4 เม.ย. 2023 เวลา 01:39 • ไลฟ์สไตล์
ขอเท้าความไปไกลนิดนึงนะคะ
ในอดีตโบราณกาลตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์ ความแข็งแกร่งทางกายภาพคือปัจจัยหลักของการอยู่รอด เพศชายซึ่งมีกายภาพที่แข็งแรงกว่าเพศหญิง จึงมีบทบาทหลักต่อการอยู่รอดของเผ่าพันธุ์ สิ่งนี้เรียกว่า gender role ค่ะ
ชุดความคิดนี้ก่อตัวขึ้นตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์ สะสมและส่งต่อกันมารุ่นแล้วรุ่นเล่า จนกลายเป็น "ลัทธิชายเป็นใหญ่”
จุดเปลี่ยนคือเมื่อโลกเราเปลี่ยนจากยุคเกษตร เป็นยุคการผลิตเพื่อบริโภค ต้องการแรงงานอย่างกว้างขวางขนานใหญ่ ผู้หญิงจึงออกมาทำงานนอกบ้าน ช่วงแรกๆเป็นเพียงแรงงานสนับสนุน เพศหญิงจึงไม่ได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกับเพศชาย
การปฏิบัติอย่างไม่เท่าเทียม ดำเนินไปเป็นเวลานาน ส่งผลกระทบเชิงลบมากมายในหลายๆแง่ จึงเป็นที่มาของการเรียกร้องความเท่าเทียม
มองตามความเป็นจริง ความไม่เท่าเทียมในสังคม ยังมีให้เห็นในอีกหลายรูปแบบ ตั้งแต่เรื่องพื้นๆที่พบเห็นได้ทั่วไป เช่น คุณภาพชีวิต โอกาสทางการศึกษา การเข้าถึงสาธารณูปโภคพื้นฐาน-รัฐสวัสดิการ โอกาสในการยกระดับฐานะทางเศรษฐกิจ ความปลอดภัยในชีวิต เสรีภาพในการแสดงออก ฯลฯ เหล่านี้เป็นเพียงภาพกว้างๆของความไม่เท่าเทียมที่เราเห็นจนชินตา
ซึ่งบางครั้งเราเป็นผู้เผชิญหรือผู้รับผลจากความไม่เท่าเทียม แต่บางครั้งเราก็เป็นผู้มีส่วนร่วมและก่อให้เกิดความไม่เท่าเทียมนั้นเสียเอง
กล่าวโดยสรุปคือ "ความเท่าเทียม" เป็นสิ่งที่ไม่ได้มีอยู่จริงในธรรมชาติค่ะ ความเท่าเทียมในทางชีววิทยาเป็นผลจากการวิวัฒน์ ความเท่าเทียมในสังคมมนุษย์ยิ่งไม่ต้องพูดถึง!!
โฆษณา