Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เด็กการเงิน DekFinance
•
ติดตาม
4 เม.ย. 2023 เวลา 05:30 • หุ้น & เศรษฐกิจ
เปรียบเทียบ 2 กลุ่มสินค้าที่ควรรู้ Consumer Discretionary vs. Consumer Staple
และมีกองทุนไหนบ้างที่เน้นสินค้า 2 กลุ่มนี้ (ฉบับอัพเดท)
วันนี้ #เด็กการเงิน ขอมาอธิบายและเปรียบเทียบ 2 กลุ่มสินค้าสำคัญที่นักลงทุนควรรู้จัก ซึ่งเป็นกลุ่มที่อาจสร้างความสับสนให้นักลงทุนได้ว่าแตกต่างกันอย่างไร นักลงทุนที่อ่าน Fact Sheet คงจะเห็น 2 Sectors นี้คือ Consumer Discretionary และ Consumer Staples มาดูกันว่า 2 กลุ่มนี้แตกต่างกันอย่างไร และจะเจอ 2 กลุ่มนี้ในกองทุนประเภทใดบ้าง
สิ่งที่จะได้จากบทความนี้
1. ความแตกต่างระหว่าง Consumer Discretionary และ Consumer Staple และตัวอย่างสินค้า
2. หุ้นระดับโลกที่อยู่ใน MSCI World Consumer Discretionary และ MSCI World Consumer Staple
3. ผลตอบแทนและความเสี่ยง
4. 2 กลุ่มสินค้านี้จะเจอในกองทุนประเภทใดบ้าง และมีกองทุนไหนบ้างที่เน้นสินค้า 2 กลุ่มนี้
1️⃣ ความแตกต่างระหว่าง Consumer Discretionary และ Consumer Staple และตัวอย่างสินค้า
👜Consumer Discretionary เป็นกลุ่มสินค้าที่ทำให้มูลค่าเพิ่มขึ้นสูงได้จากการผลิต สินค้าในกลุ่มนี้จัดเป็นสินค้าฟุ่มเฟือย แฟชั่น ธุรกิจโรงแรม รีสอร์ต เรือสำราญ รวมถึงรถยนต์ และ e-commerce platform ก็จัดอยู่ในกลุ่มนี้ด้วย นอกจากนี้ Consumer Discretionary ในมุมของสินค้าแฟชั่นคือ สินค้าที่คนพอมีกำลังซื้อ ต้องการมีไว้เพื่อให้ดูน่าเชื่อถือ หรือทำให้ภาพลักษณ์ดูดีขึ้นนั่นเอง
รวมไปถึงกลุ่มสินค้า Luxury ซึ่งมีอำนาจต่อรองด้านราคา และเน้นลูกค้า High-end หรือลูกค้ากำลังซื้อสูง ที่ไม่ว่าราคาจะเพิ่มขึ้นมากเท่าไหร่ก็พร้อมจ่าย ตัวอย่างเช่น กระเป๋าแบรนด์เนม เครื่องสำอางเเบรนด์หรู เป็นต้น
🛒 Consumer Staples เป็นกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต เป็นสินค้าที่ไม่ว่าเศรษฐกิจจะเป็นอย่างไร ผู้คนก็ยังมีความจำเป็นต้องใช้สินค้าหรือบริการนั้นอย่างต่อเนื่อง เช่น อาหารและข้าวของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน
2️⃣ หุ้นระดับโลกที่อยู่ใน MSCI World Consumer Discretionary และ MSCI World Consumer Staple
อ้างอิงจากดัชนีของ MSCI World เพื่อดูว่าสินค้าระดับโลกของ 2 กลุ่มนี้มีอะไรบ้าง เริ่มจาก
(1) MSCI World Consumer Discretionary เป็นดัชนีกลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือยที่รวบรวมบริษัทขนาดกลางและใหญ่ครอบคลุม 23 กลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว โดยมี Top 5 Countries ได้แก่ สหรัฐฯ 67% ญี่ปุ่น 10% ฝรั่งเศส 7% เยอรมนี 4% UK 2%
Top 5 sub-sector ประกอบด้วย
1) Automobile Manufacturers 20.22%
2) Internet & Direct Marketing Retail 19.05%
3) Apparel, Accessories & Luxury Goods 9.58%
4) Restaurants 8.91%
5) Home Improvement Retail 7.85%
โดยหุ้นในดัชนีนี้ประกอบไปด้วย Amazon แพลตฟอร์ม e-commerce ขนาดใหญ่ โดยมีสัดส่วนราว 16% ตามด้วยบริษัทรถยนต์ขนาดใหญ่ Tesla ศูนย์จำหน่ายสินค้าตกแต่งและซ่อมบ้านอย่าง Home Depot (คล้ายๆโฮมโปรบ้านเรา) นอกจากนี้ยังมี LVMH บริษัทกระเป๋าหลุยส์ วิคตอง, McDonald, Nike, Toyota, Starbucks และ Sony เป็นต้น
(2) MSCI World Consumer Staple เป็นดัชนีกลุ่มสินค้าจำเป็นที่รวบรวมบริษัทขนาดกลางและใหญ่ครอบคลุม 23 กลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว โดยมี Top 5 Countries ได้แก่ สหรัฐฯ 59% UK 11% สวิตเซอร์แลนด์ 9% ญี่ปุ่น 5% ฝรั่งเศส 5%
Top 5 sub-sector ประกอบด้วย
1) Packaged Foods & Meats 20.52%
2) Soft Drinks 14.76%
3) Household Products 14.64%
4) Hypermarkets & Super Centers 11.64%
5) Tobacco 9.31%
โดยหุ้นในดัชนีนี้ประกอบไปด้วย แบรนด์ผลิตของใช้ที่ใช้ในครัวเรือนเช่น P&G 8.4% บริษัทอาหารขนาดใหญ่ของโลก Nestle เครื่องดื่ม Coca-Cola, Pepsio แบรนด์ผลิตของใช้ส่วนตัว เช่น Unilever, L’oreal หรือซุปเปอร์มาร์เก็ตขนาดใหญ่เช่น Walmart และ Costco Wholesale
3️⃣ ผลตอบแทนและความเสี่ยง
Consumer Discretionary เป็นกลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือย โดยความผันผวนของสินค้ากลุ่มนี้มาจาก รายได้ที่ขึ้นอยู่กับสภาวะเศรษฐกิจนั่นเอง โดยถ้าหากเศรษฐกิจเปิด หรือขยายตัว จะส่งเสริมให้สินค้ากลุ่มนี้ขายดีขึ้น เพราะผู้บริโภคมีกำลังซื้อและมั่นใจที่จะจ่ายเงินออกไป ในทางกลับกัน หากคนไม่มั่นใจ หรือมีกำลังซื้อหดหาย กลุ่มนี้ก็จะโดนกระทบก่อนเป็นอันดับแรก
ในขณะที่ Consumer Staple เป็นกลุ่มสินค้าจำเป็นที่ส่วนใหญ่มีรายได้คงที่ เพราะคนต้องจับจ่ายใช้สอยเป็นประจำ ดังนั้นกลุ่มนี้ก็จะมีความผันผวนน้อยกว่าเมื่อเทียบกับกลุ่มแรก
🤔 วิเคราะห์ผลตอบแทนและความเสี่ยง (ผลตอบแทนในอดีตไม่ได้การันตีอนาคต)
(1) เมื่อดูผลตอบแทนและความเสี่ยงระหว่าง MSCI World Consumer Discretionary เทียบกับ MSCI World Consumer Staple ช่วง YTD สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ (2 เดือนแรกของปีนี้) จะเห็นว่ากลุ่ม Discretionary มีผลตอบแทนมากกว่ากลุ่ม Staples เนื่องจากช่วงต้นปีมีข่าวว่า Fed อาจผ่อนคลายนโยบายทางการเงิน มีความหวังของการกลับมาใช้จ่ายของผู้คน กลุ่ม Discretionary จึงค่อนข้าง outperform ได้ดี
แต่ถ้าหากดูผลตอบแทนเเบบ 1 ปี เป็นช่วงที่ถูกกดดันจากปัญหาเงินเฟ้อและการขึ้นดอกเบี้ย กลุ่ม Discretionary จึงติดลบเยอะกว่ากลุ่ม Staples
(2) หากเปรียบเทียบระหว่าง MSCI World Consumer Discretionary เทียบกับ MSCI World (กลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว: DM) และ MSCI ACWI (กลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว และกำลังพัฒนา: DM & EM) หากดูระยะยาวที่ 10 ปี กลุ่ม Discretionary ให้ผลตอบแทนที่มากกว่า จึงพอสรุปได้ว่าในสภาวะเศรษฐกิจที่เป็นปกติหรือเศรษฐกิจดี คนมีการจับจ่ายใช้สอยสินค้ากลุ่มนี้จำนวนมาก แต่อย่างไรก็ตาม ก็แลกมากับความผันผวนที่มากกว่าเช่นกัน
(3) หากเปรียบเทียบระหว่าง MSCI World Consumer Staple เทียบกับ MSCI World (กลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว: DM) และ MSCI ACWI (กลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว และกำลังพัฒนา: DM & EM) ก็จะเห็นว่ากลุ่ม Staple มีผลตอบแทนและความเสี่ยงที่ต่ำกว่าในช่วงเวลาปกติ ถือว่าไม่หวือหวา เหตุผลก็อย่างที่กล่าวไปแล้วว่าสินค้ากลุ่มนี้เป็นสินค้าจำเป็นที่ส่วนใหญ่มีรายได้คงที่ เพราะคนต้องจับจ่ายใช้สอยเป็นประจำ
แต่ถ้าพิจารณาในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา เป็นช่วงที่ถูกกดดันจากปัญหาเงินเฟ้อและการขึ้นดอกเบี้ยผลตอบแทนกลุ่ม Staples ก็ไม่ได้รับผลกระทบมาก ไม่ได้ติดลบหนักเหมือนกลุ่มอื่น รวมไปถึงความผันผวนก็น้อยกว่าเพื่อน จึงเรียกได้ว่ามีความ defensive
จากผลตอบแทนและความเสี่ยงที่กล่าวมา ก็พอสรุปได้ว่า Consumer Discretionary เป็นหุ้นกลุ่ม Growth และ Consumer Staple เป็นหุ้น Value เน้น Defensive นั่นเอง
4️⃣ 2 กลุ่มสินค้านี้จะเจอในกองทุนประเภทใดบ้าง และมีกองทุนไหนบ้างที่เน้นสินค้า 2 กลุ่มนี้
โดยปกติแล้ว กองทุนประเภท Growth จะมี Consumer Discretionary อยู่แล้วค่อนข้างมาก ร่วมกับกลุ่ม IT นอกจากนี้ยังมี Consumer Staple ติดพอร์ตอยู่ด้วยเล็กน้อย เป็นการกระจายความเสี่ยง
นักลงทุนอาจไม่จำเป็นต้องมี Pure Consumer Discretionary ก็ได้ เพียงแค่มีกองทุนประเภท Growth อยู่ก็เพียงพอแล้ว เว้นแต่ว่านักลงทุนที่ชอบกลุ่มนี้จริงๆ และรับความเสี่ยงจากความผันผวนที่ค่อนข้างสูงได้
สำหรับ Consumer Staple จะเป็นหนึ่งในกลุ่มของ Defensive ซึ่งนักลงทุนสายซอฟต์ ไม่ชอบความเหวี่ยงมาก สามารถมีกลุ่ม Defensive ติดพอร์ตไว้ได้
📍ยกตัวอย่างกองทุนที่เน้น Consumer Discretionary & Trends และ Consumer Staple มากกว่า 30% โดยอ้างอิงจากข้อมูลล่าสุด ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2023 (ถ้าตกหล่นกองทุนไหนไป บอกเพิ่มได้นะ)
👜 กลุ่ม Consumer Discretionary & Trends
1. KFGG และ ONE-UGG-RA ถือเป็น Global Growth Theme
2. LHGLIFEE, MCONT, KFGMIL ถือเป็น Global Consumer Trends Theme
3. TCHCON ถือเป็น Consumer Discretionary Theme ของจีน
4. T-PREMIUM BRAND, ASP-TOPBRAND ถือเป็น Luxury Trend
🛒 กลุ่ม Consumer Staples > 30% ได้แก่ KFGRAND และ TISCOGC
📌กองทุนที่กล่าวมาเป็นเพียงการยกตัวอย่างเท่านั้น ไม่ได้เป็นการชี้แนะให้ลงทุน และหลายกองทุนมีความกระจุกตัวในหมวดอุตสาหกรรมใดอุตสาหกรรมหนึ่ง หรือประเทศใดประเทศหนึ่ง ซึ่งการลงทุนมีความเสี่ยง ดังนั้นผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจลงทุน
ข้อมูล ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2023
ที่มา:
https://www.msci.com/documents/10199/e8096ca8-6a16-4be0-861c-971f21c2a4c6
https://www.msci.com/documents/10199/04d4c23a-f633-4bf6-b20d-735e9fb13538
Facebook 👉
https://www.facebook.com/DekFinance101
FB Group 👉
https://www.facebook.com/groups/2881645572091138
Blockdit 👉
https://www.blockdit.com/dekfinance
LINETODAY 👉https://today.line.me/th/v2/publisher/10240
1 บันทึก
2
1
1
2
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย