7 เม.ย. 2023 เวลา 02:51 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี

ถ่ายของดาวเคราะห์น้ำแข็งยูเรนัสจากกล้อง JWST

เราได้เห็นบรรยากาศที่สว่างไสวและวงแหวนของดาวเคราะห์นี้ ซึ่งเราถ่ายได้ถึง 11 วง (จาก 13 วง) ในการถ่ายภาพครั้งเดียว
โดยก่อนหน้านี้มีแค่ Voyager 2 และ กล้องโทรทรรศน์ Keck ที่เคยบันทึกภาพวงแหวนของดาวเคราะห์นี้ไว้ แต่มันก็ไม่ชัดเท่านี้
ยูเรนัสเป็นดาวเคราะห์น้ำแข็งที่หมุนในแกนด้านข้าง (ประมาณว่าแกนหมุนของมันตั้งฉากกับแกนหมุนของโลก) ทำให้ขั้วของมันได้รับแสงอาทิตย์เป็นเวลา 42 ปีและมืดเป็นเวลา 42 ปี (ใช้เวลา 84 ปีในการโคจรรอบดวงอาทิตย์)
เท่าที่เรารู้ ยูเรนัสมีดวงจันทร์ทั้งหมด 27 ดวง แต่มีเพียง 6 ดวงที่สว่างพอที่เราจะจับภาพได้ ได้แก่ Puck, Ariel, Miranda, Umbriel, Titania และ Oberon ตามในรูปที่ 2 เลยครับ
ส่วนใครที่ถามว่า ยูเรนัสเป็นดาวเคราะห์แก๊สไม่ใช่เหรอ คำตอบผมตามนี้ครับ
ดาวยูเรนัสถือว่าเป็น “ดาวเคราะห์น้ำแข็งยักษ์” (Ice giant) เช่นเดียวกับดาวเนปจูน เนื่องจากดาวเคราะห์ทั้งสองดวงมีองค์ประกอบทางเคมีที่มีแตกต่างจาก “ดาวเคราะห์แก๊สยักษ์” (Gas giant : ดาวพฤหัสบดีและดาวเสาร์) ตรงที่ ดาวยูเรนัสกับเนปจูนมีสารประกอบจากคาร์บอน ไฮโดรเจน ออกซิเจน ไนโตรเจน เช่น น้ำ มีเทน และแอมโมเนียมากกว่า
ในขณะที่พวกวัตถุน้ำแข็งขนาดเล็กในระบบสุริยะชั้นนอก มักประกอบด้วยสารประกอบเหล่านี้ในสภาวะเยือกแข็ง ทำให้ดาวยูเรนัสและดาวเนปจูนถูกเรียกเป็น “ดาวเคราะห์น้ำแข็งยักษ์” แม้ว่าดาวเคราะห์ชั้นนอกทั้ง 2 ดวงจะไม่มีพื้นผิวเป็นของแข็งเลย
Uranus ประกอบด้วยฮีเลียมและไฮโดรเจนเหมือนกับดาวเคราะห์แก๊ส Jupiter และ Saturn แต่มีปริมาณของน้ำ มีเมทานและแอมโมเนียมอยู่ในปริมาณที่มากในชั้นบรรยากาศและภายในด้วย ดังนั้นถึงแม้ Uranus จะเป็นดาวเคราะห์แก๊สแต่ก็ถือว่าเป็นดาวเคราะห์แข็งด้วยส่วนประกอบของมัน
ในเว็บภาษาไทย(รวมถึงตำราเรียนไทย) มักจะบอกว่ายูเรนัสเป็นดาวเคราะห์แก๊ส แต่บทความต่างประเทศส่วนใหญ่ จะจัดเป็นดาวเคราะห์น้ำแข็งยักษ์ครับ
โฆษณา