8 เม.ย. 2023 เวลา 02:48 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี

นาซาเผยภาพเศษซากของซุปเปอร์โนวา Cassiopeia A จากกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เว็บบ์

นาซาเผยภาพเศษซากของซุปเปอร์โนวา Cassiopeia A จากกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เว็บบ์ ซึ่งแสงจากการระเบิดในครั้งนี้ได้เดินทางมายังโลกเมื่อ 340 ปีก่อน โดย Cassiopeia A กินอาณาเขตกว้าง 10 ปีแสงและห่างออกไปจากโลก 11,000 ปีแสงในทิศทางกลุ่มดาวแคสซิโอเปีย ในมุมมองของเรานั้น Cassiopeia A ถือเป็นเศษซากที่ยังมีอายุน้อยทำให้การศึกษา Cassiopeia A จะทำให้เราสามารถทำความเข้าใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับซุปเปอร์โนวาได้ดียิ่งขึ้น
โดยจากการศึกษาในย่านคลื่นอินฟาเรดของเศษซากของซุปเปอร์โนวา Cassiopeia A จะพบกับกลุ่มก้อนของฝุ่นและแก๊สร้อนที่ถูกปลดปล่อยออกมาคงเหลือเพียงแก่นของดาวที่เต็มไปด้วยธาตุหนักเช่น ออกซิเจน นีออน อาร์กอน โดยการศึกษา Cassiopeia A นักดาราศาสตร์เชื่อว่ามันจะช่วยตอบคำถามถึงที่มาของ Cosmic dust เนื่องจากดาราจักรที่ยังมีอายุน้อยนั้นแต่กลับเต็มไปด้วยฝุ่นคอสมิกซึ่งการอธิบายถึงที่มาของฝุ่นเหล่านี้จำเป็นต้องอาศัยการทำความเข้าใจซุปเปอร์โนวาเสียก่อน
แต่ทว่าการศึกษาซุปเปอร์โนวาที่มีอยู่ไม่สามารถบอกปริมาณฝุ่นคอสมิกในจักรวาลในยุคแรกได้ดังนั้นนักดาราศาสตร์จึงเชื่อว่าเมื่อเราสามารถหาองค์ประกอบของแก๊สและฝุ่นในแต่ละพื้นที่ของการระเบิดได้ เราจะสามารถทำความเข้าใจถึงส่วนประกอบของดวงดาวและตัวเราซึ่งได้ถูกสร้างจากเศษซากของซุปเปอร์โนวา
เป็นที่ทราบกันดีว่าการระเบิดของดวงดาวเช่น Cas A นั้นช่วยกระจายองค์ประกอบต่าง ๆ ของดาวฤกษ์ที่สิ้นอายุขัยซึ่งได้ถูกใช้สร้างเป็นเราเช่น แคลเซียมในกระดูก ธาตุเหล้กในเลือด ช่วยเพาะเมล็ดพันธุ์ของดาวฤกษ์และดาวเคราะห์ดวงใหม่ที่กำลังจะเกิดในอนาคต
ติดตาม The Principiaได้ในทุกช่องทางออนไลน์ หรือ
ติดต่อโฆษณาได้ที่ theprincipia2021@gmail.com หรือโทร 0647711333
โฆษณา