9 เม.ย. 2023 เวลา 10:53 • การเมือง
ผมขอแจ้งในสิ่งที่ผม “อยากได้” และ “ไม่อยากได้” ดังนี้ครับ
“ไม่อยากได้นโยบายประชานิยม”
1
ผมขอยกข้อเขียนที่ผมค้นพบจากธนาคารแห่งประเทศไทยมานำเสนอครับ
​”ไทยจะเกิดวิกฤตเศรษฐกิจเหมือนเวเนซุเอลาหรือไม่
​นายสุพริศร์ สุวรรณิก
ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค
“ในช่วงการหาเสียงเลือกตั้งที่ผ่านมา ประเด็นที่ถกเถียงกันในสังคมมากที่สุดประเด็นหนึ่ง คือ นโยบายประชานิยมที่ผู้แทนพรรคต่างๆ สัญญาไว้กับประชาชน จะทำให้ไทยเกิดวิกฤตเศรษฐกิจแบบที่เวเนซุเอลากำลังประสบอยู่หรือไม่ คอลัมน์บางขุนพรหมชวนคิดวันนี้จึงอยากชวนท่านผู้อ่านมาถกในประเด็นนี้ว่าเป็นความจริงมากน้อยเพียงใด
เกิดอะไรขึ้นกับเวเนซุเอลา?: เวเนซุเอลากำลังเผชิญกับปัญหาเงินเฟ้ออย่างรุนแรง (hyperinflation) กล่าวคือ
ระดับราคาสินค้าโดยทั่วไปในระบบเศรษฐกิจพุ่งสูงขึ้นถึง 9.29 แสน% ต่อปี (ณ สิ้นปี 2561 ตามประมาณการ IMF เพราะทางการหยุดประกาศตัวเลขจริงไปตั้งแต่ปี 2559) หรือเปรียบเปรยอย่างง่ายๆ ได้ว่า ข้าว 1 จานที่เคยซื้อ 30 บาทเมื่อสิ้นปี 2560 กลับต้องซื้อจานละเกือบ 3 แสนบาทตอนสิ้นปี 2561 นำมาสู่ภาวะขาดแคลนอาหาร น้ำสะอาดและยารักษาโรค ส่งผลให้อัตราการเกิดอาชญากรรมสูงขึ้นมากและประชาชนอพยพออกนอกประเทศ
นอกจากนี้ เศรษฐกิจเวเนซุเอลายังหดตัวลงถึง 50% ในช่วงเวลาเพียง 5 ปีที่ผ่านมา ขณะที่ระดับเงินสำรองระหว่างประเทศร่อยหรอลงเรื่อยๆ (เหลือประมาณ 8 ร้อยล้านดอลลาร์ สรอ. ณ สิ้นปี 2561 เทียบกับ 3 หมื่นล้าน ก่อนประธานาธิบดีมาดูโรเข้ารับตำแหน่งในปี 2556) ดูท่าแล้วมืดมน แทบไม่เห็นแสงสว่างปลายอุโมงค์ นี่ยังไม่นับรวมปัญหาไฟฟ้าดับเกือบทั้งประเทศที่ทำให้เวเนซุเอลาอยู่ใน “ความมืดมิด” จริงๆ
เพราะอะไรทำให้เวเนซุเอลามาถึงจุดนี้?: ภาวะเงินเฟ้ออย่างรุนแรงของเวเนซุเอลาเกิดขึ้นจากปัญหาทางการคลังที่สะสมมาเป็นระยะเวลานาน ส่วนหนึ่งเกิดจากผลการขาดทุนของรัฐวิสาหกิจผนวกกับการดำเนินนโยบายประชานิยม (ตั้งแต่สมัยประธานาธิบดีชาเวซ)
โดย ณ สิ้นปี 2561 มีสัดส่วนหนี้สาธารณะ (ตามข้อมูล IMF ประมาณ 159% ต่อ GDP) และสัดส่วนหนี้ต่างประเทศที่อยู่ในระดับสูงมาก (นักวิเคราะห์หลายสำนักคาดการณ์ว่าอยู่ประมาณ 150% ต่อ GDP) ขณะที่รายได้รัฐบาลจากการขายสินค้าหลักของประเทศคือ “น้ำมัน” ลดลงมากในช่วงที่ผ่านมา ตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ปรับตัวลดลง ทำให้ระดับเงินสำรองระหว่างประเทศลดฮวบ นำมาสู่ปัญหาที่รัฐบาลไม่สามารถจ่ายคืนเงินต้นและดอกเบี้ยได้ เพราะต้องชำระคืนหนี้เป็นเงินตราต่างประเทศ
อย่างไรก็ตาม แทนที่รัฐบาลเวเนซุเอลาจะแก้ปัญหาโดยการรัดเข็มขัดทางการคลัง กลับสั่งการให้ธนาคารกลางเวเนซุเอลาพิมพ์เงินออกมาเพื่อแลกเป็นเงินตราต่างประเทศไปใช้คืนหนี้ และทำอย่างต่อเนื่องเรื่อยๆ ทำให้ปริมาณเงินในระบบสูงขึ้น โดยไม่มีสินทรัพย์หนุนหลัง ขณะที่ไม่มีใครต้องการถือเงินโบลิวาร์ ส่งผลให้เงินสกุลนี้แทบไม่มีค่าในที่สุด
...
เมื่อไทยแตกต่างจากเวเนซุเอลา งั้นนโยบายประชานิยมก็ทำได้เรื่อยๆ อย่างนั้นหรือ?: นโยบายประชานิยมที่ดีนั้น ควรอยู่ภายใต้หลักของการรักษาวินัยทางการเงินการคลังที่รัดกุม และต้องสร้างประโยชน์ในระยะยาว เช่น การส่งเสริมโอกาสให้เกิดความเท่าเทียมในระบบเศรษฐกิจ การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่ไม่ได้จำกัดอยู่ที่โครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ แต่ยกระดับโครงสร้างอื่นๆ ด้วย อาทิ การศึกษา สังคม และสาธารณสุข อันจะช่วยป้องกันไม่ให้ประเทศไทยต้องประสบปัญหาทางการคลังเหมือนเวเนซุเอลา
การที่สังคมถกเถียงถึงข้อดีข้อเสียของนโยบายประชานิยมที่พรรคต่างๆ กล่าวถึงตอนหาเสียง เป็นสิ่งที่ดี เพราะจะทำให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ๆ และเกิดความเข้าใจในความเห็นของกันและกัน อย่างไรก็ตาม การถกเถียงนั้นควรอยู่บนหลักของเหตุผล ตรรกะ และข้อมูลจริง เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องให้กับสังคมครับ!”
บทความนี้เป็นข้อคิดเห็นส่วนบุคคล ซึ่งไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับข้อคิดเห็นของธนาคารแห่งประเทศไทย
1
ที่มา:
ยังมีบทวิเคราะห์จากหลากหลายสถาบันที่ให้ความเห็นถึง
“นโยบายประชานิยม”
ในทิศทางที่ส่งผลกระทบต่อ
“เงินเฟ้อ”
และค่าครองชีพที่อาจสูงขึ้นได้ และยากที่จะดึงตัวเลขเงินเฟ้อให้กลับลงมาโดยปราศจาก “ความเจ็บปวด” ของชาวบ้านที่ต้องรับภาระ “ดอกเบี้ยเงินกู้” ที่อาจสูงขึ้น!
ผมขอยกตัวอย่างบทวิเคราะห์ดังกล่าวมาให้พิจารณาพอสังเขปดังนี้
“สิ่งที่ประชาชนอย่างผมอยากได้”
1) “ประสิทธิภาพในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติของประเทศ และงบประมาณแผ่นดินที่เป็นไปอย่างโปร่งใส เป็นธรรม, คุ้มค่า และเป็นไปเพื่อลดความเหลื่อมล้ำของคนในชาติ”
1
ผมอยากให้ ทุกกระทรวงทบวงกรม, ทุกหน่วยงานของภาครัฐที่ลงไปถึงองค์กรปกครองท้องถิ่น มีการแข่งขันกัน โดยมีมาตรฐานที่เป็น
“KPI” และ “OKR”
โดยมีเป้าหมายร่วมกันคือ
1.1) แข่งกันจับคอรัปชั่น
2
1.2) แข่งกันลดการใช้งบประมาณที่มาจากเงินภาษีของประชาชน โดยไม่กระทบต่อประสิทธิภาพในการให้บริการประชาชน
2
ยกตัวอย่างง่ายๆ
“ในแต่ละปีงบประมาณ”
รัฐมนตรีในแต่ละกระทรวง, ผู้ว่าราชการทุกจังหวัด, นายอำเภอทุกอำเภอ, และทุกๆ อบจ. และ อบต. ทั่วประเทศ ต้องออกมาแถลง
“ยอดจับคอรัปชั่น”
และ
“ยอดเงินงบประมาณที่ประหยัดให้ประชาชนได้”
1
โดยข้อมูลเหล่านี้คือ “ผลงาน” ที่สามารถนำไปใช้ “หาเสียง” ได้ในการเลือกตั้งครั้งต่อๆไป!
ไม่ใช่ตอนหาเสียง แสร้งทำไป “ช่วยชาวบ้านถีบสามล้อ” หรือ “เที่ยวไปผัดโน่นทอดนี่”
พอได้ตำแหน่งฯ ก็นั่ง “รถหรู” ที่กินนำ้มันเยอะๆ
ทั้งรถ, ทั้งน้ำมัน, ทั้งคนขับรถ ฯลฯ นั่นมัน
“เงินภาษีจากชาวบ้านจนๆทั้งประเทศ”
1
ทั้งนั้น!
และหน้าที่ของผู้บริหารประเทศไม่ใช่ไปช่วยถีบสามล้อ ไม่ใช่ไปช่วยแม่ค้าผัดกับข้าว
แต่ต้องช่วยให้คนถีบสามล้อมีงานที่ดีกว่าทำ ช่วยคุมต้นทุนพลังงานไม่ให้ราคาก๊าซหุงต้มขึ้น เพราะนั่นเป็นต้นทุนชีวิตของคนจนกว่า 70% ของคนทั้งประเทศ!
2) เพื่อให้การตรวจสอบการคอรัปชั่นเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
“Follow the Money”
หรือแนวคิดการติดตาม
“การไหลและการเบิกจ่ายเงินภาษีของประชาชนผ่านกระบวนการ จัดซื้อจัดจ้าง”
คือหัวใจสำคัญ
และผมขอเสนอไอเดียการสร้าง App
สำหรับการนี้ไว้ใน post นี้ของผมครับ
เอาเป็นว่า
ผมขอฝากให้ทุกท่านไปคิดเป็นการบ้านว่า
การที่กรุงศรีอยุธยาถูกตีแตกถึงสองครั้งในปี พ.ศ. 2112 และ 2310 นั้น มันเป็นเหตุบังเอิญยังงั้นหรือครับ?
เพราะการเข้ายึดครองบ้านเมืองในสมัยนี้ ไม่จำเป็นต้องใช้กำลังทางทหารเพียงอย่างเดียว
ถ้าบ้านเมืองเราเป็น “หนี้” เขาเยอะๆ ก็เท่ากับว่าเราถูก “enslaved” ทางเศรษฐกิจไปเรียบร้อยแล้วครับ!”
โฆษณา