12 เม.ย. 2023 เวลา 01:00 • ธุรกิจ

🚢มารู้จักกับตู้คอนเทนเนอร์กันเถอะ!!

หากเราทำธุรกิจนำเข้า-ส่งออก หรือทำธุรกิจร้านอาหาร ตลอดจนการประกอบการที่จะต้องมีการนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศ สิ่งหนึ่งที่เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ คือ การขนส่ง ซึ่งในการจัดส่งสินค้าทางทะเลนั้น เรามักขนสินค้าเข้าตู้คอนเทนเนอร์ เพื่อทำการจัดส่ง การขนส่งทางทะเล เป็นช่องทางการขนส่งสินค้าที่มีความสำคัญอย่างมาก สามารถขนส่งผ่านน่านน้ำและเชื่อมต่อกับแผ่นดินได้ทั่วโลก ขนส่งสินค้าได้คราวละมากๆ อีกทั้งยังเป็นรูปแบบการขนส่งที่มีราคาต่ำที่สุด จึงได้รับความนิยมเสมอมา
ซึ่งรูปแบบการขนส่งทางทะเลในปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นการขนส่งด้วยระบบตู้คอนเทนเนอร์ วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับตู้คอนเทนเนอร์กันว่าเจ้าตู้ขนส่งสินค้าที่เราพูดถึงนี้คืออะไร และมีกี่ประเภท อะไรบ้าง
🔰รู้กันหรือไม่ ตู้คอนเทนเนอร์คืออะไร?
ตู้คอนเทนเนอร์ หรือ Container Box คือ ตู้ขนาดใหญ่ทรงสี่เหลี่ยมที่ผลิตด้วยเหล็กหรืออลูมิเนียม มี Slot เพื่อใช้ยึดแต่ละตู้ให้ติดกัน ใช้สำหรับบรรจุสินค้า โดยส่วนใหญ่จะใช้ในการขนส่งทางเรือ ซึ่งใช้เวลาค่อนข้างนาน เนื่องจากตู้คอนเทนเนอร์ต้องวางซ้อนทับกันมากกว่า 10 ชั้น จึงต้องออกแบบให้ ทนทานมีความแข็งแรง
🔰ส่วนประกอบของตู้คอนเทนเนอร์ มีอะไรบ้าง
หากลื้อตู้คอนเทนเนอร์ 1 ตู้ จะเห็นว่ามีส่วนประกอบหลายชิ้นมากๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะมีส่วนประกอบที่คล้ายกัน ดังนี้
● Corner Post : เป็นโครงสร้าง แนวตั้งของตู้คอนเทนเนอร์ มีทั้งหมด 4 ด้าน
● Door Header : เป็นโครงสร้าง แนวนอน แถบด้านบนของประตู
● Door Sill : เป็นโครงสร้าง แนวนอน แถบด้านล่างของประตู
● Rear End Frame : เป็นโครงสร้างด้านหลัง ประกอบไปด้วย Door Header และ Door Sill ต่อเข้ากับ
● Corner Post Top End Rail : เป็นโครงสร้างแนวนอนที่อยู่ทางด้านบน ฝั่งตรงข้ามประตู
● Bottom End Rail : เป็นโครงสร้างแนวนอนที่อยู่ทางด้านล่าง ฝั่งตรงข้ามประตู
● Front End Frame : เป็นโครงสร้างทางด้านหน้า ตรงข้ามประตูทางเข้า ประกอบไปด้วย Top End Rail และ Bottom End Rail ต่อเข้ากับ Corner Post
● Top Side Rail : เป็นโครงสร้างแนวนอน ด้านบนตามแนวยาวของตู้ ต่ออยู่กับ End Frame
● Bottom Side Rail : เป็นโครงสร้างแนวนอน ด้านล่างตามแนวยาว ต่ออยู่กับ End Frame เพื่อเป็นโครงสร้างด้านล่าง
● Cross Member : เป็นโครงสร้างตามแนวขวางบริเวณพื้นตู้ ติดอยู่กับ Bottom Side Rail เพื่อรองรับน้ำหนักส่วนของพื้น
● Understructure : เป็นโครงสร้างด้านล่างทั้งหมดของตู้คอนเทนเนอร์ ประกอบด้วย Bottom Side Rails, Bottom End Rail, Door Sill, Cross Members และ Forklift Pocket
● Corner Fitting : เป็นข้อต่อของโครงสร้างทั้ง 8 มุมของตู้คอนเทนเนอร์ ซึ่งเป็นส่วนที่มีหน้าที่ช่วยในการยึดตู้ การยกตู้ และการซ้อนตู้ ทุกส่วนที่ต้องยึดต่อกันจะใช้ Corner Fitting เป็นตัวยึด
● Forklift Pocket : เป็นช่องว่างที่ทำไว้เพื่อเสียบงาของรถโฟล์คลิฟท์ ทำให้เคลื่อนย้ายตู้คอนเทนเนอร์ได้ง่าย ช่องว่างจะอยู่ตรงบริเวณ Bottom Side Rails ของ Understructure ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ถูกกำหนดโดยมาตรฐาน ISO ทุกตู้จะเหมือนกัน
● Flooring : เป็นส่วนพื้นของตู้คอนเทนเนอร์ ส่วนใหญ่นิยมใช้ไม้ลามิเนตหรือไม้อัด โดยมี Cross Member เป็นโครงสร้างส่วนที่ใช้รองรับน้ำหนัก
● Wall Panel : เป็นส่วนงานพับเหล็กลอนตู้คอนเทนเนอร์ ที่ทำจากแผ่นเหล็กหรืออลูมิเนียม ที่ต้องใช้งานพับเหล็กลอนตู้คอนเทนเนอร์เพื่อเสริมความแข็งแรง
🔰ขนาดของตู้คอนเทนเนอร์
ตู้คอนเทนเนอร์แบบมาตรฐานมีทั้งหมด 3 ขนาด ได้แก่
1. ตู้คอนเทนเนอร์ขนาด 20 ฟุต
20′ : กว้าง 2.3 x ยาว 5.90 x สูง 2.3 เมตร
ปริมาตร 33 คิวบิกเมตร น้ำหนัก 2.2 ตัน
รับน้ำหนักได้สูงสุด 21-28 ตัน
เหมาะสำหรับสินค้าหนัก เช่น เครื่องจักร
2. ตู้คอนเทนเนอร์ขนาด 40 ฟุต
40′ : กว้าง 2.3 x ยาว 12 x สูง 2.3 เมตร
ปริมาตร 67 – 77 คิวบิกเมตร น้ำหนัก 3.8 ตัน
รับน้ำหนักได้สูงสุด 26 ตัน
เหมาะสำหรับสินค้าน้ำหนักเบาที่มีจำนวนมาก
3. ตู้คอนเทนเนอร์ขนาด 40 ฟุตไฮคิวบ์
40′ HC : กว้าง 2.3 x ยาว 12 x สูง 2.6 เมตร
ปริมาตร 75 คิวบิกเมตร น้ำหนัก 3.9 ตัน
รับน้ำหนักได้สูงสุด 26 ตัน
เหมาะสำหรับสินค้าน้ำหนักเบา จำนวนมาก และขนาดใหญ่
**หมายเหตุ: ขนาดของตู้คอนเทนเนอร์จะมีความแตกต่างกันเล็กน้อยขึ้นอยู่กับผู้ให้บริการ**
ขนาดของตู้คอนเทนเนอร์
🔰ชนิดของตู้คอนเทนเนอร์
ตู้คอนเทนเนอร์สามารถจำแนกได้หลายประเภท โดยมีวัตถุประสงค์ในการใช้งานที่แตกต่างกัน
1. ตู้คอนเทนเนอร์มาตรฐาน (Dry Container)
เป็นตู้คอนเทนเนอร์ประเภทที่ถูกใช้งานมากที่สุด มีหลายขนาด ทนทานสูง แต่ไม่มีระบบควบคุมอุณหภูมิ จึงเหมาะกับการขนส่งสินค้าที่มีลักษณะแห้ง เครื่องใช้ไฟฟ้า เสื้อผ้า เป็นต้น
ตู้คอนเทนเนอร์มาตรฐาน (Dry Container)
2. ตู้คอนเทนเนอร์ควบคุมอุณหภูมิ (Reefer Container)
เป็นตู้สินค้าที่มีการติดตั้งเครื่องทำความเย็น และที่วัดอุณหภูมิเพื่อแสดงอุณหภูมิของตู้สินค้า จึงทำให้มีค่าบริการที่แพงกว่าตู้คอนเทนเนอร์แบบมาตรฐาน เหมาะสำหรับการบรรจุของสด อาหาร ยา และอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็นต้องควบคุมอุณหภูมิให้เหมาะสมอยู่เสมอ
ตู้คอนเทนเนอร์ควบคุมอุณหภูมิ (Reefer Container)
3. ตู้คอนเทนเนอร์เปิดหลังคา (Open Top Container)
เป็นตู้ที่มีความสูงมากเป็นพิเศษ และด้านบนเปิดโล่ง ไม่มีหลังคา เหมาะสำหรับการขนส่งสินค้าที่สูงกว่าปกติ เช่น เครื่องจักรขนาดใหญ่ ท่อ และยานพาหนะเป็นต้น เนื่องจากตู้ประเภทนี้ไม่สามารถวางซ้อนกันได้ จึงทำให้สิ้นเปลืองพื้นที่ และมีค่าบริการสูงกว่าตู้แบบปกติ
ตู้คอนเทนเนอร์เปิดหลังคา (Open Top Container)
4. ตู้คอนเทนเนอร์แบบพื้นราบ (Flat-rack Container)
ตู้คอนเทนเนอร์ชนิดนี้มีจุดเด่นคือ ไม่มีผนังด้านบนและด้านข้าง เปิดโล่งออกเพื่อใช้บรรจุสินค้าที่มีลักษณะกว้าง และสูงเกินตู้มาตรฐาน มักใช้ขนส่งเครื่องยนต์อุตสาหกรรม รถแทรกเตอร์ และวัสดุก่อสร้าง เป็นต้น
ตู้คอนเทนเนอร์แบบพื้นราบ (Flat-rack Container)
5. ตู้คอนเทนเนอร์บรรจุของเหลว (ISO Tank Container)
ตู้คอนเทนเนอร์ชนิดนี้ถูกออกแบบมาให้เหมือนถังบรรจุของเหลว โดยจะมีโครงครอบอยู่เพื่อให้สามารถซ้อนทับกันได้ ตู้ชนิดนี้ใช้สำหรับบรรจุของเหลวโดยเฉพาะ
ตู้คอนเทนเนอร์บรรจุของเหลว (ISO Tank Container)
6. ตู้คอนเทนเนอร์ระบายอากาศ (Ventilated Container)
ตู้คอนเทนเนอร์ประเภทนี้จะมีช่องระบายอากาศอยู่บริเวณด้านล่างและด้านบนของตู้ ซึ่งสามารถระบายอากาศและกันไอน้ำได้ด้วย โดยมักใช้ในการขนส่งสินค้าที่มีความชื้นเช่น เมล็ดโกโก้ เมล็ดกาแฟ และผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรอื่นๆ เพราะสามารถป้องกันการเน่าเสียได้ดี โดยมีข้อดีคือราคาถูกกว่าตู้คอนเทนเนอร์แบบควบคุมอุณหภูมิ
ตู้คอนเทนเนอร์ระบายอากาศ (Ventilated Container)
🔰งานพับเหล็กลอนตู้คอนเทนเนอร์มีกี่แบบ?
ปัจจุบันงานพับเหล็กลอนมีด้วยกัน 2 แบบ คือ
1. งานพับเหล็กลอนแบบลอนสโลป (ผนังด้านข้าง) ลอนจะมีลักษณะที่มีความลาดชันเป็นพิเศษ ตัวลอนมีความสูงประมาณ 36 mm.
2. งานพับเหล็กลอนแบบลอนตั้ง (ผนังด้านหน้า) ลอนจะมีลักษณะตั้งชันเกือบตั้งฉาก ตัวลอนมีความสูงประมาณ 45 mm.
🔰ความหมายของรหัสและข้อมูลต่างๆ บนตู้คอนเทรนเนอร์
รหัสและข้อมูลต่างๆ บนตู้คอนเทรนเนอร์ ซึ่งเป็นข้อมูลสำคัญการขนส่งสินค้าทางบกและ ทางทะเล ถูกนำมาใช้เพื่อการแยกขนาดและชนิดของตู้คอนเทรนเนอร์ รวมถึงบ่งบอกถึงความเป็นเจ้าของ ฯลฯ
1. รหัสเจ้าของตู้ เป็นอักษรแทนชื่อบริษัทเจ้าของตู้ เช่น CLQ, TNY, CMA, EGS, TCL เป็นต้น
2. รหัสระบุประเภท จะมีเพียง 1 ตัวที่อยู่ท้าย รหัสเจ้าของตู้ จากรูปภาพตัวอย่างคือตัวอักษร U มีความหมายคือ ตู้คอนเทนเนอร์ มีรายละเอียดประเภทดังนี้
• U สำหรับตู้คอนเทนเนอร์สินค้าทั้งหมด
• J สำหรับอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับตู้คอนเทนเนอร์ขนส่งสินค้าแบบถอดได้
• Z สำหรับรถพ่วงและแชสซี
3. รหัสการจดทะเบียนตู้คอนเทนเนอร์ มีขนาด 6 หลัก จากตัวอย่างคือ 102016
4. รหัสตรวจสอบความถูกต้อง รหัสที่ตรวจสอบว่าเจ้าของตู้ ประเภทตู้และการจดทะเบียนตู้คอนเทนเนอร์ ถูกต้องหรือไม่ จากตัวอย่างคือเลข 5
5. ขนาดและชนิดของตู้ ขนาดและชนิดของตู้คอนเทนเนอร์จะมีอยู่ 4 ตัว จากตัวอย่างคือ 25G1
จากตัวอย่างรูปภาพคือ 25G1 สามารถอธิบายได้ดังนี้
● เลข 2 ซึ่งเป็นเลขตัวแรก คือ ความยาวเท่ากับ 20 ฟุต
● เลข 5 เป็นตัวเลขถัดมา คือ มีความสูงเท่ากับ 9 ฟุต 6 นิ้ว
● ส่วนตัวอักษรต่อจากเลขสองตัวแรกคือ G1 ระบุประเภทของตู้คอนเทนเนอร์ หมายถึง ตู้คอนเทนเนอร์สำหรับบรรจุสินค้าทั่วไป
6. MAX. WT. น้ำหนักสูงสุดที่สามารถรับได้ คือ น้ำหนักของตู้คอนเทนเนอร์เปล่าที่รวมกับน้ำหนักของสินค้า (TARE WT. + PAYLOAD) ที่ตู้คอนเทนเนอร์สามารถรับได้สูงสุด อาจจะแสดงข้อความ MAX. GROSS WGT., MX GR, MAX.GR. และ MAX.WT.
MAX GROSS = TARE + NET
7. TARE WT. น้ำหนักของตู้เปล่า ที่ยังไม่ได้บรรจุสินค้าลงไป
TARE = MAX GROSS – NET
8. PAYLOAD น้ำหนักสินค้าสูงสุดที่สามารถบรรจุได้ โดยอาจเขียนว่า N.W., NET WEIGHT, MAX CARGO WGT และ PAYLOAD หมายถึงน้ำหนักของสินค้าสูงสุดที่สามารถบรรจุใส่ตู้คอนเทนเนอร์นั้นได้
NET = MAX GROSS – TARE
9. CUBE หรือ CU CAP. ปริมาตรสุทธิของตู้คอนเทนเนอร์
🔰Code ข้างตู้คอนเทนเนอร์ทำไมต้องมี 4 ตัวอักขระ ?
รหัสข้างตู้คอนเทนเนอร์นั้น คืออักขระ 4 ตัวที่แสดงขนาดและชนิดของตู้ไว้ด้วยกัน (Container Size and Type Code) เป็นรหัสตามมาตรฐานที่กำหนด ISO 6346 โดย BIC (International Container Bureau) เช่น Code : 42G1
● 4 คือ ความยาว 40 ฟุต
● 2 คือ ความกว้างและความสูง
● G1 คือ ชนิดตู้คอนเทนเนอร์ คือ General Purpose
🔰การขนส่งสินค้าด้วยตู้คอนเทนเนอร์ สามารถใช้บริการได้หลากหลายแบบ เช่น
1. หากผู้ขายเป็นผู้บรรจุ จะเรียกว่า Term CY คือ Con¬signee Load and Count จะเป็นสินค้าประเภทเต็มตู้ที่เรียกว่า FCL (Full Con¬tainer Load)
2. หากบริษัทเรือเป็นผู้บรรจุตู้สินค้าในท่าเรือหรือใน ICD (Inland Con¬tainer Depot) ซึ่งตัวแทนบริษัทเรือเป็นเจ้าของสถานที่ ก็จะเรียกลักษณะการขนส่งแบบนี้ว่า CFS (Con¬tainer Freight Sta¬tion) จะเป็นสินค้าแบบ FCL หรือแบบการบรรจุแบบรวมตู้ /น้อยกว่า 1 ตู้ ซึ่งเรียกว่า LCL (Less Con¬tainer Load) ก็ได้
1
🔰ตู้คอนเทนเนอร์ของแต่ละสายเดินเรือมีขนาดไม่เท่ากัน
สายการเดินเรือแต่ละสายมักจะมีการสั่งผลิตตู้คอนเทนเนอร์เป็นของตัวเอง โดยแต่ละสายเรือก็จะมีขนาดของตู้ที่แตกต่างกันไป แต่โดยทั่วไปจะมีขนาดใกล้เคียงกับตู้คอนเทนเนอร์ขนาดมาตรฐาน
🔰อายุการใช้งานของตู้คอนเทนเนอร์
ปกติแล้ว ตู้คอนเทนเนอร์ขนส่งสินค้า(ชิปปิ้ง)สามารถใช้งานได้ยาวนาน 20 ปี และด้วยความที่ทำจากวัสดุที่มีความแข็งแรง จึงไม่ได้ต้องการบำรุงรักษามากนัก เพียงแค่ทำความสะอาดตามตามปกติก็น่าจะเพียงพอแล้ว
🔰ข้อดีและข้อเสียของตู้คอนเทนเนอร์
🔹ข้อดี
● ขนถ่ายสินค้าได้รวดเร็ว
● ลดความเสียหายของสินค้าที่ขนส่งและป้องกันการถูกโจรกรรม
● ขนส่งได้ปริมาณมาก
● การสั่งจองเรือระวางเพื่อขนส่งสินค้าทำได้สะดวก
● ตรวจนับสินค้าได้ง่าย
🔹ข้อเสีย
● ไม่เหมาะกับการขนส่งระยะสั้น
● สิ้นเปลืองเชื้อเพลิงมากกว่าเมื่อใช้วิธีขนส่งด้วยรถบรรทุก แล้วเปรียบเทียบกับรถบรรทุกที่ใช้คอกกระบะชนิดเบา
ติดตามความรู้ ข่าวสาร และกิจกรรมเพิ่มเติมได้ที่ :
เพจ การขนส่งสินค้าทางอากาศ
Facebook Public Group : ชุมชนการขนส่งสินค้าทางอากาศ
โฆษณา