6 เม.ย. 2023 เวลา 12:55 • ธุรกิจ

ZUPPORTS 101 : Reefer Container งานปราบเซียนและทดสอบความเก๋าของคนในวงการเฟรท!

ในช่วงปลายเดือนมีนาคม หรือต้นเดือนเมษายนของทุกปี หลายคนรู้กันดีว่า เป็นช่วงเริ่มต้นของหน้าผลไม้ประจำฤดูร้อนของบ้านเรา ซึ่ง ผลไม้มากมายหลายชนิด จะเริ่มออกสู่ท้องตลาดให้เห็น โดยเฉพาะราชาแห่งผลไม้ อย่าง ทุเรียน ซึ่งเป็นทั้งผลไม้ยอดนิยมและเป็นผลไม้เศรษฐกิจในเวลาเดียวกัน
รวมถึง คนในแวดวงนำเข้า-ส่งออกอย่างเราๆ จะรู้ดีว่า ช่วงเวลานี้ เป็นการเริ่มต้นของฤดู หรือเป็นเวลาในการขนส่งตู้สินค้าประเภทควบคุมอุณหภูมิ หรือที่เราเรียกกันจนติดปากว่า ตู้ Reefer Container !!!
คำว่า Reefer Container นั้น มาจากคำเต็มคือ Refrigerated Container โดยตู้สินค้าประเภทนี้ เป็นหนึ่งใน Special Container Equipment ที่มีคุณสมบัติพิเศษในการควบคุมอุณหภูมิภายในตู้สินค้าได้ ดังนั้น ไอ้เจ้าตู้ประเภทนี้ จึงถูกออกแบบมาเพื่อทำการขนส่งสินค้าประเภทที่ต้องทำการควบคุมอุณหภูมิตลอดระยะเวลาในการขนส่ง
=========================
ไม่พลาดทุกข่าวสาร วงการขนส่งระหว่างประเทศ นำเข้า ส่งออก เข้าร่วมกลุ่มที่ https://bit.ly/3seJRLk
=========================
โดย สินค้าที่จะถูกขนส่งด้วยตู้สินค้าประเภทนี้ สามารถแบ่งได้เป็นสองประเภทหลักๆ คือ Frozen Cargo หรือสินค้าแช่แข็ง และ Chilled Cargo หรือสินค้าแช่เย็น หากแต่ ในบางตำราหรือในบางสำนัก อาจมีแยกย่อยเพิ่มเติมได้อีกหนึ่งประเภท คือ Cooled Cargo หรือ สินค้าที่ต้องการเพียงความเย็น รวมถึงสินค้าที่ต้องการอุณหภูมิคงที่เท่านั้น
ซึ่ง Frozen Cargo นั้น เป็นสินค้าสำหรับงานแบบตู้ Reefer Container ประเภทที่หลายคนชื่นชอบ และโปรดปราน หรือเรียกว่า “หวานเจี๊ยบ” สำหรับคนทำ Reefer Container
เนื่องจาก Frozen Cargo เป็นสินค้าที่ต้องการอุณหภูมิ ตั้งแต่ 0 Degree C หรือตั้งแต่ -6 Degree C ลงไปฝั่งติดลบ ถึง -18 Degree C ซึ่งเป็นค่าอุณหภูมิมาตรฐานของสมาคมเยือกแข็ง ดังนั้น Frozen Cargo จึงถูกมองว่าเป็นสินค้าที่ค่อนข้างถึก ไม่ต้องประคบประหงมมากนัก หรือที่รุ่นใหญ่ในวงการ เรียกว่าเป็น “ของตาย“
ในขณะที่สินค้า ประเภท Chilled Cargo นั้น เปรียบเหมือนสินค้าที่ค่อนข้างท้าทายความสามารถของคนในวงการ Reefer Container พอสมควร เนื่องจากสินค้าประเภทนี้ ต้องการความเย็นสบายภายใต้อุณหภูมิ ตั้งแต่ 0 Degree C ขึ้นมาถึงประมาณ +15 Degree C ซึ่งความท้าทายจะอยู่ตรงที่ เมื่อเซ็ตอุณหภูมิในฝั่งข้างบวก จะต้องทำการเปิดค่าระบายอากาศ หรือ Ventilation หรือที่หลายคน เรียกว่า ค่า Open Air ซึ่งมีหน่วยเป็น Percentage หรือ ในบางสายการเรือ ตั้งหน่วยเป็น CMH (Cubic Meter per Hour)
และหากเจ้า Chilled Cargo ที่ว่านี้ เป็นสินค้าประเภทที่บอบบางและอ่อนไหวง่าย อย่าง Fresh Fruit หรือ Freight Vegetable แล้วละก็ มันอาจจะเป็นยาขมสำหรับหลายคนในวงการรับขนส่งสินค้า
โดยเฉพาะบรรดาตัวแทนฝ่ายขาย หรือ Sale น้องใหม่ในวงการ ที่ควรจะต้องโทรกลับมาหาพี่ๆหลังบ้านเสมอ ว่าควรจะรับดีหรือไม่ เมื่อได้รับ Enquiry แบบนี้ ???
ทั้งนี้ ก็เนื่องจาก การขนส่งสินค้าประเภทผักผลไม้สด หรือ Fresh Fruit and Veggie เหล่านี้ มันมีความซับซ้อน ในการเซ็ตค่าอุณหภูมิและค่าระบายอากาศต่างๆ ที่ต้องอาศัยประสบการณ์หรือความชำนาญสั่งสม อย่างมาก
ประกอบกับสินค้าประเภทนี้ ค่อนข้างที่จะบอบบางและเอาใจยาก แม้ว่าจะเป็นผักผลไม้แบบเดียวกัน หากแต่ความสุกแก่ พันธ์หรืออายุที่ต่างกัน มันอาจต้องการสภาพอากาศหรืออุณหภูมิที่ไม่เหมือนกัน ซึ่งค่าอุณหภูมิที่แตกต่างกันเพียง 1 หรือ 2 Degree C อาจส่งผลต่อคุณภาพหรือสีของผักผลไม้ รวมถึงการเจริญเติบโตภายตู้สินค้าขณะเดินทาง หากเป็น ผักหรือผลไม้บางประเภท
1
รวมถึง การขนส่งสินค้าด้วยตู้แบบ Reefer Container มันมีความเสี่ยง ที่มาพร้อมกับเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันเกิดขึ้นได้เสมอ และในบางเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้น หลายคนยังเก็บมาเป็นความทรงจำตลอดชีวิตการทำงาน ซึ่งหากบางคน นึกไม่ออกว่าเสี่ยงอย่างไร ???
ลองนึกภาพ กรณีที่ ส่งทุเรียนหมอนทอง ไปท่าเรือ Shanghai แล้วเคราะห์หามยามร้าย เกิดขัดข้องทางเทคนิค อุณหภูมิตู้สูงขึ้น บวกกับเจอ Delay สัก 3 วัน นั่นหมายถึง ลูกค้าที่เมืองจีนต้องนำทุเรียนที่ว่าไปกวนสถานเดียว !!!
ดังนั้น จึงไม่ใช่เรื่องแปลก หากเราจะเห็น Sale Freight น้องใหม่หลายคน ต้องไปยืนไหว้แก้บน กับพระภูมิหน้าออฟฟิส หรือพาทีม CS ไปเลี้ยงข้าว เมื่อการส่งทุเรียนครั้งแรกประสบความสำเร็จ
2
ดังนั้น การขนส่งสินค้าด้วยตู้สินค้าแบบควบคุมอุณหภูมิที่ว่านี้ จึงต้องอาศัยประสบการณ์ รวมถึงความชำนาญเป็นอย่างมาก ซึ่งในปัจจุบัน ผู้ประกอบการรับขนส่งหลายราย ถึงขั้นต้องทำการส่งพนักงานของตน ลงไปหน้างาน เพื่อคลุกคลีกับตัวสินค้าและคนทำงานหน้างาน เพื่อให้เข้าใจและเรียนรู้ถึงองค์ประกอบต่างๆ ตั้งแต่การเก็บเกี่ยวถึงการบรรจุสินค้าเข้าตู้
รวมไปถึง ขั้นตอนการทำเอกสารและใบอนุญาตจากหน่วยงานต่างๆ เนื่องจากการส่งออกสินค้าประเภทผักผลไม้ หรือสินค้าบางตัวนั้น ไม่ใช่ใครก็จะสามารถทำได้เลย หากแต่ต้องขออนุญาตและมีเอกสารรับรองจากกรมวิชาการเกษตรเสมอ ก่อนที่จะส่งออกสินค้าสู่ต่างประเทศภายใต้ Product of Thailand
ด้วยเหตุผลนี้ งานขนส่งด้วยตู้สินค้าแบบ Reefer Container นั้น จึงเป็นทั้งงานที่ค่อนข้างท้าทายความสามารถพอสมควร และ เป็นทั้งงานที่แจ้งดับ แจ้งเกิด ให้กับคน หรือสร้างชื่อให้กับหลายองค์กรอย่างที่เราเห็นในวงการ
1
Tips ที่จริงแล้ว ตู้ Reefer Container มีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างจากตู้เย็นในบ้าน ตรงที่ Reefer Container ออกแบบมาเพื่อการควบคุมอุณหภูมิ ไม่ใช่เพื่อลดความร้อนของตัวสินค้า ดังนั้น ที่ถูกต้อง ควรทำการ Pre-Cool Cargo หรือ ลดอุณหภูมิของตัวสินค้าเองเสียก่อนที่จะทำการบรรจุสินค้าเข้าตู้
2
Tips ตู้ Reefer Container ทั่วไปนั้น สามารถทำการเซ็ตหรือติดตั้งค่าอุณหภูมิ ได้ตั้งแต่อุณหภูมิห้อง +25’C ลงไปถึงฝั่งติดลบ -25’C หากแต่ ถ้าต้องการอุณหภูมิที่เย็นมากกว่านี้ ต้องทำการร้องขอตู้สินค้า Magnum Reefer Container ซึ่งสามารถทำอุณหภูมิลงไปได้ถึง -35’C
1
โดยในยุคสมัยหนึ่ง จัดว่าเป็นตู้ที่จัดว่าหายากมาก ซึ่งมีเพียงไม่กี่สายการเดินเรือเท่านั้นที่มี และหนึ่งในนั้นคือ Bangkok Marine (MCC Transport) หรือ สายการเดินเรือ MAERSK Line ซึ่งในปัจจุบัน มีการต่อยอดบริการใหม่ ที่เรียกว่า “ Super Freezer” ซึ่งเป็นบริการขนส่งสินค้าแช่แข็งด้วยอุณหภูมิที่ต่ำถึง -60’C !!!
=========================
ZUPPORTS ควบคุมต้นทุนขนส่งผ่านระบบเปรียบเทียบราคาเฟรทออนไลน์
สนใจลงทะเบียนทดลองใช้งานฟรี ที่ www.ZUPPORTS.co/register
โฆษณา