14 เม.ย. 2023 เวลา 06:19 • หนังสือ

“อ่านเร็วเข้าใจง่ายไม่มีวันลืม” โดย Mark Tigchelaar

💡หนังสือเล่มนี้แนะนำเทคนิคการอ่านเพื่อให้จดจำข้อมูลได้ลึกซึ้งและยาวนาน ตกผลึกทางความคิด สามารถดึงสิ่งที่รู้และจดจำจากสมอง มาสร้างสรรเป็นสิ่งใหม่ๆได้
👉การเข้าใจธรรมชาติของสมอง ช่วยให้ดึงพลัง ความสามารถมาใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะอยู่ในวัยไหนก็ฝึกฝนได้ค่ะ 👵👴👶👧🧒
👉การเดิน 🚶‍♂️ช่วยเพิ่มความคิดสร้างสรรค์ได้ถึง 60%
สรุป ภาพรวมหลักการ UseClark
1. เป็นเรื่องของวิธีล้วนๆ ไม่เกี่ยวกับความสามารถในการรักษาสมาธิและอายุ เริ่มฝึกฝนได้ทุกวัย
2. อุดช่องโหว่
ขณะอ่านหรือฟัง สมองทำงานเร็วประมวลผลเร็ว มีช่วงว่างที่สมองจะคิดฟุ้งซ่าน เพื่อให้คิดถึงสิ่งอื่นให้น้อย รู้จักแทรกเรื่องเบาสมองเพื่ออุดช่องโหว่นั้น ทำให้สมาธิจะดีขึ้น
🧠คิดเร็วกว่าที่เราอ่านหรือพูด จึงมีพื้นที่สมองให้คิดถึงสิ่งอื่นๆ ในระหว่างอ่านหรือฟัง ผลคือความคิดฟุ้งซ่าน และซึมซับข้อมูลได้ไม่ดี แก้โดยการทำสิ่งที่ไม่ต้องใช้สมองมาก เช่น การขีดเขียนเล่นที่ไร้ความหมาย เพื่ออุดช่องว่างแทรกแซงสิ่งรบกวน ระหว่างการประชุมหรือนำเสนอ เพื่อให้รักษาสมาธิได้ดีขึ้น
3. ทำงานทีละอย่าง เพื่อให้การอ่านมีประสิทธิภาพ เนื่องจากสมาธิแบบรู้ตัว จะจดจ่อได้ทีละอย่าง
4. ต่อจุด
การจัดโครงสร้างข้อมูลช่วยให้สมองประมวลผลได้ง่ายขึ้น เช่นการที่ mind map หรือการสร้างแผนที่ความคิด ซึ่งต้องใช้ภาพ และความคิดสร้างสรร สองอย่างที่เป็นองค์ประกอบของการเก็บข้อมูล
🧠จดจำได้ดี มีประสิทธิภาพ และง่ายขึ้นเมื่อเริ่มมองไปที่ภาพรวม หรือโครงสร้างของเนื้อหาก่อน สมองมีแนวโน้มที่จะจดจำสิ่งที่เชื่อมโยงกับความรู้เดิมได้ชัดเจนมากขึ้น
5. ใช้สมองเยอะๆ
ใช้สมอง ดึงข้อมูลจากหน่วยความจำสมองช่วยให้จดจำได้ดี และลึกซึ้งขึ้น สมองประมวลผลได้ดีขึ้น
6. ใช้ภาพ เปลี่ยนข้อมูลให้เป็นภาพสมองเข้าใจได้ดี
ภาษา🏞️ = ภาษา🧠 การเปลี่ยนข้อมูลให้เป็นภาพสอดคล้องกับการประมวลผลข้อมูลตามธรรมชาติของสมอง เก็บข้อมูลไว้ในสมองได้ถูกต้องและเหนียวแน่นกว่า
7. ใช้ความคิดสร้างสรร รู้จักวิเคราะห์ข้อมูล
ปะติดปะต่อคำขึ้นมา เชื่อมโยงข้อมูลกับข้อมูลจากแหล่งอื่นที่เคยรู้ นำมาเชื่อมโยงสร้างสรรเป็นคำใหม่ สิ่งใหม่ ความจำมาก ความคิดสร้างสรรค์มาก
8. อย่าเรียนรู้มากเกินไป
เรียนรู้ข้อมูลเป็นบล็อกไม่เกิน 7 รายการ เวันช่วงให้หน่วยความจำระยะสั้นได้ถูกบรรจุลงหน่วยความจำระยะยาว ถาวร เช่น การทบทวนเนื้อหาควรทำเป็นระยะโดยเว้นช่วง การทบทวนทันทีไม่ช่วยให้จำได้ลึกซึ่ง เพราะข้อมูลจะยังอยู่ในหน่วยความจำระยะสั้นที่คงอยู่ไม่เกิน 10 นาที โดยอาจเว้นช่วง ดังนี้
👉ทุก 15 นาที
👉 👉 วันเว้นวัน (1 สัปดาห์)
👉 👉 👉 ทุก 2 วัน (2 สัปดาห์)
👉 👉 👉 👉 สัปดาห์ละครั้ง (4 สัปดาห์)
👉 👉 👉 👉 👉ดือนละครั้ง( 6 เดือน)
โฆษณา