11 เม.ย. 2023 เวลา 07:11 • ประวัติศาสตร์

... "รู้ว่าจะแพ้เหมาเจอตุง 1949: เจียงไคเชค หอบทองคำร้อยกว่าตันหนีไปไต้หวัน"

... เกล็ดประวัตินี้ได้รับการเปิดเผยอย่างแพร่หลายมาไม่นานมา ว่าเมื่อรู้ว่าฝ่ายตัวเองจะแพ้ฝ่าย "เหมาเจอตุง" เจียงไคเชค ได้เก็บทองคำพร้อมไปตั้งหลักที่ไต้หวัน แถมเป็นการสกัดเสบียงฝ่ายคอมมิวนิสต์ในตัว
... "การล่าถอยของรัฐบาลสาธารณรัฐจีนไปยังไต้หวัน"
... "การล่าถอยของรัฐบาลสาธารณรัฐจีนไปยังไต้หวัน" หรือที่เรียกว่า "การล่าถอยของก๊กมินตั๋งไปยังไต้หวัน" หรือ The Great Retreat การล่าถอยครั้งใหญ่ หมายถึงการอพยพของพวกที่เหลืออยู่ ของ "รัฐบาลสาธารณรัฐจีน" (ROC) ซึ่งปกครองโดย "พรรคก๊กมินตั๋ง" KMT ซึ่งตอนนั้นเป็นที่ยอมรับในระดับสากลไปยังเกาะไต้หวัน (ฟอร์โมซา) เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 1949, หลังจากแพ้สงครามกลางเมืองจีนในแผ่นดินใหญ่
... โดย "พรรคก๊กมินตั๋ง" KMT (พรรคชาตินิยมจีน) เจ้าหน้าที่ และกองกำลังทหาร ROC ประมาณ 2 ล้านคนเข้าร่วมในการล่าถอย นอกเหนือจากนั้นยังมี พลเรือนและผู้ลี้ภัยจำนวนมากที่หลบหนีจากการพ่ายแพ้ครั้งนี้ไปเกาะไต้หวัน ในปี1949
... ย้อนไปในปี 1895, "จีนของราชวงศ์ชิง" พ่ายแพ้ต่อ "ญี่ปุ่น" ใน "สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่หนึ่ง" ( 25 กรกฎาคม 1894 – 17 เมษายน 1895 ) ทำให้ราชวงศ์ชิงต้องยกเกาะไต้หวันและเปสกาโดเรสให้กับจักรวรรดิญี่ปุ่น ญี่ปุ่นซึ่งเริ่มปกครองอาณานิคมเกาะไต้หวันนี้ยาวนานถึง 50 ปี
... เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลงในปี 1945, KMT พรรคก๊กมินตั๋ง และทหาร ROC ซึ่งขับไล่ราชวงศ์ชิงในปี 1911, ได้เข้าควบคุมไต้หวันอีกครั้ง, หลังจากที่ญี่ปุ่นแพ้ WW2, ยอมจำนนและส่งมอบเกาะไต้หวันให้อยู่ภายใต้การยึดครองของทหาร ROC ( หรือ ทหารของพรรคก๊กมินตั๋ง KMT ) ,
.. สงครามกลางเมืองจีนระหว่าง เจียงไคเชค KMT และ เหมาเตงจอคุง CCP ซึ่งเริ่มขึ้นในปี 1927 เว้นช่วงตอน WW2 ( เพื่อสามัคคีชั่วคราว เพื่อร่วมขับไล่ญี่ปุ่น และกลับมารบกันต่อในปี 1946 ภายในปี 1948-1949 แผ่นดินใหญ่ส่วนใหญ่ตกเป็นของ "คอมมิวนิสต์" CCP รวมทั้งเมืองหลวงของประเทศที่นานกิง ต่อมาคือกว่างโจว ตามมาด้วยฉงชิ่งและเฉิงตู
***... "เมื่อเจียงไคเชค รู้ว่าจะแพ้ เตรียมขนทองคำ สมบัติโบราณ หนีไปไต้หวัน"
... ในปี 1948 ( หรือหนึ่งปีก่อนจะแพ้สงคราม ) "เจียงไคเช็ค" เริ่มวางแผนการล่าถอย KMT ไปยังไต้หวันโดยมีแผนจะนำ "ทองคำและสมบัติโบราณ" จากแผ่นดินใหญ่ ไปด้วย โดยปริมาณ "ทองคำ" ที่ถูกเคลื่อนย้ายแตกต่างกันไปตามแหล่งที่มา แต่โดยปกติแล้วจะประมาณระหว่าง "สามล้านถึงห้าล้านตำลึง" "ตำลึงหรือแทล" Tael เป็นมาตรวัดโบราณ (ประมาณ 113.6-115.2 ตัน หนึ่งตำลึงแทลคือ 31.25 บ้างก็ว่า 37.5 กรัม)
... นอกเหนือจาก "ทองคำ" แล้วก๊กมินตั๋ง KMT ยังนำ "ศิลปะโบราณวัตถุ" จากแผ่นดินใหญ่ไปมากมาย ซึ่งส่วนใหญ่เก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์พระราชวังแห่งชาติในไทเป ไต้หวัน
... นักวิชาการบางคนกล่าวว่าการเคลื่อนย้ายทองคำและสมบัติเป็นหนึ่งในมาตรการ "ป้องกันการรุกรานและการยึดครองของญี่ปุ่น" คล้ายกับวิธีที่รัฐบาลยุโรปถ่ายโอนทองคำไปยังสถานที่อื่น เช่น "อังกฤษ อเมริกา ฝรั่งเศส" ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ( ขณะเดียวกันเป็นการสกัดเสบียงการเงินของฝ่ายเหมาเจอตุงด้วย )
***... "ภาระกิจลับขนทองคำหนี รู้แค่ไม่กี่คน"
... ภารกิจของเจียงไคเช็คในการเอาทองคำจากจีนแผ่นดินใหญ่ถูกวางแผนขึ้นอย่างลับๆ เพราะตามที่ ดร.อู๋ ซิง-หยง กล่าวไว้ว่า ภารกิจทั้งหมดดำเนินการโดย "เจียงไคเชค" เอง มีเพียงเจียงไคเชค และ "พ่อของดร.อู่ ซิงหยง" ซึ่งเป็นหัวหน้าฝ่ายการเงินการทหารของรัฐบาล KMT เท่านั้นที่รู้เรื่องค่าใช้จ่ายและการเคลื่อนย้ายทองคำไปยังไต้หวัน และคำสั่งเกือบทั้งหมดของเจียงก็ออกด้วยวาจา ไม่มีหลักฐานใดๆ ดร.อู๋ ระบุว่าแม้แต่รัฐมนตรีคลังก็ไม่มีอำนาจเหนือค่าใช้จ่ายและการโอนขั้นสุดท้าย
***... บันทึกที่เป็นเพียงลายลักษณ์อักษรน้อยนิดนี้ถูกเก็บไว้เป็นความลับทางการทหารสูงสุดโดยเจียงในทำเนียบประธานาธิบดีไทเป และเอกสารลับที่ไม่เป็นความลับอีกต่อไปเปิดให้สาธารณชนเข้าชมได้หลังจากเขาถึงแก่อสัญกรรมในเดือนเมษายน 1975 ที่เป็นเวลากว่า 40 ปี
... เป็นที่เชื่อกันอย่างกว้างขวางว่า "ทองคำ" จะนำมาสู่ไต้หวัน เพื่อถูกนำมาใช้เพื่อวางรากฐานสำหรับสร้างเศรษฐกิจและรัฐบาลไต้หวัน บางคนเชื่อว่าหลังจากหกเดือนของการดำเนินงานทองคำโดยเจียงไคเชค ดอลลาร์ไต้หวันใหม่เปิดตัว ซึ่งแทนที่ดอลลาร์ไต้หวันเก่าในอัตราส่วน 1 ต่อ 40,000 เชื่อกันว่าทองคำ 800,000 ตำลึงถูกใช้เพื่อรักษาเสถียรภาพของเศรษฐกิจ ซึ่งได้รับผลกระทบจาก "ภาวะเงินเฟ้อรุนแรงตั้งแต่ปี 1945"
.. อย่างไรก็ตาม ความเชื่อเหล่านี้กลับถูกเข้าใจผิด ตามบันทึกที่เขียนโดย Zhou Hong-tao ผู้ช่วยที่ยาวนานของเจียง บอกว่า "ทองคำ" ถูกใช้ไปอย่างรวดเร็วหลังจากนำเข้าไต้หวัน และในเวลาไม่ถึงสองปี ( 1949-1951) 80% ถูกใช้ไปแล้วสำหรับเงินทุนและเสบียงอาหาร สำหรับกำลังพลทหารต่างหาก
... "พิพิธภัณฑ์พระราชวังแห่งชาติไต้หวัน" อ้างว่าในปี 1948 เมื่อจีนกำลังประสบสงครามกลางเมือง ผู้อำนวยการบริหาร Chu Chia-hua และคนอื่นๆ (Wang Shijie, Fu Ssu-nien, Xu Hong-Bao หารือเกี่ยวกับการจัดส่งผลงานศิลปะโบราณชิ้นเอกไปยังไต้หวันเพื่อความปลอดภัยของสิ่งเหล่านั้น
... มีความคิดเห็นที่แตกต่างกันเกี่ยวกับเรื่องการขนย้ายสมบัติศิลปะโบราณไปที่พิพิธภัณฑ์พระราชวังแห่งชาติของไต้หวัน บางคนในจีนแผ่นดินใหญ่มองว่าการย้ายถิ่นฐานของสิ่งเหล่านั้นเป็นการปล้นสะดมประเทศ
คนอื่นๆ เชื่อว่าสมบัติเหล่านี้ได้รับการปกป้องโดยบังเอิญ และอาจสูญหายไปตลอดกาลเนื่องจากการรณรงค์ของ "ยุคแก๊งสี่คน" Four Olds และในช่วงท้าย "การปฏิวัติวัฒนธรรม" ( ที่มองว่าศาสนาเป็นสิ่งของชนชั้น ไม่เท่าเทียม )
นักประวัติศาสตร์หลายคนเชื่อว่าสมบัติถูกนำไปยังไต้หวันโดยกลุ่มชาตินิยมเพื่อให้มันปลอดภัยจาก "คอมมิวนิสต์" ที่ตอนนั้นกำลังเห่อความคิดนำเข้าใหม่ๆสดๆ "เหมา-เลนิน" (ที่แสนจะเท่และดูล้ำหน้า) CCP คนอื่นๆ เชื่อว่าไต้หวันยังคงเป็นส่วนหนึ่งของดินแดนอธิปไตยของจีน ดังนั้นการย้ายถิ่นฐานจึงไม่ใช่ปัญหา
*** ... "ประวัติศาสตร์บอกเราว่า : ทองคำคือทรัพย์สินอมตะตลอดกาล โดยเฉพาะยามสงครามและเงินเฟ้อ"
... In 1948, Chiang Kai-shek began planning the KMT retreat to Taiwan with a plan to take gold and treasure from the mainland. The amount of gold that was moved differs according to sources, but it is usually estimated as between three million to five million taels (approximately 113.6-115.2 tons; one tael is 31.25 grams).
Other than gold, KMT brought artifacts, which are kept mostly in the National Palace Museum in Taipei, Taiwan. Some scholars say the movement of gold and treasure was one of a number of protective measures against the Japanese invasion and occupation, similar to how European governments transferred gold to other locations during World War II
Cr.Jeerachart Jongsomchai
โฆษณา