Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ณัฐมาคุย
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
17 เม.ย. 2023 เวลา 04:42 • สิ่งแวดล้อม
ก๊าซเรือนกระจก ปัญหาถัดไปของอุตสาหกรรมข้าวไทย
คนเราเวลาพูดถึงก๊าซเรือนกระจก เรามักนึกคาร์บอนไดออกไซด์ และนึกถึงโรงงานอุตสาหกรรม โรงงานไฟฟ้า และรถยนต์ที่น่าจะสร้างก๊าซเรือนกระจกมาก
แต่เรามักจะมองข้ามก๊าซอีกตัวที่สำคัญอย่างก๊าซมีเทน ซึ่งเป็นหนึ่งในก๊าซเรือนกระจกด้วยเช่นกัน แต่มีผลต่อภาวะโลกร้อนมากกว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 80 เท่า และการปลูกข้าวก็ปล่อยก๊าซมีเทนมากถึง 10% ของการปล่อยก๊าซมีเทนทั้งหมดเลยทีเดียว
การปลูกข้าวจึงกำลังถูกจับตามอง เมื่อโลกให้ความสนใจกับปัญหาโลกร้อนมากขึ้น และถูกกดดันให้หาวิธีการจัดการกับปัญหาดังกล่าว
ข้าวเป็นอาหารหลักของคนบนโลก 3.5 พันล้านคน หรือเกือบครึ่งหนึ่งของประชากรโลกเลยทีเดียว แต่มีคนปลูกข้าวเพียงประมาณ 150 ล้านคน และคนเหล่านี้ก็มักเป็นคนที่มีรายได้น้อย และเงินทุนน้อย ดังนั้นการปลูกข้าวในหลาย ๆ ที่จึงใช้วิธีการที่ง่าย และต้นทุนต่ำในการปลูก แต่ก็ทำให้การปลูกข้างมีการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกมาเป็นจำนวนมากตลอดการผลิต
1
ไม่ว่าจะเป็นการปลูก ซึ่งมีการใช้ปุ๋ยไนโตรเจน เพื่อเร่งให้ข้าวโตไว แต่การใช้ปุ๋ยที่มากเกินไป ส่งผลทำให้เกิดการปลดปล่อยก๊าซไนตรัสออกไซด์ ซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจกด้วยเช่นกัน แต่แย่กว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 300 เท่าเลยเดียว
2
ส่วนการไถกลบฟางข้าวลงไปบนดิน และปลูกทับ ที่ดูเหมือนดี เพราะช่วยเสริมธาตุอาหารในดิน โดยไม่ต้องใช้ปุ๋ยมาก แต่การปลูกแบบนาดำ ซึ่งมีการขังน้ำไว้ในช่วงต้นของการปลูก กลับทำให้ฟางข้าวเหล่านี้ถูกย่อยหลายโดยแบคทีเรียต่าง ๆ แบบไม่ใช้ออกซิเจน (anaerobic) ทำให้มีการปลดปล่อยก๊าซมีเทนออกมาจำนวนมาก
แต่หากไม่ฝังกลบ ใช้วิธีการเผา ก็เลวร้ายเหมือนกัน เพราะทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่อุตส่าห์ถูกดักจับไว้ในฟาง ให้กลับสู่ชั้นบรรยากาศอีกที แถมยังเกิดปัญหามลภาวะฝุ่นอย่างที่เรากันเจออยู่ทุกวันนี้
3
และเพื่อแก้ไขปัญหาก๊าซเรือนกระจกจากการปลูกข้าว ประเทศอื่น ๆ ให้เริ่มให้ความสนใจอย่างจริงจังในการปรับตัวแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการ
- เลิกการทำการขังน้ำในนา การขังน้ำในนาเฉพาะช่วงเวลาที่จำเป็น และใช้เทคโนโลยีมาช่วยในการรดน้ำแทน ทำให้ลดการปลดปล่อยก๊าซมีเทนได้เป็นจำนวนมาก
1
- เลิกการไถกลบตอซัง หันมาใช้รถและเครื่องมือทางการเกษตรมาช่วยเก็บฟางข้าว และต้นข้าว เพื่อนำไปใช้ทำอย่างอื่น เช่น ทำแผ่น MDF เพื่อใช้เป็นวัสดุก่อสร้างเป็นต้น และทำเป็นปุ๋ยอินทรีย์
- เปลี่ยนไปใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวที่ทนแล้งมากขึ้น ทำให้มีความจำเป็นต้องใช้น้ำ/ขังน้ำลดลง
1
- ใช้ปริมาณปุ๋ยที่เหมาะสม เพื่อลดการปล่อยก๊าซไนตรัสออกไซด์
ซึ่งตัวอย่างที่ดี คือ โครงการ 1M5R ของเวียดนาม ที่ M (Must) คือการใช้เมล็ดพันธ์ุข้าวที่ปรับปรุงแล้ว และ 5R (Remove) คือ ลดน้ำ ลดจำนวนการใช้เมล็ดพันธุ์ ลดปุ๋ย ลดยาฆ่าแมลง และลดการสูญเสียหลังการเก็บเกี่ยว นอกจากจะช่วยเพิ่มผลผลิต (yield) ได้ 10-18% เพิ่มผลกำไร 28.6% ยังช่วยลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกคิดเทีบบเท่ากับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 7.3 ตันค่อเฮกแตร์ต่อปี แถมยังลดการใช้น้ำมากถึง 10-40% อีกด้วย
ประเทศไทยก็เริ่มมีบางที่แล้วที่ให้ความสำคัญในเรื่องนี้ แต่ยังไม่ได้ถูกผลักดันให้เป็นวาระแห่งชาติ และเร่งให้เกษตรกรปรับตัว จึงเป็นเรื่องที่น่ากลัวว่า เกษตรกรไทย และอุตสาหกรรมข้าวไทยจะไม่พร้อมปรับตัว
ในวันที่ทั่วโลกอาจจะเริ่มใช้การปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกมาเป็นมาตรการทางการค้ากับอุตสาหกรรมข้าวในอนาคตอันใกล้ ทำให้ไทยยิ่งสูญเสียความสามารถในการส่งออกข้าวมากขึ้นไปอีก ไม่รวมถึงความจำเป็นที่เราจะต้องช่วยเป็นส่วนหนึ่งของโลกในการลดภาวะโลกร้อนไปด้วยกัน
ในประเทศไทย มีกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ซึ่งได้ร่วมกันทำโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและลดภาวะโลกร้อนจากการทำนาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ “ไทย ไรซ์ นามา”
1
โดยได้ทดลองทำจริงใน จ.สุพรรณบุรี มาตั้งแต่ปี 2560 โดยส่งเสริมให้ทำนาเปียกสลับแห้ง ทำการปรับหน้าดินให้เรียบเสมอกัน ใช้ปุ๋ยให้เหมาะสม และจัดการฟางข้าว และตอซัง ซึ่งได้ผลเป็นที่น่าพอใจเลยทีเดียว
อ้างอิง :
https://mgronline.com/daily/detail/9500000069241
https://blogs.worldbank.org/eastasiapacific/greening-rice-we-eat
http://www.tgo.or.th/2020/index.php/th/post/%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%84%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%A5%E0%B8%94%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%99-%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A2-%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%94-%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%A1-681
https://www.thai-german-cooperation.info/th/visit-to-the-love-the-earth-rice-field-a-path-to-reducing-greenhouse-gas-emissions-in-rice-cultivation/
ข้าว
ภาวะโลกร้อน
ปัญหาภาวะโลกร้อน
6 บันทึก
12
6
6
12
6
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย