ในสหราชอาณาจักร การประเมินผลกระทบของการปรับเปลี่ยนโครงสร้างอัตรา หรือ ราคาค่าไฟฟ้าโดย Department for Business, Energy and Industrial Strategy (BEIS) จะเริ่มต้นจากการตระหนักถึงความจำเป็นในการที่องค์กรกำกับดูแลกิจการไฟฟ้ามีความจำเป็นต้อง "แทรกแซง" ตลาดในการกำหนดราคาค่าไฟฟ้า (Rationale for Intervention)
เนื่องจากพลังงานนั้นเป็นสิ่งจำเป็นในการดำรงชีวิตของประชาชน และยังเป็น "ค่าใช้จ่าย" ที่แต่ละครัวเรือนมิอาจหลีกเลี่ยงได้ (Unavoidable Expenses) (ข้อมูลจาก Department for Business, Energy and Industrial Strategy (BEIS), ‘Energy Price Guarantee (EPG) – Domestic’ (BEIS, October 2022))
ในขณะที่องค์กรกำกับดูแลพลังงานของประเทศออสเตรเลียได้ระบุถึงทางเลือกที่จะไม่แทรกแซงการกำหนดราคาพลังงานโดยปล่อยให้ตลาดทำงานไปตามสภาพที่เป็นอยู่แล้ว (Status Quo Option) อย่างไรก็ตาม การเลือกที่จะไม่แทรกแซงราคาพลังงานเลยนั้นอาจส่งผลให้ราคาพลังงานอยู่ในระดับที่สูงและมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และอาจส่งผลเสียต่อผู้ใช้พลังงานในภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจในท้ายที่สุด (ข้อมูลจาก Department of Treasury and Department of Climate Change, ‘Options to Provide Energy Price Relief’ (OIA, December 2022))
(ข้อมูลจาก Energy and Water Department (the World Bank Group), ‘Ghana: Poverty and Social Impact Analysis of Electricity Tariffs’ (ESMAP, December 2005)) National Association of Regulatory Utility Commissioners ของประเทศสหรัฐอเมริกาได้ให้คำอธิบายเอาไว้ว่า ราคาค่าไฟฟ้าควรจะต้องสะท้อนต้นทุนทั้งหมดที่เกิดขึ้นจากการประกอบกิจการไฟฟ้า (ซึ่งมีกิจกรรมที่ตกอยู่ภายใต้การกำกับดูแลตามกฎหมาย)
โดยรวมถึงต้นทุนในการผลิต ส่ง จำหน่าย และค้าปลีกไฟฟ้า ตลอดจนต้นทุนอื่น ๆ เช่น ค่าเชื้อเพลิง ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน และอัตราเงินเฟ้อ (ข้อมูลจาก National Association of Regulatory Utility Commissioners, ‘Primer on the Impact of Electricity Tariff Reforms on Infrastructure Investment and Economic Development’)
โดยองค์กรกำกับดูแลการประกอบกิจการพลังงานมีภารกิจในการกำกับให้ราคาค่าไฟฟ้าที่ผู้ใช้ไฟฟ้าจ่ายนั้นเป็นราคาที่สะท้อนถึงราคาที่การบริโภคไฟฟ้านั้นได้ก่อขึ้นต่อระบบไฟฟ้า โดยจะต้องเป็นจำนวนที่ไม่มากหรือน้อยไปกว่าราคาดังกล่าว (ข้อมูลจาก National Association of Regulatory Utility Commissioners, ‘Primer on the Impact of Electricity Tariff Reforms on Infrastructure Investment and Economic Development)
ในต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศที่เปิดให้มีการแข่งขันในกิจการผลิต ค้าส่ง และค้าปลีกไฟฟ้า ราคาไฟฟ้ายังมีความสัมพันธ์กับระดับของการแข่งขัน อย่างไรก็ตาม Department for Business, Energy and Industrial Strategy ของสหราชอาณาจักรได้ค้นพบว่าตลาดอาจไม่สามารถคุ้มครองประโยชน์ของผู้ใช้ไฟฟ้าได้อย่างเต็มที่ และอาจมีข้อจำกัดบางประการ
ด้วยเหตุนี้ จึงความจำเป็นที่รัฐจะต้องเข้าแทรกแซงการทำงานของตลาด (ซึ่งยังอาจไม่มีการแข่งขันอย่างเต็มที่ หรือยังต้องใช้เวลาในการพัฒนา) ทั้งนี้ เพื่อคุ้มครองประโยชน์ของผู้ใช้ไฟฟ้า (ข้อมูลจาก Department for Business, Energy and Industrial Strategy, ‘Impact Assessment (IA): Domestic Gas and Electricity (Tariff Cap) Bill’)
(ข้อมูลจาก Department for Business, Energy and Industrial Strategy, ‘Impact Assessment (IA): Domestic Gas and Electricity (Tariff Cap) Bill’ (UK Gov, February 2018))
โดยกฎหมายสามารถกำหนดให้องค์กรกำกับดูแลกิจการไฟฟ้ามีหน้าที่ต้องทบทวนและตรวจสอบเพดานราคาดังกล่าวตามรอบเวลาที่กฎหมายกำหนด เช่น ทุก ๆ 6 เดือน (โปรดดู Domestic Gas and Electricity (Tariff Cap) Act 2018 ของสหราชอาณาจักร)
(ข้อมูลจาก Department for Business, Energy and Industrial Strategy, ‘Impact Assessment (IA): Domestic Gas and Electricity (Tariff Cap) Bill’ (UK Gov, February 2018))
(ข้อมูลจาก Energy & Petroleum Regulatory Authority, ‘Regulation Impact Assessment (RIA) Study for Draft Electricity Tariffs and Regulatory Accounts Regulations in Kenya’ (EPRA, December 2022)
โดยสามารถแสดงได้ตามตารางที่ผู้เขียนพัฒนาขึ้นจาก Initiative for Climate Action Transparency, ‘Renewable Energy Methodology: Assessing the Greenhouse Gas Impacts of Renewable Energy Policies’ (ICAT, 2022)