3 เม.ย. 2023 เวลา 11:52 • ข่าวรอบโลก

“ฟินแลนด์” การเมืองเปลี่ยนขั้ว “ซ้ายไปขวา” ทำไม “ซานนา มาริน” ถึงแพ้เลือกตั้ง

ผ่านพ้นไปแล้วสำหรับการเลือกตั้งทั่วไปในฟินแลนด์ เมื่อวันที่ 2 เมษายน ที่ผ่านมา ผลการนับคะแนนเสียงออกมาแล้วปรากฏว่า พรรคแนวร่วมแห่งชาติอนุรักษ์นิยมฝ่ายขวา (National Coalition Party: NCP) หรือที่เรียกกันในท้องถิ่นว่า “Kokoomus” กวาดชัยชนะไป โดยคว้าที่นั่ง 48 ที่นั่งในรัฐสภา จากทั้งหมด 200 ที่นั่ง
1
พรรคฟินส์ (Finns) ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายขวาสุดโต่ง ได้อันดับสองในการลงคะแนนเมื่อวันอาทิตย์ด้วยที่นั่ง 46 ที่นั่ง ขณะที่พรรคสังคมประชาธิปไตย (Social Democrats Party: SDP) ฝ่ายซ้ายของ “ซานนา มาริน” ได้อันดับสามด้วยที่นั่ง 43 ที่นั่ง ซึ่งเป็นผลที่ฉิวเฉียดกันมากระหว่างสามพรรคผู้นำ
1
  • สรุปคือ อันดับ 1 กับ 2 เป็นพรรคฝ่ายขวา ส่วนอันดับ 3 เป็นพรรคฝ่ายซ้าย ซึ่งเป็นรัฐบาลก่อนหน้านี้
ทั้งสามพรรคนำได้ที่นั่งในสภาฟินแลนด์จริงๆ แล้วเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับการเลือกตั้งครั้งก่อนในปี 2019 ส่วนพรรคเล็กๆ ในวงการเมืองของฟินแลนด์ คือ พรรค Center Party, Left Alliance และ Greens ซึ่งทำหน้าที่เป็นพรรคร่วมรัฐบาลของ SDP ในช่วงที่พวกเขาอยู่ในอำนาจบริหาร ล้วนประสบความพ่ายแพ้ครั้งใหญ่ในการเลือกตั้งครั้งนี้
อินโฟกราฟฟิกที่นั่งในสภาฟินแลนด์ หลังนับคะแนนเสียงเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2023 เครดิตภาพ: Euronews
ในฟินแลนด์ พรรคที่ได้ที่นั่งมากสุดในรัฐสภามักจะได้รับโอกาสในการจัดตั้งรัฐบาลผสม และจะได้อ้างสิทธิ์ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ดังนั้นพรรค NCP ถึงแม้เอาชนะคู่แข่งมาได้อย่างฉิวเฉียดแต่มาเบอร์หนึ่ง จึงเป็นพรรคที่เริ่มเรียกเจรจาหาพรรคร่วม โดยพรรคชาตินิยม Finns รองอันดับ 1 เป็นแนวร่วมที่มีแนวโน้มมากที่สุดที่จะได้จัดตั้งร่วมรัฐบาล แม้จะมีความแตกต่างทางอุดมการณ์กับ NCP อยู่ก็ตาม
2
ผลปรากฏออกมาแล้วคือ “ซานนา มาริน” ซึ่งเคยเป็นหัวหน้ารัฐบาลที่อายุน้อยที่สุดในโลกเมื่อเธอเข้ารับตำแหน่ง จะไม่ได้ไปต่อในที่นั่งนายกฯ แต่ถือว่าผลการเลือกตั้งครั้งนี้พรรคของเธอก็ถือว่าทำได้ดีแล้วระดับหนึ่ง (ได้เสียงเพิ่มขึ้นจากครั้งก่อน แต่ไม่พอสู้กับอีกขั้วที่ได้ล้นหลามในรอบนี้)
3
  • Petteri Orpo ประธานพรรค NCP ที่ได้คะแนนเสียงมากสุดในครั้งนี้ เป็นพรรคที่มีแนวทางสนับสนุนด้านธุรกิจ มีนโยบายมุ่งเน้นด้านเศรษฐกิจเป็นเรื่องสำคัญสูงสุด เขากล่าวว่าต้องการจัดการกับอัตราส่วนหนี้สินต่อ GDP ของฟินแลนด์ซึ่งเพิ่มขึ้นจาก 64% เป็น 73% ในปี 2019
1
Petteri Orpo ประธานพรรค NCP เครดิตภาพ: Sergei Grits/AP
  • ทำไม “ซานนา มาริน” ถึงแพ้การเลือกตั้งในครั้งนี้ จากการวิเคราะห์ของสื่อ
  • “ซานนา มาริน” ถูกมองในต่างประเทศว่าเป็นแบบอย่างของผู้นำรุ่นใหม่ที่มีหัวก้าวหน้า แต่ต้องเผชิญกับเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากในประเทศเกี่ยวกับการใช้จ่ายภาครัฐของรัฐบาลและภาระหนี้ครัวเรือนที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก
2
  • ส่วน Petteri Orpo มีแนวคิดเดินนโยบายเศรษฐกิจแบบใหม่และให้คำมั่นว่าจะแก้ปัญหาของฟินแลนด์ ด้วยการเพิ่มหนี้สาธารณะของประเทศแต่จะเร่งการเติบโตทางเศรษฐกิจภายในให้ได้มากขึ้น เขายังมีแนวคิดสนับสนุนเรื่อง “การลดสวัสดิการ” และ “ตัดเงินอุดหนุน”
2
ซึ่งเป็นนโยบายที่ตรงข้ามกับพรรค SDP ของมาริน เนื่องจากความเห็นที่แตกต่างกันอย่างมากของพรรคเกี่ยวกับการเงินของรัฐและความจำเป็นในการลดงบประมาณประเทศ แทนที่จะลดสวัสดิการลง ฝ่ายของมารินต้องการเพิ่มภาษีให้มากขึ้น แม้แต่นักเคลื่อนไหวแนวร่วมแห่งชาติเองก็ปฏิเสธความเป็นไปได้ในการจัดตั้งรัฐบาลที่เรียกว่า “blue-red coalition” [2 ขั้ว จับมือกันจัดตั้งรัฐบาล หรือ รัฐบาลผสม]
เครดิตภาพ: Heikki Saukkomaa/Lehtikuva via AP/picture alliance
การจัดตั้งรัฐบาลแบบผสมในภูมิภาคบอลติก ไม่น่าจะเกิดขึ้นได้อีกในเร็ววันนี้จากการคาดการณ์ เห็นได้จาก “เดนมาร์ก” ที่ก่อนหน้านี้รัฐบาลของประเทศจัดตั้งโดย พรรคสังคมประชาธิปไตยฝ่ายซ้ายเดนมาร์กได้จับมือร่วมรัฐบาลกับพรรคอนุรักษ์นิยม Venstre ฝ่ายขวา เนื่องจากผลการเลือกตั้งที่ไม่เด็ดขาดขั้วใดขั้วหนึ่ง และพรรคสายกลางที่จัดตั้งขึ้นใหม่ซึ่งนำโดยอดีตนายกรัฐมนตรี Lars Lokke Rasmussen ปรากฏว่าเกิดปัญหา “ขาดเสถียรภาพในการบริหารงาน”
1
อย่างไรก็ตาม ทั้งสามพรรคต้องประสบความพ่ายแพ้ในการเลือกตั้งครั้งต่อมา เนื่องจากผู้มีสิทธิเลือกตั้งมองว่ารัฐบาลผสมเป็นการ “ทรยศ” ต่อเสียงที่ผู้เข้าเลือกเข้าไปทำงาน
อีกปัญหาหนึ่งที่เจอในสมัยของมารินเป็นนายกฯ คือ ชาวพื้นเมืองทางตอนเหนือของประเทศหรือ “ซามี” หลายคน ได้พูดตรงไปตรงมาอย่างไม่เคยมีมาก่อนในการวิพากษ์วิจารณ์เธอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องที่เธอรู้ทั้งรู้ว่า “ล้มเหลวในการปกป้องสิทธิของพวกเขา” และกล่าวหาว่าเธอผิดสัญญา และให้ความสำคัญกับสิทธิของประชาชนในประเทศอื่นๆ มากกว่าในบ้านตัวเอง [ฟินแลนด์]
1
กฎหมายที่ก่อให้เกิดแรงกระเพื่อมดังกล่าว คือ “พระราชบัญญัติสภาซามี” ซึ่งกำหนดระเบียบวิธีที่รัฐบาลฟินแลนด์มีต่อสภาซามี ในเรื่องที่มีผลกระทบต่อชาวซามี อันเป็นผลมาจากการที่รัฐบาลเป็นรัฐบาลผสม 5 พรรค (ก่อนหน้านี้) มีพรรคหนึ่งเดียวที่คัดค้าน ซึ่งก็คือ พรรคกลาง (Centre Party) เข้ามาตั้งแง่และขัดขวางกฎหมายนี้
Center Party พรรคร่วมรัฐบาลฟินแลนด์ที่ขัดขวาง “พระราชบัญญัติสภาซามี” มีรากฐานมาจากอดีตกลุ่มเกษตรกรของฟินแลนด์ ซึ่งมีแนวโน้มสนับสนุนความเป็นอัตลักษณ์ของชาวซามีน้อยลงเรื่อยๆ ในไม่กี่ปีที่ผ่านมา นับเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนอย่างยิ่ง
1
เหตุผลใหญ่ที่พรรค Center Party ปิดกั้นกฎหมายฉบับนี้ (โดยใช้ข้ออ้างเรื่องชนกลุ่มน้อยของซามี) และสาเหตุที่ “ซานนา มาริน” ดูเหมือนไม่เต็มใจที่จะดำเนินการเพียงฝ่ายเดียวเพื่อผลักดันการกระทำดังกล่าวไปยังรัฐสภา ล้วนเป็นเรื่องการเมือง
ดังนั้น การสนับสนุนกฎหมายที่เสนอโดยสภาซามี โดยขัดต่อความต้องการของพรรคร่วมอย่าง Center Party อาจเป็นสิ่งที่ไม่ดี และเธอไม่ต้องการเขย่าหรือสร้างความสั่นคลอนให้กับรัฐบาลในเวลานั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเนื่องจาก Center Party มีประวัติที่ว่า ขู่จะยุบรัฐบาลหากวิธีการของพรรคพวกเขาไม่ได้รับการตอบรับ
สามารถอ่านบทความที่ผมเคยเขียนเกี่ยวกับเรื่องนี้ได้ที่ลิงก์ด้านล่าง
  • อีกพรรคหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในครั้งนี้ คือพรรค Finns ชาตินิยมขวาสุดโต่ง ซึ่งมีแนวทางต่อต้านสหภาพยุโรปอย่างรุนแรงจนถึงจุดที่มีเป้าหมายถึงขนาดต้องการการนำ “ฟินแลนด์” ออกจากกลุ่มสหภาพยุโรปกันเลย และยังกังขาในมาตรการต่อต้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและต่อต้านอย่างรุนแรงต่อการรับเพิ่มผู้อพยพ [คนละขั้วกับพรรค SDP ของมารินอย่างชัดเจน] จากตรงนี้มองกันว่าจุดยืนของพรรค Finns นั้น ยังค่อนข้างห่างไกลจากแนวทางของพรรค NCP ที่ได้เป็นผู้นำรอบนี้
1
อย่างไรก็ตาม หลังจากชัยชนะในการเลือกตั้ง Petteri Orpo ระบุว่าเขาพร้อมที่จะยอมรับพรรค Finns เป็นพรรคร่วมโดยละทิ้งอคติเกี่ยวกับ “ขวาสุดโต่ง”
Riikka Purra หัวหน้าพรรค Finns ซึ่งมีแนวนโยบาย “ต่อต้านผู้อพยพ” ขอบคุณผู้สนับสนุนที่ร่วมลงคะแนนให้กับพรรคของเธอ พรรคของเธอได้รับเสียงสนับสนุนเพิ่มขึ้นอย่างมาก เนื่องจากประเทศเผชิญกับวิกฤตค่าครองชีพหลังการเกิดสงครามในยูเครน Purra เป็นผู้ชนะเลือกตั้งแบบรายบุคคลที่ได้คะแนนมากที่สุดในการเลือกตั้งครั้งนี้ด้วยคะแนนเสียงมากกว่า 42,500 เสียง
Riikka Purra หัวหน้าพรรค Finns เครดิตภาพ: SAMI KUUSIVIRTA
“ซานนา มาริน” ดูเหมือนจะตกงาน แม้ว่าข้อเท็จจริงที่ว่าเธอได้รับการยกย่องว่าเป็นนายกรัฐมนตรีที่ได้รับความนิยมสูงสุดของประเทศในช่วงทศวรรษ 2000s และมักถูกมองว่าแสดงความเฉิดฉายเป็น “ดารา” เนื่องจากเธอชอบถ่ายภาพที่มีเสน่ห์และขึ้นปกนิตยสารอยู่ประจำ มารินยังได้รับสมญานามว่า “นายกสายปาร์ตี้” เนื่องจากข่าวพาดหัวดังไปทั่วโลกเกี่ยวกับเรื่องอื้อฉาวงานปาร์ตี้ของเธอ
2
และอาจด้วยจังหวะไม่ดีในช่วงวิกฤตโควิด-19 นโยบายของรัฐบาลเธอคือเน้นไปทางเข้มงวด ด้วยการปิดเมืองที่ยืดเยื้อและโครงการบรรเทาทุกข์ครั้งใหญ่ทำให้ฟินแลนด์มีหนี้สินล้นพ้นตัว พรรค SDP แพ้แม้ว่าคะแนนเสียงจะสูงกว่าการเลือกตั้งครั้งก่อนก็ตาม
1
เครดิตภาพ: Petteri Sopanen / Yle
เรียบเรียงโดย Right SaRa
3rd Apr 2023
  • แหล่งข่าวอ้างอิง:
<เครดิตภาพปก: AP Photo>
โฆษณา