Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Krungthai Asset Management
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
4 เม.ย. 2023 เวลา 11:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ
วิกฤตบริหารความเสี่ยง สู่วิกฤตความเชื่อมั่น
คอลัมน์: Investment-Focus by KTAM
โดย ชัชพล สีวลีพันธ์
ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายกลยุทธ์ผลิตภัณฑ์ บลจ. กรุงไทย
ที่มาของปัญหาวิกฤตความเชื่อมั่นที่เราเจออยู่ในปัจจุบัน ตามหน้าสื่อทั่วไปไม่ว่าจะปัญหาทางฝั่งสหรัฐฯ เป็นปัญหาเฉพาะในกลุ่มธนาคารขนาดกลาง/ขนาดเล็ก ที่มีปัญหาเรื่องสภาพคล่องจากที่คนฝากเงินแห่ถอนเงินออก จากการเริ่มต้นของการที่มีผู้ฝากรายใหญ่ถอนเงินออกจนไปกระทบสภาพคล่องของธนาคารที่มีอยู่ จนต้องไปขายสินทรัพย์เพื่อนำไปคืนให้กับผู้ฝาก
●
ละเลยความเสี่ยงอายุตราสาร
แต่ปัญหามันอยู่ในส่วนนี้ คือ ตราสารที่ไปถือครองมีความเสี่ยงทางด้านเครดิตที่ต่ำก็จริง แต่อายุตราสารที่ไปถือครองกลับไปถือตราสารระยะยาวมากกว่ากว่าที่ควรจะเป็น โดยเอาเป้าหมายผลตอบแทนเป็นที่ตั้ง และละเลยการตระหนักถึงความเสี่ยงด้านอายุตราสารที่ถือครองที่จะทำให้เกิดความเสี่ยง
ทำให้เมื่ออัตราดอกเบี้ยปรับตัวขึ้น และจะต้องหาสภาพคล่องมาคืนผู้ฝากแบบจำนวนมากและรวดเร็วจนทำให้ต้องขายตราสารจนทำเกิดเหตุการณ์ปัจจุบันที่จะต้องรับผลขาดทุนเกิดขึ้น
จากเหตุการณ์นี้ต้นตอของสาเหตุของปัญหาน่าจะมาจาก 2 ส่วน คือ
1. การกระจายตัวของลูกค้า เพราะการมีผู้ฝากอยู่ในอุตสาหกรรมใดมากๆ และ/หรือ มีผู้ฝากกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งถือครองสัดส่วนของเงินฝากของธนาคารนั้นสูงจนเกินไป จนทำให้หากเกิดเหตุการณ์ที่มีปัญหากับกลุ่มผู้ฝากดังกล่าวแล้วจำเป็นที่จะต้องการสภาพคล่อง ก็จะส่งผลต่อการดำรงสภาพคล่องของธนาคารได้
2. การนำเงินฝากที่ได้จากลูกค้าไปลงทุนหรือเพื่อเตรียมพร้อมเป็นสภาพคล่อง พิจารณาเพียงแค่ความเสี่ยงของตราสาร อาจจะไม่เพียงพอ เพราะดันไปเพิ่มความเสี่ยงทางด้านอายุของตราสารจนทำให้เกิดความเสียหายของการลงทุนโดยรวม และยิ่งส่งผลกระทบต่อ เมื่อมีความจำเป็นต้องไปไถ่ถอนก็จะรับรู้ความเสี่ยง และผลกระทบทันที
1
ทั้ง 2 ส่วนนี้ทำให้มองว่าคือปัจจัยหลักที่เป็นต้นเหตุของวิกฤตในรอบนี้อาจจะไปโทษนโยบายการขึ้นดอกเบี้ยที่ขึ้นมาก็อาจจะไม่ถูกนักในฝั่งของปัญหาในกลุ่มธนาคารขนาดกลาง/เล็กในสหรัฐ
●
Credit Suisse สั่งสมปัญหา
ถัดมาปัญหาทางฝั่งยุโรปเกิดจากการที่ธนาคารเครดิตสวิส ( Credit Suisse หรือ CS ) ประสบปัญหาขาดทุนต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2564 ส่วนหนึ่งเกิดจากความล้มเหลวในการดำเนินธุรกิจ ทั้งจากการบริหารความเสี่ยงที่เห็นได้จากการปิดตัวของ Archegos Capital Management (ACM) ซึ่งผิดนัดชำระ Margin Call จากการลงทุนใน Option ของ ViacomCBS ทำให้ CS ขาดทุนถึง 5.5 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ซึ่งสูงที่สุดในบรรดาเจ้าหนี้ของ ACM ทั้งหมด (รองลงมาคือ Nomura ที่ขาดทุน 2.9พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ)
รวมถึงในกรณีของ Greensill Capital ที่มีข้อกล่าวหาการทุจริตระหว่าง Greensill และลูกค้ารายใหญ่ในธุรกิจเหล็กอย่าง Sanjeev Gupta ทำให้ทาง CS ซึ่งเป็นผู้ออกกองทุนอ้างอิง Invoice จาก Greensill ประสบปัญหา จนต้องปิดกองทุน 4กองทุนที่บริหารร่วมกับ Greensill Capital หลังจากบริษัทล้มละลาย ทำให้ Credit Suisse ได้รับความเสียหายในด้านชื่อเสียงในกรณีนี้อย่างมาก โดยเฉพาะจากลูกค้ากลุ่มมีความมั่งคั่งสูง
ทั้งนี้ ภายหลังจากที่บริษัทประสบปัญหาขาดทุนต่อเนื่องนับตั้งแต่ปี 2564 จนถึงปี 2565 ส่งผลให้ทาง Credit Suisse ได้ประกาศปรับแผนปรับโครงสร้างองค์กรในเดือน ตุลาคม 2565โดยบริษัทมีแผนในการขายส่วนหนึ่งของงาน Investment Banking อย่างกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน (Securitized Products Business) ให้กับ Apollo Global Management
รวมถึงการลดจำนวนพนักงาน, การเพิ่มทุนจำนวน 4 พันล้านฟรังก์สวิส ผ่านการทำ Private Placement ให้แก่ Saudi National Bank (SNB) และจะหันกลับมาเน้นกลุ่มธุรกิจบริหารความมั่นคั่ง, ธุรกิจธนาคาร Swiss Bank และธุรกิจ Asset Management เป็นหลัก
●
ปัญหามาจากตัวธุรกิจ
จะเห็นได้ว่าปัญหาที่เกิดขึ้นของทางฝั่งสหรัฐและยุโรป หากพิจารณาแล้วเป็นปัญหาเฉพาะตัวของแต่ละแห่ง ไม่ได้มีผลที่เกี่ยวข้องกันของสาเหตุต้นตอของปัญหาเดียวกัน แต่วิกฤตที่เกิดขึ้นในเวลาใกล้เคียงกันนี้ล้วนแล้วแต่เกิดจากการบริหารจัดการความเสี่ยงของตนเองมากกว่าที่จะไปโทษสภาวะตลาดและผู้กำหนดดอกเบี้ยนโยบาย ว่าเป็นต้นเหตุของวิกฤตความเชื่อมั่นที่เกิดขึ้น
คำถามถัดมา วิกฤตความเชื่อมั่นในครั้งนี้จะขยายตัวลุกลามจนไปเกิดสภาวะการถดถอยทางเศรษฐกิจหรือไม่ คงเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับนโยบายภาพใหญ่ของผู้คุมกฏของแต่ละประเทศที่คงหนีไม่พ้นที่จะต้องเข้ามาทำการตรวจสอบ และควบคุม กำหนดมาตราฐานต่างๆเพิ่มเติมเพื่อบริหารจัดการความเสี่ยงของระบบสถาบันการเงินที่จะต้องเข้มงวดขึ้นเหมือนกับทุกๆครั้งที่ผ่านมาเมื่อมีปัญหาใหม่ๆเกิดขึ้น
แต่นั้นก็จะทำให้ผู้ที่อยู่รอดปลอดภัยและมีวินัยที่ดีอยู่แล้วสามารถเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันได้มากขึ้น และเราก็คงจะเห็นการควบรวมของสถาบันการเงินทั้งในสหรัฐและยุโรปใน2-3 ปีนี้ เพิ่มมากขึ้นอย่างหนีไม่ได้ แต่นั้นก็จะมาพร้อมกับความผันผวนเป็นระยะๆ แต่ก็จะแลกมาด้วยความมั่นคงที่มากขึ้นในระยะยาวให้กับกลุ่มอุตสหกรรมการเงินทั่วโลกที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคตให้กับเราด้วย
ขอบคุณทันหุ้น
เศรษฐกิจ
swissnationalbank
การเงิน
6 บันทึก
3
3
6
3
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย