9 เม.ย. 2023 เวลา 07:47 • การเมือง

เงินดิจิทัลสะพัด#หาเสียงรายวัน#หนี้สินประเทศ ขอมุกที่ยั่งยืนบ้าง

เงินดิจิทัลเงินอนาคตสะพัด-หาเสียงรายวัน-หนี้สินของประเทศ
พรรคการเมือง หรือ รัฐบาลไทยหลายชุดที่ผ่านมา..ใช้การหว่านเงินจากเฮลิคอปเตอร์กันมาหลายรูปแบบแล้ว ขอคิดด้วยคนว่า
*เงินที่ถูกหว่านจากเฮลิคอปเตอร์นั้นก็คือ "เงินกู้" ที่รัฐบาลแต่ละชุดสร้างขึ้น❕
👉และยิ่งไปกว่านั้น มันคือ "หนี้สินของประเทศ" ซึ่งเราทุกคนหรือประชาชนทุกคนนั่นแหละต้องมาร่วมกันชดใช้หนี้สินนั้น
เพราะฉะนั้นใครก็ตามที่เกิดชอบใจคิดว่าเงินแจกจากรัฐบาล คือ"เงินที่ได้มาฟรี ๆ" ก็ขอให้กลับไปคิดทบทวนใหม่ ด้วยครับ
❕โปรดสำเหนียกไว้ด้วยว่า
“ไม่เคยมีของฟรีในโลกใบนี้"
"ทุกอย่างมีต้นทุน"
และ "ทุกคนต้องร่วมกันชดใช้หนี้ที่รัฐบาลก่อไว้"
(จบป่ะ อุ่ย)
 
อนึ่ง เงินที่ได้มาฟรี ๆ(ที่ไม่มีบนโลกใบนี้) นั้น มีการทำกันอยู่ในทุกประเทศ
👉Helicopter money ในอดีต(since 1969)หรือปัจจุบันที่ผ่านมานั้น หลายประเทศที่ใช้ทฤษฎี Helicopter money แบบที่พรรค"เพื่อใคร" กำลังชู หลายประเทศที่ใช้วิธีการแจกเงินให้ประชาชนเพื่อสร้างค่านิยมให้แก่รัฐบาล หรืออาจจะเรียกว่าเป็นการหาเสียงมาแล้วนั้น ลองค้นดูว่าประเทศเหล่านั้นติดหนึ้ติดสินกองทุนโลกกันเท่าไหร่
👉แจก 10,000 บาทเพื่อมากระตุ้นเศรษฐกิจ ให้ใช้จ่ายและบริโภคในชุมชนตามที่คุณเศรษฐาบอกว่า”ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศให้ฟื้นตัวขึ้นมาได้นั้น”
เมื่อค้นอ่านและคิด(คคหส่วนตัว)เท่าที่มีการใช้แบบนี้แล้วหลายครั้ง มันไม่ยั่งยืนครับผม
❤️(อะแฮ่ม..มันผิวเผินมากด้วย-ป้าแอบเติม)
อีกอย่างเรื่องนี้ไม่ได้เป็นเครดิตของพรรคนี้(การแจกเงินดิจิทัลมีแถลงข่าวจากกระทรวงดิจิทัลว่าอยู่ในระหว่างการศึกษาถึงวิธีการปฏิบัติจริง)
"การแจกเงิน" เหล่านี้ สามารถช่วยให้เศรษฐกิจเติบโตในระยะสั้น กระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยได้เป็นช่วงสั้น ๆ เท่านั้น ไม่มีประโยชน์ต่อการเติบโตระยะยาวเลยครับ
ลุง-ของป้าพา
ลองคิดดูว่า มีคนให้ปลาเรามา 1-2 ตัว กินไม่กี่มื้อก็หมด
แต่ถ้ามีคนสอนเราจับปลา เราย่อมมีปลาไว้กินไปตลอด
...คำพูดคำสอนนี้มีมาแต่โบราณแล้วนะครับ...
ลุง คนเดิม
การเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาวนั้น ต้องมาจากการลงทุนด้านอุตสาหกรรมต่าง ๆ จากการวางแผนด้านเศรษฐกิจ หรือจากนโยบายที่ดูแลกำกับความเป็นอยู่ การทำมาหาเลี้ยงชีพของประชาชน ตั้งแต่ระดับจุลภาคไปจนมหภาพ จึงจะถือเป็นปัจจัยที่สร้างความมั่งคั่งและเติบโตอย่างแท้จริง ซึ่งผม(หมายถึงลุงคนนี้) คิดไม่ออกหรอกครับ ได้แต่รอดูนโยบายจากท่านหัวหน้าพรรคต่าง ๆ รวมไปถึงแคนดิเดต-นายก ทุกท่าน มีตั้ง 63 คน!!!
ลุง-คนนี้อีกแล้ว
1
#ฝันเห็น”นโยบายดี ๆ ”จากการหาเสียงของพรรคการเมือง(ใดก็ได้ครับ)
ลองมาย้อนดูประวัติศาสตร์ ดูทฤษฎี “สนามการค้า” ของนายกชาติชาย ชุณหะวัณ หรือ “มิสเตอร์อินโดจีน” กัน
พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นนายกรัฐมนตรี ช่วงปีพศ. 2533(ยังไม่เกิดกันหลายคน) ท่านบริหารประเทศไทยยุคนั้นให้เกิดการไหลเวียน เกิดการเติบโตของเศรษฐกิจ ทั้งที่ไทยยังไม่ได้เจริญนัก จนสามารถผงาดขึ้นมาเป็น"ผู้นำภาคเศรษฐกิจ-ระดับอินโดจีน" ท่านทำยังไง ขอหยิบยกผลงานหนึ่งมาเล่า ซึ่งเป็นผลงานที่สัมฤทธิ์ผลอย่างมาก จนสามารถสร้างชื่อเสียงให้ประเทศไทยได้
นั่นคือนโยบาย “สนามการค้า”
นโยบายนี้คือการดำเนินการด้านเศรษฐกิจ โดยเปลี่ยนสนามรบในช่วงเวลาระหว่างปีพศ.2531-2533 ในแถบประเทศอินโดจีนให้กลายมาเป็นสนามการค้า มูลค่าการค้าระหว่างประเทศกลุ่มนี้เพิ่มสูงขึ้นจาก 300 ล้านบาทในปี พ.ศ.2531 เพิ่มเป็น 1,200 ล้านบาทในปี พ.ศ.2532 และเพิ่มเป็น 2,000 ล้านบาทในปี พ.ศ.2533
นายกชาติชายเติบโตมาจากการเป็นนักการทูต ท่านจึงมองสถานการณ์แบบนักการทูต คือมองยาว ๆ ท่านมองต่างจากบุคคลสำคัญของประเทศและของโลก ณ ตอนนั้นหลายคน อาทิ นายกเติ้งเสี่ยวผิง ซึ่งไม่เห็นด้วยกับนโยบายหรือทฤษฎีที่พยายามเปลี่ยนสนามรบแถบอินโดจีนให้เป็น “สนามการค้า”นี้
แนวคิดที่สำคัญแบบนี้(การเปลี่ยนสนามรบเป็นสนามการค้า)จัดได้ว่าเป็นเรื่องใหญ่เป็นการทูตแนวใหม่ของสมัยนั้น เป็นเรื่องที่ไม่น่าเป็นไปได้แต่เป็นไปแล้ว
การทำให้ประเทศที่มีอุดมการณ์และระบอบการปกครองต่างกันหันมาร่วมมือกันในด้านที่ไม่มีความขัดแย้งกันให้ได้ คือ ด้านเศรษฐกิจ นั้นยากต้องอาศัยวิสัยทัศน์ที่ยาว ๆ ลุงจึงฝันอยากเห็นนโยบายหาเสียง "บึ้ม ๆ" แบบนี้จากพรรคการเมืองครับ
..
ลุงไม่ลงรายละเอียดมากไปกว่านี้ ใครสนใจกดออ่านลิ้งค์อ้างอิงครับ
ขอโน้ตว่า นโยบายนี้เข้าตาชาวโลกจนโลกขนานนามนายกชาติชายว่า
“มิสเตอร์อินโดจีน”
บทสรุป
แจกเงินเพื่อจูงใจ หาเสียง หรือ ซื้อเสียงแบบโก้เก๋ มันไม่ยืนยง.."ทรงไม่แบด"แต่ระวังจะ"แซดอย่างบ่อย"ครับผม
(ลุงๆๆๆ ลุงคนนี้)
ปล.
1) ป้าและลุงคุยกันว่า สงครามยูเครน, ปัญหาความขัดแย้งกันของขั้วอำนาจใหญ่ ๆ ในโลกถ้ามีการเปลี่ยน"สนามรบ" ให้เป็น"สนามรัก เอ๊ย..สนามการค้า" มันน่าจะดีกว่ามั้ย
2)ฟังนโยบายพรรคเพื่อ? รู้สึกเสียดาย..Helicopter อีกแล้วหรือ เลยเกิดบทความนี้
(ทฤษฎี Helicopter money คิดค้นโดย Milton Friedman นักเศรษฐศาสตร์ชาวอเมริกันในปี 1969..โน้น..)
3) ใครคิดว่าไม่เกี่ยว..มันก็ไม่เกี่ยว ใครคิดว่าเกี่ยว..มันก็เกี่ยว
..เอ๊ะ อะไรกันนี่..
สรุปของ ปล. ใครคิดเห็นยังไงก็เม้นต์ฝากไว้นะคะ
"คิดเหมือนคิดต่าง เราก็คนไทยเหมือนกัน คิดและคุยแลกเปลี่ยนกันได้
ขอบพระคุณค่ะ"
อ้างอิง
* ทางที่ดีคือหยุดรบกันและหันมาค้าขายกันดีกว่า
อ่านต่อได้ที่ https://www.investerest.co/economy/battlefield-to-trade-field/ | ลงทุนศาสตร์ Investerest.co

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา