18 เม.ย. 2023 เวลา 01:00 • การเกษตร

สมาร์ตฟาร์มอัจฉริยะ นวัตกรรมสุดเจ๋งแห่งโลกยุคใหม่

ภูมิภาคตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ (MENA) กำลังได้รับผลกระทบจากวิกฤตความมั่นคงด้านอาหารที่ เลวร้ายลงเนื่องจากอัตราเงินเฟ้อของราคาอาหาร บวกกับค่าเงินที่อ่อนตัวลง สิ่งนี้ส่งผลกระทบต่อผู้คนหลายล้านคนทั่ว ภูมิภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่อาศัยอยู่ในประเทศที่เผชิญกับความขัดแย้งและความไม่มั่นคงอยู่แล้ว
ในขณะเดียวกันการผลิตอาหารในภูมิภาค MENA ก็ถูกลดทอนลงทั้งจากความขัดแย้งและวิกฤตสภาพภูมิอากาศ ที่ทวีความรุนแรงขึ้น ในอิรักและซีเรียภัยแล้งที่ยืดเยื้อ และผลกระทบของความขัดแย้งได้ลดพื้นที่เพาะปลูกและลดการ ผลิตอาหารลง ภูมิภาคนี้ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศและกำลังเผชิญกับภัยแล้งและคลื่นความ ร้อนไฟป่า น้ำท่วม ปริมาณน้ำฝนที่ไม่แน่นอนและดินถล่มเป็นเวลานาน
ขณะที่วิกฤตยังคงดำเนินต่อไปเป็นสิ่งสำคัญที่รัฐบาลจะต้องดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาความมั่นคงด้านอาหาร ทั่วทั้งภูมิภาค รัฐบาลจำเป็นต้องลงทุนมากขึ้นในการเกษตรทั่วภูมิภาคที่เกือบทุกประเทศพึ่งพาการนำเข้า อีกทั้งเป็น กลยุทธ์ระยะยาวที่จะช่วยให้คนจนรับมือกับการเพิ่มขึ้นของราคาอาหาร
นวัตกรรมเกษตรสมัยใหม่
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์หรือยูเออีเร่งส่งเสริมการทำเกษตรสมัยใหม่ (Modern Agriculture) โดยมุ่งเน้น การเกษตรในร่มผลิตด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยี ให้ สามารถปลูกพืชผักในสภาพอากาศร้อนจัดกลางทะเลทรายได้ตลอดปี
รัฐบาลให้ความสำคัญและส่งเสริมการเกษตรอัจฉริยะที่ช่วยเพิ่มผลผลิต ทั้งใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมการปลูกผัก หรือพืชอายุสั้นด้วยเทคนิคใหม่ๆ การทำฟาร์มแนวตั้ง (Vertical Farming) ในอาคาร โดยใช้แสงจากหลอดไฟ LED ทดแทนแสงจากดวงอาทิตย์ ควบคุมอุณหภูมิให้เหมาะกับการเพาะปลูก
ซึ่งในปัจจุบันมีรูปแบบในการพัฒนาการเพาะปลูกไปอย่างมาก เช่น การปลูกผักโดยไม่ใช้ดิน (hydroponics) หรือเป็นการปลูกพืชผักในน้ำที่มีธาตุอาหาร การปลูกพืชระบบรากแขวนอยู่ในอากาศ (aeroponic) และการปลูกพืชร่วมกับการเลี้ยงสัตว์น้ำ (Aquaponics) โดยกำหนดเป้าหมายเพิ่มผลผลิตภายในประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 50 ภายในปีนี้ และในที่สุดจนสามารถพึ่งพาตัวเองได้ 100% ภายในปี 2573
เทคโนโลยีในการผลิตอาหารและเพิ่มประสิทธิภาพของห่วงโซ่อุปทานอาหาร เช่น การใช้AI, Machine Learning, IoT, Big Data, เซนเซอร์ควบคุมภูมิอากาศ ที่ส่งผลให้สามารถผลิตอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการแต่ ประหยัดน้ำ ลดใช้พลังงาน และนำไปสู่การจัดการแบบไม่เหลือทิ้งในภาคเกษตร (Zero Waste) ซึ่งปัจจุบันธุรกิจด้าน เกษตรทั่วโลกมีการปรับตัวอย่างต่อเนื่องในแง่ของการนำเทคโนโลยีมาส่งเสริมผลิตภาพและประสิทธิภาพการทำงาน ตลอดห่วงโซ่อุปทานซึ่งเป็นแนวทางไปสู่การทำเกษตรสมัยใหม่ที่มีความยั่งยืน
นาง Mariam bint Mohammed Almheiri รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมของยูเออี(MOCCAE) กล่าวในการเปิดประชุมระดับชาติเพื่อความมั่นคงทางอาหารครั้งที่ 1 "National Dialogue for Food Security" ถึงความมุ่งมั่นของรัฐบาลในการทำฟาร์มปลูกผักในประเทศ เพื่อเสริมสร้างการผลิต อาหารในท้องถิ่นมากกว่าการนำเข้า
เพื่อรับรองความมั่นคงทางอาหารของประเทศ เพราะที่ผ่านมาประเทศในกลุ่มอ่าว อาหรับ GCC ขึ้นอยู่กับการนำเข้าอาหารกว่าร้อยละ 80 ของความต้องการในประเทศ ปัจจุบันการผลิตผักในยูเออี สามารถทำได้ประมาณร้อยละ 20 ของความต้องการ โดยแตงกวาคิดเป็นร้อยละ 80 ของการผลิต
โครงการในเฟสแรกวางเป้าหมายการผลิตอาหารและพืชผัก 10 ชนิด ได้แก่ เนื้อแดง ไก่ ไข่ไก่ ผลิตภัณฑ์นม อินทผาลัม ผักกินใบ มะเขือเทศ แตงกวา พริกหวาน และมะเขือม่วง และจะประกาศเพิ่มชนิดของผลิตภัณฑ์พันธ์อาหารและ พืชผักอื่นๆของโครงการระยะที่สองต่อไป
แนวคิดความมั่นคงทางอาหาร
"ความมั่นคงด้านอาหารเป็นภาคส่วนที่สำคัญในยูเออีและทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาของความท้าทายที่มีมากขึ้น" นาง Almheiri อธิบายและเสริมว่า "ในเวลาไม่ถึงสามปี เราประสบกับวิกฤตการณ์สำคัญสองประการที่เป็นภัยคุกคามที่สำคัญต่อความมั่นคงทางอาหารของโลก ซึ่งก่อให้เกิดการหยุดชะงักในห่วงโซ่อุปทานอาหารทั่วโลก หลังจากการระบาดใหญ่และความขัดแย้งระดับโลกเมื่อเร็วๆ นี้" รัฐบาลยูเออีจึงมีความมุ่งมั่นในการบรรลุวัตถุประสงค์ ของยุทธศาสตร์ความมั่นคงทางอาหารแห่งชาติใน พ.ศ. 2594
กระทรวงฯ มีเป้าหมายที่จะพัฒนาภาคเกษตรและส่งเสริมระบบการเกษตรสมัยใหม่ รวมถึงการปลูกพืช อินทรีย์ การทำฟาร์มแนวตั้ง การปลูกผักโดยไม่ใช้ดิน การปลูกพืชระบบรากแขวนอยู่ในอากาศและในน้ำ ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ระดับภูมิภาคเพื่อยกระดับการผลิตในท้องถิ่น
และปรับปรุงความมั่นคงทางอาหารให้ความมั่นใจว่า "ยูเออี ได้ดำเนินการเชิงกลยุทธ์ที่สำคัญในการส่งเสริมความมั่นคงด้านอาหาร เช่น การปรับใช้เทคโนโลยีขั้นสูงเพื่อเสริมสร้าง การผลิตอาหารในท้องถิ่น และเพิ่มการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่างๆในการแก้ปัญหา การสูญเสียอาหาร ลดขยะอาหาร (Food Waste) เช่น การเปิดตัวโครงการริเริ่ม “Ne'mah” เพื่อส่งเสริมความยั่งยืนของฟาร์มอาหารแห่งชาติ"
YES,WE CAN
ภายใต้วิสัยทัศน์ ‘Yes, we can’ ยูเออีได้พิสูจน์แล้วว่าอาหารสามารถปลูกพืชผักได้ในท้องถิ่น อาทิ การเก็บเกี่ยวข้าวสาลีที่อุดมด้วยโปรตีนครั้งแรกปริมาณ 15,200 ตัน จากฟาร์มขนาดใหญ่ “Maliha” ในรัฐชาร์จาห์ เมื่อต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา รัฐบาลยังได้ผลักดันการผลิตอาหารโดยความคิดริเริ่มล่าสุดที่จะช่วยให้เกษตรกรในท้องถิ่นไม่เพียงแต่ผลิต ยังรวมถึงวิธีการขาย
ด้วยการพัฒนาเครือข่ายผู้ประกอบการ SMEs ภาคเกษตรรุ่นใหม่ เพื่อสร้างผู้ประกอบการนักธุรกิจเกษตรสมัยใหม่ โดยการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการตลาดสำหรับฟาร์มในท้องถิ่น โดยเฉพาะฟาร์มที่ดำเนินการตามแนวทางสมัยใหม่และยั่งยืนพึ่งพาตนเองเชิงบูรณาการ และในฐานะประเทศเจ้าภาพ การประชุม COP28 ที่จะจัดขึ้นในช่วงปลายปี 2566 ยูเออีจะเร่งความพยายามเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของยุทธศาสตร์ ความมั่นคงทางอาหารแห่งชาติ พ.ศ. 2594 ผ่านความร่วมมือและแนวทางแก้ไขที่ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงกระบวน ทัศน์ในภาคเกษตรและระบบอาหาร
การเตรียมความพร้อมเพื่อความพอเพียง
นาย Hamed Al Hamed ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร” ของ Gracia Group ซึ่งเป็นบริษัททำฟาร์มครบวงจรใน ยูเออี เห็นด้วยกับความคิดริเริ่มของกระทรวง MOCCAE ว่า "การระบาดใหญ่ได้สอนให้เราเตรียมพร้อมสำหรับความ พอเพียงทางการเกษตรอย่างแท้จริง และความสำคัญไม่ใช่เพียงแต่จะสร้างที่ดินทำกินสำหรับการเพาะปลูกและการผลิตอาหารสด แต่ยังเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ที่เราใช้เทคโนโลยีทันสมัยที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของประเทศ ที่เป็นทะเลทรายมีสภาพอากาศร้อนทั้งปี"
นาย Omar Al Shamsi ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ Watermelon Market บริษัทจัดซื้อผักผลไม้และ เครื่องปรุงอาหารให้กับร้านอาหารและโรงแรมทางออนไลน์ ให้ความเห็นว่าโครงการของ MOCCAE ล่าสุดจะช่วยให้การ ผลิตอาหารในท้องถิ่นยั่งยืน ไม่เพียงแต่สำหรับผู้บริโภคเท่านั้น แต่ยังรวมถึงผู้ผลิตด้วย
ฟาร์มปลูกพืชผักผลไม้ในยูเออีมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น ดำเนินการโดยเอกชนและภาครัฐบาล เช่น AeroFarms AgX ฟาร์มแนวตั้งในร่มที่ใหญ่ที่สุดในโลกบนพื้นที่ 65,000 ตารางฟุต และสำหรับการวิจัยและพัฒนาเปิดในอาบูดาบีเมื่อ เดือน มีนาคม 2566 นี้ และ Badia Farms ฟาร์มแนวตั้งขนาด 330,000 ตารางฟุตเปิดในดูไบเมื่อปีที่แล้ว เป็นการร่วม ลงทุนของสายการบินเอมิเรตส์ปลูกผักสำหรับครัวการบิน
สถิติล่าสุดแสดงจำนวนฟาร์มในยูเออีปัจจุบันประมาณ 38,000 แห่ง ปลูกผักอยู่ที่ประมาณ 156,000 ตันต่อปี ปลูกพืชไร่อาหารสัตว์มากกว่า 500 ตัน และการผลิตผลไม้ประมาณ 200,000 ตัน ทั้งนี้เทคโนโลยีการทำฟาร์มแนวตั้ง เพื่อผลิตอาหารและเพิ่มประสิทธิภาพของห่วงโซ่อุปทานอาหาร เช่น การใช้AI, Machine Learning, IoT, Big Data, เซนเซอร์ ควบคุมภูมิอากาศ เมล็ดพันธุ์ ส่วนใหญ่เป็นของบริษัทจากยุโรปและอเมริกา ซึ่งเป็นผู้คิดค้นโดยตรง
อนาคตการเกษตรแบบ Indoor farming แพร่หลายมากขึ้น ยูเออีพัฒนาอย่างรุดหน้า การนำเข้าผักและผลไม้ บางชนิดจากต่างประเทศน่าจะมีแนวโน้มลดลง เนื่องจากสามารถเพาะปลูกผักและผลไม้ต่างๆ ในประเทศได้เองมากขึ้น รวมถึงยังสามารถควบคุมคุณภาพผลผลิตให้ใกล้เคียงกับผักและผลไม้นำเข้าได้จากสถิติของยูเออีล่าสุดปี 2564 มูลค่าการนำเข้าผักและผลไม้สดประมาณ 3,346 ล้านเหรียญสหรัฐ
เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าที่นำเข้า 2,974 ล้านเหรียญ สหรัฐฯ หรือขยายตัวร้อยละ 12.5 เป็นการนำเข้าจากสหรัฐอเมริการ้อยละ 15 อินเดียร้อยละ 12 จีนร้อยละ 6 แคนาดาร้อยละ 5 อิหร่านร้อยละ 5 ออสเตรเลียร้อยละ 5 ออสเตรเลียร้อยละ 5 อียิปต์ร้อยละ 3 ปากีสถานร้อยละ 3 ตุรกีร้อยละ 2 สเปนร้อยละ 2 และไทยร้อยละ 1 ของปริมาณการนำเข้าผักและผลไม้โดยรวม
ผักและผลไม้ที่นำเข้าส่วนใหญ่ เช่น แอปเปิล แพร์ องุ่น ส้ม หัวหอมแขก แครอท มะเขือเทศ และมันฝรั่ง เป็นต้น ในขณะที่รัฐบาลได้พัฒนาการเกษตรแบบ Indoor farming และ Outdoor farming กำหนดชนิดพืชผัก ได้แก่ ผักกินใบ มะเขือเทศ แตงกวา พริกหวานและมะเขือม่วง จึงยังไม่ส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทยในอนาคต
ผักและผลไม้ที่นำเข้าส่วนใหญ่ เช่น แอปเปิล แพร์ องุ่น ส้ม หัวหอมแขก แครอท มะเขือเทศ และมันฝรั่ง เป็นต้น ในขณะที่รัฐบาลได้พัฒนาการเกษตรแบบ Indoor farming และ Outdoor farming กำหนดชนิดพืชผัก ได้แก่ ผักกินใบ มะเขือเทศ แตงกวา พริกหวานและมะเขือม่วง จึงยังไม่ส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทยในอนาคต
Reference
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองดูไบ
ที่มา : WAM
โฆษณา