมื่อเงินของเราจะมีความสัมพันธ์กับดอกเบี้ย และจำนวนครั้งของการทบต้น 👎 เป็น
100 * ( 1 + 1 /n)^ n
และเมื่อค่า n สูงมากจนเข้าใกล้ค่าอนันต์ แทนที่เงินของเราจะโตจนเป็นอนันต์ก็ไม่ใช่ แต่จะวิ่งเข้าหาค่าค่าหนึ่งที่มีค่าอยู่ระหว่าง 2 ถึง 3 ซึ่ง ณ ตอนนั้น จาคอบเองก็ไม่ทราบว่าเป็นเท่าไหร่
ปัญหานี้ถูกทิ้งไว้โดยไม่มีใครสามารถตอบได้ จวบจนกระทั่งเวลาผ่านไปเกือบ 50 ปี
เมื่อ เลออนฮาร์ด ออยเลอร์ ( Leonhard Euler)
สุดยอดนักคณิตศาสตร์ชาวสวิสได้ค้นพบค่าของ e
ซึ่งเขาสามารถคำนวณได้จนถึงทศนิยมตำแหน่งที่ 18
e = 2.71828 18284 59045
หรือหมายความว่าหากธนาคารให้ดอกเบี้ยทบต้นแบบถี่ยิบ เงินของเรา ณ ปลายปีจะมีค่าเท่ากับ e เท่าของเงินต้น ไม่ใช่อนันต์
ค่าของ e ยังปรากฏอยู่ในคณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ ดาราศาสตร์และอื่นๆอีกมาก แต่สำหรับทางด้านการเงินเมื่อ e แสดงถึงการเติบโตของเงินหรือความมั่งคั่งของเรา เราสามารถกล่าวได้ว่า e เป็นสัญลักษณ์แห่งการเติบโตและเจริญงอกงาม
เรื่องของ e มีปรากฏอยู่หลากหลาย
จนปัจจุบันยังไม่มีใครตอบได้ว่าทำไมจาคอบจึงเลือกใช้สัญลักษณ์ e แทนค่าคงที่นี้ บางคนบอกว่ามาจากนามสกุลของเขา บางคนบอกว่าเขาเคยใช้ค่า a แล้วตัวต่อไปจึงเลือก e ซึ่งเป็นสระตัวถัดไป
เมื่อปี 2004 กูเกิ้ลได้ทำการขายหุ้นเพิ่มทุนให้กับประชาชนเป็นครั้งแรก (IPO) กูเกิลบอกว่าต้องการระดมทุนให้ได้เท่ากับ $2,718,281,828 คุ้นๆใช่มั้ยครับว่ามาจากตัวเลข e นั่นเอง
อย่าลืมกดติดตามเพจ เพื่อรับข่าวสารสาระดีๆ เรื่องการเงิน และการลงทุน ผ่านการทดสอบ
และการวิเคราะห์จาก wealth lab
พร้อมติดอาวุธความรู้ให้เพื่อนๆ ทุกคน
จงลงทุนกับตัวเอง ลงทุนกับความรู้ แล้วให้ความรู้ทำเงินให้คุณ
#wealthlab #ติดอาวุธให้นักลงทุน
#หุ้น #ลงทุน #เกษียณมั่นคง #ตราสารหนี้ #กองทุนรวม
โฆษณา