11 เม.ย. 2023 เวลา 06:27 • ปรัชญา
มีเรื่องหนึ่งที่เค้าบอกกันว่า ให้อยู่กับปัจจุบัน อาจารย์ที่ท่านสอนว่าให้อยู่กับปัจจุบัน นั้นหมายถึงว่า เมื่อเราภาวนา ..เอากายมานั่งนิ่ง ..กายของเราไม่ได้เคลื่อนที่ ไปมีกายกรรม วจีกรรมอะไร หรือ ว่าเอากายไปขยับเขยื้อนทำมาหากินหรือ ไปด่าไปว่า ด้วยความโกรธแค้นเคืองอะไรใคร
เราเอากายมานั่งนิ่ง ..ไม่ได้ใช้กายเคลื่อนไหว ไปหาถรรม หรือ สร้างกรรมอะไร
เมื่อเอากายมาเดินจงกรม ..เท้าที่ก้าวไป ..ก้าวเดินไปหาธรรม ขยับเขยื้อนแต่ละก้าว ก็ไม่ได้คิดนึกไปหากรรม มีแต่สลัดอารมณ์นึกอะไรเกิดขึ้นออกไป ..จิตภาวนาพุทโธ..เท้าก็ก้าวเดินอยู่ในรอยของผู้ที่เดินลดละกรรม เดินในรอยของผู้ที่มีธรรม จิตเราก็มีสติเดิน ..ทำกายนิ่ง จิตเฉย ..ในการก้าวเดินแต่ละก้าว ก็ระมัดระวังอารมณ์ตัวเอง ..ไม่ไปคิดถึงคนนั้นคนนี้ เรื่องนั้นเรื่องนี้ ให้จิตยึดถือ มีแต่ปล่อยวางอารมณ์ออกไป เพื่อก้าวไปหาธรรม ให้จิตเรามีธรรม จิตสงบ..ไม่มีอารมณ์ ณ.ปัจจุบัน
เมื่อเราเอากายเรามานั่งนิ่ง ให้จิตเรามีสติดูที่ลมหายใจเค้าอออก ณ..ปัจจุบัน ก็พยายามส่งจิต ให้มามารู้สึกตัว..จิตรับรู้ความรู้สึก ..กับลมที่เค้าออก.ณ ปัจจุบัน ลมนั่นไม่มีตัวมีตน ..
เมื่อเราเอาจิตมาจับความรู้สึกของลมเข้าออกได้ จิตดูลมหายใจเข้าออก จิตอยู่ตรงนี้ได้ อารมณ์นึกคิด ณ ปัจจุบัน มันก็ไม่มี ทั้งกายก็นั่งนิ่งเฉย จิตก็นิ่งเฉยๆ คำว่า ภาวนา พุทโธที่ช่วยประคองจิต นั่นก็หายไป เหลือแต่จิต.ดวงเดียว กายก็นิ่ง จิตก็นิ่ง ไม่มีอารมณ์นึกคิดปรุงแต่งอะไร
เมื่อไม่มีอะไร ไม่มีอารมณ์นึกคิดอะไรเกิดขึ้น ..กายก็นิ่ง จิตก็นิ่ง เป็นปัจจุบันธรรม หยุดนิ่ง..จากอารมณ์ ..จิตที่สงบเกิดขึ้น กายก็นิ่ง จิตก็นิ่ง สุขของกาย สุขของจิต เกิดขึ้นปราศจากอารมณ์ ไม่มีเรื่องราวอดีต ไม่มีเรื่องราวอนาคตอะไรเกิดขึ้นเลย
โฆษณา