4 เม.ย. 2023 เวลา 17:25 • การเมือง
ผมมองว่า
ชีวิตของประชาชนใน
“ระบบประชาธิปไตย” ในแต่ละประเทศนั้น
“การเลือกตั้ง” เป็นเพียง “องค์ประกอบ” เล็กๆ ชิ้นหนึ่งเท่านั้น!
ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น?
ก็เพราะ “วันเลือกตั้ง” มีแค่ “วันเดียว” ในวาระ “การบริหารประเทศ” ที่มีระยะเวลาตามวาระของรัฐบาล “ที่มาจากการเลือกตั้ง” ตามรัฐธรรมนูญของแต่ละประเทศ
สมมุติว่า รัฐบาลมีวาระอยู่ 4 ปี ก่อนที่จะมีการเลือกตั้งใหม่
4 ปี = 4 X 365 = 1,460 วัน
วันที่ชาวบ้านไปลงคะแนนเลือกตั้งมี 1 วัน
ดังนั้น 1 / 1,460 = 0.068 %
นั่นคือ ชาวบ้านมี “ส่วนร่วม” ในการ “สัมผัสอำนาจการปกครองของตัวเอง” ในระยะเวลาเพียงแค่
2
“0.068%”
ของ “เวลา” ที่ “กลุ่มคนเล็กๆ” จะได้อำนาจนั้นไปไว้ในมือยาวนานถึง 1,460 วันโดยประมาณ!
“อำนาจอะไร?”
ลองคิดดูสิครับว่า “ถนน” และ “ระบบจราจร” ที่เราใช้เพื่อไปทำงาน, ไปส่งลูกที่โรงเรียน, ไปซื้ออาหารมาเก็บในตู้เย็นที่บ้าน ฯลฯ
“โครงสร้าง” เหล่านี้ ถูกสร้างขึ้นโดยใช้ “เงิน” ของ “คนกลุ่มเล็กๆ” กลุ่มนั้น หรือเปล่า?
คำตอบคือ “ระบบโครงสร้างสาธารณะ” และ “อื่นๆอีกมากมาย” นั้น เราได้มาด้วย “เงินภาษี” ของชาวบ้านอย่างเราๆทั้งประเทศ! โดย
“ผ่านการบริหารจัดการ”
ของ “คนกลุ่มเล็กๆ” กลุ่มนั้น ผ่านการ “เลือกตั้ง” ที่พวกเรามีส่วนในอำนาจเพียงแค่
“0.068%”
ของระยะเวลาในการ “ถือครองอำนาจ” ของ “คนกลุ่มเล็กๆ” กลุ่มนั้น!
คำถามที่ตามมาคือ
ระยะเวลาที่เหลือหลังจากที่เราไปเลือกตั้งจนถึงวันเลือกตั้งครั้งต่อไป
“ชาวบ้าน” ที่เป็นเจ้าของ “อำนาจ” ในการปกครอง และเป็น “เจ้าของเงินภาษี” ที่นำไปใช้เป็น
“งบประมาณประจำปี”
มูลค่ามากกว่า “3 ล้านล้านบาท” นั้น
จะยังมีส่วนร่วมในอำนาจนั้น และจะ “ตรวจสอบ” อำนาจนั้นที่ถูกแปรไปอยู่ในรูปของ “งบประมาณประจำปี” ได้อย่างไร?
ผมเองติดตามรายการ
“คิดยกกำลังสอง”
โดยท่านอาจารย์
ดร. สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์
ผ่านทางช่อง ThaiPBS และช่อง Youtube ของทาง ”TDRI”
เป็นตอนที่เกี่ยวกับเรื่อง
“การจัดซื้อจัดจ้าง VS คอรัปชั่น”
ที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับ
“ช่องทางของการคอรัปชั่นผ่านการจัดซื้อจัดจ้าง”
ของทั้ง “โครงการระดับชาติ” ไปจนถึง “โครงการขององค์กรปกครองท้องถิ่น” ที่ “คนกลุ่มเล็กๆ” มักกล่าวอ้างว่า
“ต้องการแก้ปัญหาให้ประชาชน” และ
“มีจิตอาสา” อยากให้ ประชาชน “อยู่ดีกินดี”
ใช้โอกาสการถ่ายโอนอำนาจในการ
“จับจ่ายใช้สอย” เงินภาษีของคนส่วนใหญ่ที่เป็น “คนจน”
ไปใช้ในการ “คอรัปชั่น” ผ่านทาง
“การจัดซื้อจัดจ้าง”
ที่มีอยู่ทุกระดับ ตั้งแต่ “การสร้างถนน” ไปจนถึง “การจัดซื้ออาหารด้อยคุณภาพ” ให้ลูกหลานพวกเรากินเป็นอาหารกลางวันในโรงเรียน
ตามที่เราๆท่านๆเห็นในข่าวอยู่เนืองๆ!
ในช่วงก่อนวันเลือกตั้งในวาระนี้
ผมเลยอยากเสนอ “นโยบาย” ที่พรรคการเมืองสามารถนำไปใช้เป็น “นโยบายหาเสียง” แก่พี่น้องประชาชนได้
ไอเดียของผมคือ
> กระทรวงฯที่เกี่ยวข้อง จะจัดทำ
“App”
ขึ้นมา ซึ่งพี่น้องประชาชนสามารถ download ไว้ใช้ได้ตามอัธยาศัย
โดย App ที่ว่า ผมตั้งชื่อให้ว่า
“เป๋าตังค์เรา เราช่วยกันดู” หรือ
“Follow Our Money”
โดย App จะมีความสามารถประมาณว่า
- แสดงให้เห็นถึง “ทุกโครงการ” ที่มีการจัดซื้อจัดจ้างที่ต้องใช้เงินภาษีของเรา
ไม่ว่าจะเป็นโครงการใหญ่ระดับชาติ จนไปถึง “โครงการท้องถิ่น” ที่จะจำแนกไปตามภูมิภาค, จังหวัด, อำเภอ, ตำบล, หมู่บ้าน ที่ต้องใช้เงินภาษีของพวกเรา
- แสดงว่าใครคือเจ้าหน้าที่เจ้าของโครงการ และใครคือ “ผู้รับเหมาโครงการที่มาจากภาคเอกชน” และราคากลางเทียบกับราคาประมูลทุกโครงการ
- แสดงให้เห็นว่า “เอกชนรายใด ได้เงินงบประมาณของเราไปใช้ทำโครงการบ่อยที่สุด
และการตรวจรับโครงการ ใครคือเจ้าหน้าที่ที่เซ็นรับโครงการ และโครงการมีปัญหาอะไรหรือไม่ และมีการตรวจรับโครงการอย่างไร?
เช่น มีการสร้างถนน แล้วหลังจากสร้างเสร็จได้ไม่นาน ถนนมีการชำรุดภายในเวลาเพียงแค่สองเดือนหลังสร้างเสร็จ
เราสามารถ “เขียนกระทู้” ลงใน App แล้ว App ก็มีการเชื่อมโยงฐานข้อมูลกับ
> “หน่วยงานตรวจสอบงบประมาณของรัฐ”
> “สื่อมวลชน”
> “สำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริต”
และหลังจากชาวบ้าน “เขียนกระทู้” แล้ว
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องเข้ามาตอบ, ติดตาม, และ update ข้อมูลให้ชาวบ้านรู้
โดยมีกระทรวงทบวงกรมที่เกี่ยวข้อง
“เป็นเจ้าภาพ”
และให้ “สื่อมวลชน” ช่วยเผยแพร่การตรวจสอบอีกทาง!
โดย มี AI เป็นตัวช่วยประมวลผลและให้คะแนน คล้ายการทำ
“Credit rating”
เพื่อทำเป็น “review” และข้อพิจารณาสำหรับ “กลุ่มคนเล็กๆ” ที่นั่งอยู่ในอำนาจที่พวกเขาได้จากเราไปในการเลือกตั้งเพียงแค่วันเดียวนั้น
และหากเราพบว่า “คะแนน” ที่ได้จากการ “review” ออกมาไม่ดี
เพราะ “งบประมาณ” ในแต่ละปีในแต่ละท้องที่มีการ “รั่วไหลมาก” และมีการบริหารจัดการที่ขาดประสิทธิภาพไปจนถึงการ “คอรัปชั่นเชิงนโยบายอย่างเป็นระบบ”
แล้วเมื่อวันนั้นมาถึง
เราในฐานะประชาชนเจ้าของอำนาจการปกครองและเงินภาษีจำนวนมหาศาล
ก็ต้องมาถามตัวเองว่า
“การเลือกตั้ง”
ยังเป็นคำตอบที่ดีในระบบประชาธิปไตยอยู่หรือไม่?
และถ้า “คนกลุ่มเล็กๆ” กลุ่มนั้นไม่สามารถหรือถึงขั้น “จงใจขัดขวาง”
เพื่อไม่ให้
“การสร้างความเท่าเทียมและลดความเหลื่อมล้ำของคนในสังคม”
เกิดขึ้นได้จริงๆ
ซึ่งการกระจาย “โอกาส” คือการกระจาย “อำนาจ” อย่างแท้จริงในระบบประชาธิปไตย
แล้วเรายังจะไปเลือกตั้ง
“เพื่อ...............?”
ถ้าพรรคไหนประกาศว่า
จะสร้าง App อย่างที่ผมว่า
ผมจะไม่ลังเลที่จะลงคะแนนให้ท่าน!
1
โฆษณา