17 เม.ย. 2023 เวลา 04:00 • ธุรกิจ

บริษัทใหญ่ Lay Off ไม่หยุด! เผยเบื้องลึกวิธีชี้คนออก ผู้บริหารเลือกจากอะไร?

ปี 2566 บริษัทใหญ่ทั่วโลกยังคง "ปลดพนักงาน" (Lay Off) อย่างต่อเนื่อง ชวนเจาะเบื้องลึกวิธีพิจารณาคัดคนออก ใครจะอยู่หรือไป ผู้บริหารเลือกจากปัจจัยอะไร?
1
ไม่นานมานี้ มีรายงานหลายชิ้นเปิดเผยว่าบริษัทเทคและบริษัทด้านการเงินหลายแห่ง ประกาศ Lay Off หรือ “ปลดพนักงาน” ออกจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นกรณีของ “ธนาคารยูบีเอส” ผู้เข้าซื้อกิจการเครดิตสวิส เตรียมปลดพนักงาน 20-30% โดยอาจปลดพนักงานประมาณ 11,000 คนในสวิตเซอร์แลนด์ (2 เม.ย.66)
1
ขณะที่บริษัทวอลท์ ดิสนีย์ ประกาศปลดพนักงานฝ่ายเมตาเวิร์สทั้งหมด 3 รอบ รวม 7,000 คน เพื่อปรับลดค่าใช้จ่ายให้บริษัท โดยคาดว่าจะลดค่าใช้จ่ายได้ 5.5 พันล้านดอลลาร์ (29 มี.ค.66) รวมไปถึงกรณี “เอคเซนเซอร์” บริษัทที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีและธุรกิจระดับโลก เล็งปลดพนักงานทั่วโลก 2.5% หรือประมาณ 19,000 คน เนื่องจากต้องลดต้นทุน ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจถดถอย (24 มี.ค.66)
1
ภาพเหล่านี้สะท้อนถึงความพยายามปรับตัวให้อยู่รอดของบริษัทใหญ่ทั่วโลก ที่ต้องประสบกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยจนส่งผลกระทบให้ภาคธุรกิจไปต่อได้ยาก และในอีกทางหนึ่งมันก็ส่งสัญญาณเตือนถึงเหล่า “พนักงานออฟฟิศ” ให้เตรียมตัวรับแรงเสียดทานนี้ให้ดี ขณะเดียวกันก็นำไปสู่ข้อสงสัยที่ว่า บริษัทมีวิธีพิจารณาคัดคนออกอย่างไร? ตำแหน่งที่เราทำงานอยู่ปัจจุบันเสี่ยงต่อการถูกปลดหรือไม่?
เผยขั้นตอนการ "ปลดพนักงาน" ต้องพิจารณาหลายอย่าง
สำหรับการพิจารณาว่าพนักงานคนไหนควรถูกปลดออกนั้น ไม่มีสูตรสำเร็จตายตัว เนื่องจากวิธีพิจารณาคัดคนออกของแต่ละองค์กร มีความแตกต่างกันไปตามบริบทแวดล้อมของตัวบริษัท ซึ่งไม่ว่าจะใช้วิธีไหนก็ล้วนกระทบจิตใจต่อทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง และบางครั้งมันก็ไม่ยุติธรรมเสมอไป! ..แต่อย่างไรก็ตาม อาจมีรูปแบบการพิจารณาบางอย่างที่หลายบริษัทใช้ในการคัดคนออก
ข้อมูลจาก “เจ. ที. โอดอนเนลล์” ซีอีโอและผู้ก่อตั้งบริษัท Work It Daily อดีตผู้บริหารการสรรหาบุคคล (Recruiting Executive) ระบุว่า สาเหตุหลักๆ ของการพิจารณาคัดคนออกนั้น มาจากการที่ผู้บริหารต้องการปรับโครงสร้างองค์กร และปรับลดต้นทุนต่างๆ ในบริษัท โดยจะแจ้งมายังฝ่ายสรรหาบุคคลหรือฝ่ายทรัพยากรบุคคล (หรือเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ) ให้ดำเนินการ โดยส่วนใหญ่จะมีขั้นตอน ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1: ฝ่ายสรรหาได้รับแจ้งว่าบริษัทต้องลดงบประมาณลงเท่าใด
ขั้นตอนที่ 2 : พยายามลดทุกที่ที่ทำได้ ก่อนที่จะทำการลดจำนวนพนักงาน
ขั้นตอนที่ 3: ทำการวิเคราะห์ ROI (ผลตอบแทนจากการลงทุน) หรือ KPI (ดัชนีชี้วัดความสำเร็จ) ของพนักงานแต่ละคน
โดยขั้นตอนที่ 3 นั้นสำคัญมาก ฝ่ายสรรหาบุคคลต้องพิสูจน์ว่าพนักงานตำแหน่งไหน สามารถสร้างรายได้ให้บริษัทได้อย่างคุ้มค่า และทำงานมีประสิทธิภาพมากพอที่บริษัทจะรักษาเอาไว้ ฟังดูอาจเหมือนเป็นการตีคุณค่าของคนเป็นตัวเลขมากเกินไป
1
แต่นี่คือเรื่องจริงที่ปฏิเสธไม่ได้ เพราะอย่าลืมว่าบริษัทเองก็มีค่าใช้จ่ายต่อเดือนสูงมาก โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายของพนักงานอยู่ที่ประมาณ 130-140% ของอัตราค่าจ้างต่อคน (ค่าสวัสดิการพนักงานและช่วยจ่ายภาษีให้อีกส่วนหนึ่ง)
อ่านต่อ:
โฆษณา