Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Physioupskill
•
ติดตาม
14 เม.ย. 2023 เวลา 11:00 • การศึกษา
## Episode38: Kinesiology of thoracic spine#3
Articulation of the thoracic wall ##
.
หลังจากที่เราได้รู้จักกระดูกแต่ละชิ้นที่ประกอบขึ้นเป็นthoracic wallกันไปแล้ว สิ่งที่เราควรรู้ต่อมาคือข้อต่อที่อยู่ภายในthoracic wall ที่ช่วยในเรื่องการเคลื่อนไหวและความมั่นคง ในบทความนี้ผมจะมาพูดถึงรายละเอียดของข้อต่อที่อยู่ในthoracic wallกันนะครับ
การที่thorax formตัวขึ้นมาจากthoracic spine, rib cage และsternum ทำให้เกิดเป็นframeที่มีความแข็งแรงขึ้น ซึ่งมีประโยชน์เพื่อเป็นจุดเกาะให้กับกล้ามเนื้อในcraniocervical region, ปกป้องintrathoracic organ และยังมีส่วนสำคัญต่อเรื่องการหายใจอีกด้วย
สำหรับข้อต่อที่อยู่ในthoracic region จะประกอบไปด้วยfacet joint ทั้งหมด12คู่ ที่วางตังทำมุม60 องศาระหว่างhorizontal planeกับfrontal plane(มีความชันมากกว่าfacet jointในระดับของcervical) การเคลื่อนไหวของfacet jointในระดับของthoracic จะถูกจำกัดการเคลื่อนไหวจากcostovertebral jt. และcostotransverse joint
Costovertebral joint(หรือ Costocorporeal joint) เป็นข้อต่อที่เชื่อมระหว่างhead of ribกับ demifacet ของthoracic spine โดยที่demifacet ของthoracic spineนั้นจะเป็นfacet jointเกิดจากbody ของspine2ชิ้นที่อยู่ติดกัน รวมถึงintervertebral discที่อยู่ตรงกลาง ลักษณะของข้อต่อจะเป็นslightly ovoid ที่มีcapsular ligament และradiate ligament ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรง
Costotransverse ligament เป็นข้อต่อที่เชื่อมต่อระหว่างtubercle of rib กับcostal facet ที่อยู่บนtransverse process ของthoracic spine levelเดียวกัน ความมั่นคงของcostotransverse joint จะเกิดจากarticular capsule, costotransverse ligament ที่จะเกาะจากneck of rib ไปยังtransverse process ระดับเดียวกัน และยังมีsuperior costotransverse ligament ที่จะเกาะจากneck of ribของซี่โครงระดับหนึ่งขึ้นไปเกาะที่transverse process ระดับที่สูงขึ้นไป1ระดับ ยกเว้นrib11,12 ที่แทบจะไม่มีcostotransverse joint
การที่rib เกาะอยู่บนthoracic spine ทำให้kinematic ของthoracic spine, costovertebral joint, costotransverse joint นั้นมีความสัมพันธ์กันและมีความสำคัญต่อการหายใจ ซึ่งเดี๋ยวผมจะหยิบมาพูดถึงในบทความต่อๆไปนะครับ
สำหรับข้อต่อที่อยู่ทางด้านหน้าของthoracic wall จะมีตัวหลักคือsternocostal joint เป็นข้อต่อที่เชื่อมต่อกันระหว่างcostal cartilage ของrib1-7 เชื่อมต่อโดยตรงเข้ากับsternum โดยที่rib2 จะเชื่อมต่อกับsternum ที่sternal angle, rib3-6 จะเชื่อมต่อกับsternum ที่lateral border ของbody of sternum และ rib7 จะเชื่อมต่อกับsternumที่xiphisternal joint
.
ส่วนrib8-10 ที่ไม่ได้เชื่อมต่อกับsternumโดยตรง แต่จะมีการเชื่อมต่อของcostal cartilage กับ cartilageอันด้านบนด้วยinterchondral joint และมีinterchondral ligamentเสริมความแข็งแรงให้กับข้อต่อครับ
ข้อต่อส่วนสุดท้ายของthoracic wall คือintersternal joint เป็นข้อต่อที่เชื่อมต่อกับนของกระดูกภายในsternum มีอยู่ด้วยกัน2ส่วนคือmanubriosternal joint เป็นข้อต่อที่เชื่อมต่อกันระหว่างmanubriumกับbody of sternum อีกส่วนหนึ่งคือxiphisternal joint เป็นข้อต่อที่เชื่อมต่อกันระหว่างxiphoid process กับbody of sternumครับ
ถ้าหากไม่นับsacroiliac joint แล้ว thoracic region ถือว่าเป็นส่วนที่มีความมั่นคงมากที่สุด เพราะมีการเชื่อมต่อกันของthoracic wall ดังที่ได้อธิบายไปแล้ว จากงานวิจัยพบว่าrib cage และsternumจะเป็น 20-40% ของpassive resistance ของthoracic motion นอกจากนี้ยังเป็นส่วนที่ช่วยรับแรงกระแทกที่เกิดขึ้นที่thoracic spine ดังนั้นเราจึงพบเคสที่มีfracture ของsternumร่วมด้วยในเคสที่มีthoracic spine injury ได้อีกด้วยครับ
ทั้งหมดนี้คือข้อต่อที่อยู่รอบๆthoracic wall ทั้งหมด การเข้าใจโครงสร้างของข้อต่อเหล่านี้จะเป็นพื้นฐานที่ดีที่จะทำให้เราเข้าใจmovement ที่เกิดขึ้นภายในthoracic region ได้ดีมากขึ้น ดังนั้นลองค่อยๆทำความเข้าใจกันดูนะครับ
ถ้าชอบเนื้อหาแบบนี้ผมฝากกด like กดแชร์ กดติดตามเพจphysioupskillด้วยนะครับ ส่วนถ้าใครมีข้อสงสัยอะไรก็commentไว้ด้านล่างได้เลยครับ
_PhysioUpskill_
#Physioupskill
⭐สำหรับใครที่อยากเรียนรู้เพิ่มเติม สามารถอ่านบทความอื่นๆได้ที่
https://physioupskill.com/บทความ/
หรือดูรายละเอียดคอร์สเรียนของเพจได้ที่
https://physioupskill.com/คอร์สเรียน/
ได้เลยครับ
Ref.
Neumann, D. A. (2016). Kinesiology of the Musculoskeletal System: Foundations for Rehabilitation. Mosby.
General Anatomy and Musculoskeletal System (THIEME Atlas of Anatomy) (THIEME Atlas of Anatomy, 1) (3rd ed.). Thieme.
Netter, F. H. (2018). Atlas of Human Anatomy. Elsevier Gezondheidszorg.
Grant’s Atlas of Anatomy. (2016). LWW.
2 บันทึก
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย