8 เม.ย. 2023 เวลา 15:59 • ธุรกิจ
นอกจาก “รถยนต์” แล้ว
“เครื่องบิน”
ก็เป็นงานทางด้านวิศวกรรมที่ผมชื่นชอบที่จะศึกษา
จากที่ผมได้รับชมรายการประเภท
“Air Crash Investigation”
และข้อมูลที่สะสมมา
สาเหตุของการสูญเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางอากาศโดยพื้นฐานได้แก่
1) “The impact”
เครื่องบินก็เหมือนกันกับรถยนต์ตรงที่ว่าแต่ละรุ่นแต่ละแบบจะถูกออกแบบมาเพื่อ “จุดประสงค์การใช้งานที่จำเพาะเจาะจง”
1
> “Low wings VS High wing”
เห็นชัดๆว่าเป็นเรื่องของ “Wing Configurations” หรือลักษณะของ “ปีกเครื่องบิน” ที่มีหลากหลายตาม “จุดประสงค์ของการออกแบบ”
ชัดเจนว่า C-130 เป็นเครื่องบินลำเลียงทางทหาร (Military logistics) ซึ่งสามารถบรรทุก รถหุ้มเกราะหรือรถถังขนาดเบาได้ และเครื่องรุ่นนี้มีปีกแบบ High wings
1
ส่วนเครื่องบินพานิชย์ ขนาดกลางถึงใหญ่ เช่น A380 ของ Airbus หรือ 747-400 ของ Boeing มีปีกแบบ Low wings และใช้เป็นเครื่องบินโดยสาร (passenger planes) และบรรทุกสัมภาระใต้ท้องบ้าง
1
คนส่วนใหญ่รู้จัก C-130 แต่เครื่องรุ่นนี้มีลูกพี่ลูกน้อง (variants) ที่เป็น “สายโหด” ที่มีชื่อว่า AC-130 โดยผมเข้าใจว่า A = Attack หรือ โจมตี นั่นเอง
จากภาพด้านบน แสดงถึง “บทบาท” ของ High wings ที่น่าสนใจ คือ AC-130 ก็คือ C-130 ที่ถูกดัดแปลงโดยการ “ติดอาวุธหนัก” เช่น ปืนกล และ ปืนใหญ่เข้าไปข้างๆลำตัวของเครื่องบิน
3
เพื่อใช้ในภารกิจโจมตีทางอากาศกับเป้าหมายภาคพื้นดิน
และมันเหมาะมากเพราะ ปีกอยู่ด้านบนลำตัว จึงสามารถทำการยิงได้อย่างสะดวกโดยไม่ต้องกังวลว่า จะพลาดไปยิงปีกตังเอง
ในขณะที่เครื่องบินพานิชย์ ที่มีปีกแบบ Low wings ก็จะสามารถใช้ปีกช่วยในการร่อนลงฉุกเฉิน (emergency landing) บนผิวน้ำได้ อย่างที่เกิดเหตุการณ์จริงมาแล้ว ที่เครื่องบินที่เพิ่ง take off บินผ่านฝูงนก แล้วมีนกบินเข้าเครื่องยนตร์จนเกิดการระเบิดและนักบินสูญเสียกำลังของเครื่องยนตร์ซึ่งหมายถึงการสูญเสียแรงยก (Lift force)
1
แล้วนักบินที่หนึ่ง “กัปตัน Sully” ตัดสินใจนำเครื่องบิน “ร่อน” ลงแม่นำ้ Hudson จนเป็นข่าวใหญ่ที่ต่อมากลายเป็นภาพยนตร์เรื่อง Sully
จากภาพบนสุดจะเห็นได้ว่า Low wings ทั้งสองช่วยในการสัมผัสพื้นนำ้และยังช่วยให้ผู้โดยสารใช้เป็น “เส้นทางอพยพ” สู่พื้นที่ปลอดภัยได้อย่างน่าอัศจรรย์!
และโดยทั่วไป
เครื่องบินโดยสาร (Commercial Aircrafts) จะมีปีกอยู่ใต้ลำตัวเครื่อง
และนี่เป็นเหตุให้
“โครงสร้างของลำตัวเครื่องบิน” ที่เชื่อมต่อกับปีกทั้งสองข้าง จะได้รับ
“การเสริมความแข็งแรง”
ให้ลำตัวเครื่องบินสามารถรับแรงได้มากขึ้น
ผมขอเปรียบเทียบให้เห็นภาพง่ายๆดังนี้ครับ
คุณลองนึกถึงภาพ
“นักกีฬายิมนาสติก”
ที่เขาต้อง “โหนห่วง” หรือ “bars” เพื่อแสดงท่ายากๆเอาใจกรรมการสิครับ
ลองดูที่ “หัวไหล่” ของนักกีฬา คุณจะพบว่า “กล้ามเนื้อไหล่” จะมีขนาดใหญ่เป็นสัญลักษณ์ของ “ความแข็งแรง” หรือ “ความสามารถในการรับแรง” นั่นเอง
ทั้งนี้เป็นเพราะ “ปีกเครื่องบิน” เปรียบเหมือน “คาน” หรือ “สปริงบอร์ด” ที่ “นักกระโดดนำ้” ขึ้นไปกระโดดลงสระน้ำ
โดย “ปลายปีกเครื่องบิน” เปรียบเหมือนจุดที่นักกระโดดนำ้ใช้ยืนกระโดด
ส่วน “โคนปีก” คือส่วนที่ยึดติดกับขอบสระน้ำ ซึ่งผมเปรียบเทียบกับ “หัวไหล่” ของนักยิมนาสติก
ดังนั้น “ลำตัวเครื่องบิน” ส่วนที่เชื่อมต่อกับปีกทั้งสองข้าง ก็เปรียบเหมือนกับ “หัวไหล่” ของนักยิมนาสติก ที่มีความแข็งแรงเป็นพิเศษ
เพราะนำ้หนักของเครื่องบินทั้งลำ จะถูกแบกด้วยปีกทั้งสองข้างเมื่อเครื่องบินบินขึ้นไปบนอากาศแล้ว!
จึงสามารถอนุมานได้ว่า
“โครงสร้างของห้องโดยสาร” บริเวณปีกเครื่องบิน จะมีความแข็งแรงมากที่สุดนั่นเอง!
1
2) “The Fire”
มีเหตุเครื่องบินตกจำนวนไม่น้อยที่ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่เกิดจาก
“เพลิงไหม้”
หลังที่เครื่องตกแล้วเครื่องยนตร์กระแทกพื้นจนมี “นำ้มันเชื้อเพลิง” รั่วไหล แล้วเกิดไฟไหม้!
แล้วคุณรู้มั้ยครับว่า นำ้มันเชื้อเพลิงถูกเก็บไว้ตรงส่วนไหนของเครื่องบิน?
คำตอบคือ
“ปีกทั้งสองข้าง”
นักบินมักได้รับการฝึกให้ทำการ
“ทิ้งนำ้มันเชื้อเพลิง” (Fuel dump)
ในกรณีที่ต้องนำเครื่องลงฉุกเฉิน หรือ
Emergency landing
เพื่อลดโอกาสในการเกิดอัคคีภัยในตอนที่เครื่องสัมผัสพื้นแล้ว
นอกจากนั้น
ผมยังเคยได้ยินมาว่า
“การแต่งกายที่เหมาะสม”
ก็มีส่วนช่วยให้ผู้โดยสารมีโอกาสในการรอดชีวิตเพิ่มขึ้นด้วย
อันที่จริงแล้ว
“วัสดุที่ใช้ตกแต่งภายในตัวเครื่องบิน”
ก็ได้รับการคัดเลือกให้เป็น
“วัสดุทนไฟ” หรือ
“Fire-resistant / Flame-retardant material”
ตั้งแต่ต้นอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็น “พลาสติก” ที่ใช้ทำชั้นเก็บของ ไปจนถึง “เส้นใย” ที่ใช้ทำ “เบาะที่นั่งผู้โดยสาร”
แต่สำหรับผู้โดยสารเอง
ผมเคยได้ยินมาว่า
“การสวมใส่เสื้อผ้าที่ทำจากใยฝ้ายธรรมชาติ”
จะช่วย “ชะลอการลุกไหม้” ได้ดีกว่า “เส้นใยสังเคราะห์”
ว่ากันว่า บางสายการบินมีการแนะนำให้ สาวๆที่เป็น
“Flight attendants”
ให้พวกเธอเลิกใส่ “ถุงน่อง” ที่ทอจากเส้นใยสังเคราะห์เลยทีเดียว!
และการขึ้นเครื่องบินควรสวมรองเท้าที่สามารถใช้เดินบน
“พื้นผิวขรุขระ”
ได้อย่างเชื่อมั่นและรวดเร็ว เพราะหากเกิดเหตุการณ์คับขัน (The Unthinkable) ขึ้น
การหลบหนีด้วยรองเท้ากีฬา อาจเป็นสิ่งที่ช่วยชีวิตคุณได้!
3) “The Pilot”
> วัฒนธรรมทำให้เครื่องบินตกได้หรือ?
ผมตัดสินใจเป็น FC ของ Malcolm Gladwell ทันทีที่อ่าน Outliers จบ และมีอยู่บทหนึ่งที่เป็นกรณีศึกษาราคาแพงลิบในประเด็นโครงสร้างอำนาจและ subculture หรือ main culture ในองค์กรต่างๆ
เหตุเกิดด้วยเครื่องบินของสายการบินจากเอเชียตก มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก จากการตรวจสอบพบว่าตัวเครื่องไม่มีข้อบกพร่องใดๆ
เมื่อนำข้อมูลจากกล่องดำ หรือ onboard data recorder มาถอดเทป ปรากฎว่าพบเรื่องราวของบทสนทนาระหว่าง กัปตันและผู้ช่วยนักบิน ประมาณว่า
อุปกรณ์ชิ้นหนึ่งแจ้งเตือนถึงค่าที่ผิดปกติและอาจเป็นอันตรายต่อการบิน นักบินผู้ช่วยเห็นแล้ว แต่กัปตันยังไม่สนใจ นักบินผู้ช่วยไม่กล้าแจ้งเตือนหรือทักท้วง เพราะอาจหมายถึงการไม่ให้เกียรติ์และอาจเป็นการไม่เคารพต่อการตัดสินใจของผู้อาวุโสซึ่งก็คือกัปตัน และอาจมีผลต่ออนาคตชีวิตนักบินของนักบินผู้ช่วยได้ ถ้ากัปตันไม่สนับสนุน!
สุดท้ายนักบินผู้ช่วยพยายามพูดอ้อมค้อม เพื่อเตือนกัปตันแทนที่จะรีบพูดตรงๆ จนทุกอย่างสายเกินไป!
โฆษณา