14 เม.ย. 2023 เวลา 08:00 • สุขภาพ

'อากาศร้อน' vs ร้อนชื้น คนเราทน 'ร้อน' ได้ที่อุณหภูมิกี่องศาฯ ?

คนเราทน "ร้อน" ในร่างกายได้สูงสุดกี่องศาฯ โดยเฉพาะประเทศไทยที่มีภูมิอากาศ "ร้อนชื้น" ยิ่งทำให้รู้สึกร้อนมากกว่าอุณหภูมิอากาศภายนอก จริงหรือไม่? หาคำตอบที่นี่!
2
เมืองไทย "หน้าร้อน" ปีนี้เป็นไปตามที่คาดไว้ อากาศร้อนแรงดั่งเพลิงแผดเผา ดังนั้นในช่วงนี้ไม่ว่าใครก็ไม่อยากอยู่กลางแจ้งนานๆ (และไม่แนะนำให้อยู่กลางแจ้ง) เพราะอาจทำให้ร่างกายร้อนจัด จนเกิดภาวะขาดนำ้ได้ง่ายขึ้น ทั้งยังเสี่ยงเป็นลมแดดหรือ “ฮีทสโตรก” ซึ่งมีอันตรายถึงชีวิต
6
แม้ว่าไทยที่ว่าร้อนนักหนา แต่เมื่อเปรียบเทียบกับบางประเทศในแถบตะวันออกกลาง เช่น เมืองนูไวซีบ ประเทศคูเวต (ในปี 2021) พบว่า ทำสถิติอุณหภูมิที่สูงที่สุดในโลก อยู่ที่ 53.2 ℃ ซึ่งร้อนกว่าเมืองไทยมาก แต่ทำไมพวกเขาจึงสามารถทนร้อนได้ขนาดนั้น? จริงๆ แล้วคนเราสามารถทนความร้อนได้แค่ไหนกันแน่ ?
4
📌 ความร้อนในร่างกาย คนเราทนได้ไม่เกิน 41 ℃
5
เรื่องนี้มีคำอธิบายในเชิงวิทยาศาสตร์ว่า ความสามารถในการทนต่อความร้อนของร่างกายมนุษย์นั้นแบ่งออกเป็น 2 อย่าง คือ 1) ทนความร้อนจากอุณหภูมิภายในร่างกาย 2) ทนความร้อนจากสภาพอากาศภายนอก
4
หากพูดถึงกรณีแรก ความสามารถในการทน “ความร้อนภายในร่างกาย” มีรายงานจาก BBC ระบุว่า คนเราสามารถทนอุณหภูมิร้อนในร่างกายได้เพียง 40-41℃ เท่านั้น ตามปกติแล้วอุณหภูมิแกนกลางของร่างกายคนเราอยู่ที่ 37-38 ℃ แต่เมื่อไหร่ที่ร่างกายมีอุณหภูมิสูงขึ้นจนแตะ 39-40 ℃ อาจเกิดจากร่างกายติดเชื้อ หรือ เกิดภาวะ “ฮีทสโตรก” สมองจะสั่งให้กล้ามเนื้อทำงานช้าลง หัวใจเต้นเร็ว หายใจแรง ร่างกายเหนื่อยล้า
5
ต่อมาหากร่างกายร้อนขึ้นอีกจนแตะที่ 40-41℃ ร่างกายจะอ่อนเพลียจากความร้อนมากขึ้น ร่างกายไม่สามารถขับเหงื่อออกได้เนื่องจากการไหลเวียนของเลือดไปยังผิวหนังหยุดลง และหากอุณหภูมิภายร่างกายสูงกว่า 41℃ ขึ้นไป ร่างกายจะเริ่มปิดการทำงาน ทำให้ช็อกหรือเป็นลมหมดสติไป เซลล์ภายในร่างกายเสื่อมลง และมีความเสี่ยงที่อวัยวะหลายส่วนจะล้มเหลว จนอาจเสียชีวิตได้
6
โฆษณา