3 เม.ย. 2023 เวลา 04:05 • ความคิดเห็น
คำถามที่บอกเชิงปริมาณ " คนส่วนใหญ่ " อาจมองว่าเป็นการใช้จำนวนเป็นข้อสรุปคำถาม
การเปลี่ยนแปลงที่ดีกว่า เดิมผลผลิต 100 ได้มากเป็น 200 ถ้าสุจริต คิดใช้เทคโนโลยีบวกภูมิปัญญา ความรู้ใหม่ๆ แสดงออกมาเป็นรูปธรรมเฉพาะเรื่องนะครับ
ไม่ทุกเรื่อง และที่ดีกว่าไม่ใช่ความรู้สึก ต้องจับต้องรับรู้พิสูจน์ และเขียนเป็นมาตรฐาน
ในความเข้าใจของทุกคนในชุมชนในหมู่บรรพบุรุษได้ว่า :
ผลผลิตมากกว่า กำไรมากกว่า วิธีการสั่นง่ายเร็วกว่า ต้นทุนแรงงานและต้นทุนรวมถูกกว่า บรรพบุรุษใช้แรงน้อยแต่ได้ผลลัพธ์มากกว่า เป็นข้อมูล ตัวเลข
แสดงได้ อันนี้เรียกว่า
Copy Patse and Development ก๊อปปี้ลอกเลียนภูมิปัญญาอาชีพรากเหง้าความภูมิใจของเดิม บวกพัฒนาภูมิปัญญาก่อน ใช้คำว่า ไม่เอาของเก่า ทำลายทิ้งเปลี่ยนแบบไม่สนใจของเก่า อันนี้เปลี่ยนยากเพราะกว่าจะผ่านด่านบรรพบุรุษพี่น้องพ่อแม่ปู่ย่าได้ ก็ลิ้นห้อยละครับ ความเชื่อท่านฝังรากมารุ่นต่อรุ่นมาถึงเรา
และเราอาจหาญกล้าดีอย่างไรจะเปลี่ยนของเก่าแนวคิดของบรรพบุรุษ
ถ้าไม่แน่จริงส่วนใหญ่ไงครับตามความรู้สึกของผู้เปิดประเด็น ก็ต้องเชื่อฟังทำตามภูมิปัญญาบรรพบุรุษ แนวคิดทั่วๆไปนะครับไม่แตะ การเมือง
ดังนั้นจึงมีแค่ Copy Patse ลอกเลียนทำตามแบบเดิม คนส่วนนั้นที่ถูกอ้างว่าเป็นคนส่วนใหญ่ชอบตามแบบไม่ต้องคิดไม่ต้องนวตกรรมเพราะไม่อยากขัดแย้งจึง
เลียนแบบแบบเดิมๆไม่ปรับไม่เปลี่ยน
ตัวอย่างเช่น ชุมชนหมู่บ้านทำนาข้าว บรรพบุรุษก็ทำกันมากว่า40-50 ปี ชำนาญแบบนี้มาทั้งชีวิตและก็ทำจนมาถึงวันนี้ที่เป็นเรา แต่ก็เหนื่อย ก็เครียดและปัญหาก็เข้ามามากมาย ที่สำคัญมีสินค้าอาชีพเดียว ทำเป็นอย่างเดียวส่วนใหญ่
การที่ลูกหลานรุ่นใหม่จะเรียนมากเรียนสูงเรียนแตกฉานและเดินมาบอกว่า
ผมจะเปลี่ยนนาข้าวเป็นสวนเกษตรไร่นาสวนผสม ก็แทบจะอึ้งละ
การพิสูจน์
ที่จะเริ่มต้น เปลี่ยนรูปแบบ เปลี่ยนอาชีพหลาหลาย บางทีสถานการณ์ก็ไม่สามารถ
ทำเพราะมีค่าใช้จ่ายเพิ่ม การลงทุน ปรับเปลี่ยนต่างๆ ไอ้ความไม่หนักแน่นอดทนและมั่นคงต่อความคิด Copy Patse and Developนั้นแหละก็จะแพ้ควมคิดตนเอง
กลายเป็นคนกลุ่มที่อย่าเปลี่ยเล๊ยยุ่งยาก เป็นต้น เข้าใจครับ
จุดสำคัญคือ การเปลี่ยนแปลงใหม่ที่ดีกว่าต้อง เกิดจากความไว้วางใจของบรรพบุรุษตระกูลครอบครัว และค่อยๆปรับเปลี่ยนควบคู่แนวคิดใหม่ๆไปอย่าสอดคล้องจึงจะกลายเป็นพลังส่งเสริมทั้งหมดทุกคนให้ร่วมมือร่วมพลังไปสู่การพัฒนาใหม่ๆ ทำที่ละน้อยพัฒนาที่ละเรื่อง พิสูจน์วัดผลออกมาทีละอย่างให้เกิดการยอมรับ คำถามข้างต้นก็จะไม่มีครับ
หลักคิดข้างต้น ไม่ใช่แค่ตัวอย่างการเกษตร แต่อาจเป็นแนวคิดกับหลายๆอย่างได้
เพียงแต่ผู้ที่จะเปลี่ยนแปลงเดิมเป็นใหม่ ต้องเปลี่ยนแบบพัฒนาให้เกียรติบรรพบุรุษภูมิคิดคนรุ่นดั้งเดิมในแบบของ Change Agent ผู้นำการเปลี่ยนแปลง
พัฒนาเชิงบวกครับ โทษครับยาวไปเสียหน่อย
โฆษณา