17 เม.ย. 2023 เวลา 04:43 • ไลฟ์สไตล์

วัฒนธรรมกองดอง ทำไมคนซื้อหนังสือแต่ไม่อ่าน ?

งานสัปดาห์หนังสือครั้งที่ 51 เพิ่งจะจบลงอย่างเป็นทางการ ถ้าจะเรียกงานสัปดาห์หนังสือว่าเป็น ‘สัปดาห์เพิ่มกองดอง’ ของใครหลาย ๆ คนก็อาจจะไม่ผิดนัก สังเกตได้จาก #กองดอง ที่เหล่าผู้ใช้งาน social media พากันอวดกองหนังสือตั้งหนา ๆ จนกลายเป็นเทรนด์ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา
แต่เคยสงสัยไหมว่าจริง ๆ แล้ว ทำไมเราถึงชอบซื้อหนังสือมาดองเอาไว้ และบรรดาร้านหนังสือมีกลยุทธ์การขายหนังสืออย่างไร ให้นักอ่านซื้อหนังสือมากขึ้น
1
[คนไทยอ่านหนังสือเกิน 8 บรรทัด]
3
เคยมีคำพูดบอกว่า ‘คนไทยอ่านหนังสือเฉลี่ยปีละ 8 บรรทัด’ แต่ถ้ามาดูตามสถิติแล้วกลับไม่เป็นตามนั้น
1
ผลสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ และสำนักงานอุทยานการเรียนรู้ (TK park) ในปี 2561 บอกว่าคนไทยใช้เวลาอ่านเฉลี่ย 80 นาทีต่อวัน สถิตินี้นับรวมการอ่านหนังสือ บทความออนไลน์ และ Social Media (แต่ไม่รวมการอ่านแชทหรือข้อความส่วนบุคคล)
1
ด้านสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย (PUBAT) บอกว่าคนไทยโดยเฉลี่ยอ่านหนังสือ 1-3 เล่มต่อเดือนหลายๆ คนซื้อหนังสือเป็นประจำอีกด้วย
1
งานสัปดาห์หนังสือจึงกลายเป็นกิจกรรมที่ได้รับผลตอบรับอย่างดีเป็นประจำทุกปี
โดยงานสัปดาห์หนังสือมีผู้เข้าชมงาน 1-2 ล้านคนต่อปี และทำยอดขายได้เฉลี่ยปีละประมาณ 300 ล้านบาท ส่วนงานสัปดาห์หนังสือในต่างจังหวัดมีผู้เข้าชมงานเฉลี่ยวันละ 4,000-6,000 คนต่อวัน
1
แล้วคนไทยตัดสินใจเลือกซื้อหนังสือจากอะไรบ้าง?
มณฑล ประภากรเกียรติ ผู้จัดการสำนักพิมพ์มติชนให้สัมภาษณ์กับรายการ 7 Minute ว่าปัจจัยการเลือกซื้อหนังสือมีตั้งแต่หน้าปกหนังสือ ชื่อเรื่อง นักเขียน เนื้อหาที่อยู่ในกระแสสังคม ไปจนถึงกิจกรรมส่งเสริมการขาย เช่น การทำโปรโมชัน การแจกของสะสม
รวมไปถึงเครื่องมือทางการตลาด อย่างการรีวิวหนังสือของผู้นำทางความคิดเห็น influencer คนดัง นักการเมือง หรือคนที่มีชื่อเสียงในแวดวงเหล่านั้น ก็ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อหนังสือได้มากทีเดียว
[สำรวจวัฒนธรรมป้ายยาหนังสือ]
ปีที่ผ่านมา หนังสือ ‘Think Again’ เขียนโดย Adam Grant กลายเป็นหนังสือขายดี ติดอันดับ Best seller แทบทุกร้านหนังสือ หลังชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ แนะนำหนังสือเล่มนี้ไว้ใน Facebook fanpage ส่วนตัว
1
บรรดาร้านหนังสือต่างทำการโปรโมท ตั้งแต่การติดป้ายชื่อผู้ว่ากรุงเทพฯ ไว้คู่กับหนังสือ และการโปรโมทผ่านทางออนไลน์ จนบรรดานักอ่านให้ความสนใจ ร่วมกันรีวิวหนังสือเล่มนี้ผ่านทาง Social Media ทำให้ Think Again กลายเป็นหนังสือแห่งยุค
2
แม้แต่ช่วงที่พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี แนะนำให้คนไทยอ่านหนังสือ Aminal Farm เขียนโดย George Orwell หนังสือเล่มนี้ก็กลายเป็นหนังสือขายดีเช่นเดียวกัน
3
เมื่อคนดังสามารถสร้างการตระหนักรู้หรือสร้างกระแสให้กับหนังสือได้ สำนักพิมพ์จึงมีกลยุทธ์ในการทำการตลาดหนังสือรูปแบบหนึ่งคือการส่งหนังสือให้ผู้มีอิทธิพลทางความคิด คนดัง นักการเมือง หรือ influencer รีวิวหนังสือ
3
แต่ปัจจุบันนี้ ในยุค User-generated content หรือยุคที่ใคร ๆ ก็สามารถสร้างคอนเทนต์รีวิวเองได้ ทำให้การรีวิวไม่ได้กระจุกตัวอยู่ที่จาก influencer เพียงอย่างเดียว
1
“influencer ในอดีต อาจจะต้องเป็นคนมีชื่อเสียง เป็นดารา เป็นอาจารย์ เป็นนักวิชาการ เป็นนักเขียนชื่อดังที่จะมารีวิวหนังสือเล่มนั้น ๆ แต่ปัจจุบัน ทุกคนเป็น influencer ได้” มณฑลกล่าว
นอกจากนี้ ใน social media ยังมีกลุ่มสำหรับแนะนำหนังสืออย่าง ‘สมาคมป้ายยาหนังสือ’ กลุ่ม Facebook ที่สมาชิกในกลุ่มจะโพสต์เนื้อหาโปรโมทหนังสือต่าง ๆ
ช่องทางอย่าง Twitter และ Youtube ก็มีการสรุปเนื้อหาหนังสือ ถือเป็นการช่วยประชาสัมพันธ์หนังสือในอีกช่องทางหนึ่ง
2
แม้แต่ในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 51 นี้มาภายใต้แนวคิด ‘ Bookfluencer : ผู้นำอ่าน’ เพื่อสะท้อนแนวคิดที่ influencer สามารถสร้างแรงจูงใจและเปลี่ยนมุมมองความคิดของผู้อื่นได้ รวมไปถึงเรื่องของการอ่านเช่นเดียวกัน
2
ในปีนี้ทาง PUBAT ร่วมมือกับ TikTok นำ TikToker สายนักอ่าน 50 มาทำคอนเทนต์แนะนำหนังสือภายในงานอีกด้วย
การโปรโมทหนังสือมีผลในการตัดสินใจซื้อหนังสือ โดยเฉพาะผ่านช่องทางออนไลน์ ที่ผู้อ่านยังไม่ได้เห็นหนังสือจริง จึงมักใช้การอ่านรีวิวประกอบการตัดสินใจ
“แต่หนังสือเป็นสิ่งที่คนต้องเข้ามาหยิบจับ ดูสำนักพิมพ์ ดูคำนำผู้อ่านว่าหนังสือเกี่ยวกับอะไร แต่ถ้ามีคนอ่านแล้วเอามาเล่าให้ฟังว่าเนื้อหาดีประมาณไหน ด้อยยังไง มีจุดแข็งยังไง มันจะช่วยโน้มน้าวและประหยัดเวลาได้มากกว่า ก็ช่วยในการตัดสินใจที่จะซื้อหนังสือเล่มนั้น ๆ ได้ไม่มากก็น้อย” มณฑลกล่าว
2
เมื่อการตลาดเข้ามามีผลต่อการซื้อหนังสือของนักอ่านมากขึ้น คำถามสำคัญคือเมื่อซื้อหนังสือมาแล้ว เราอ่านหนังสือทันกันหรือเปล่า ถ้าอ่านไม่ทัน ทำไมเรายังซื้อหนังสือมาสร้างกองดองกันมากขนาดนี้
2
การซื้อหนังสือตามกระแส สามารถอธิบายได้ด้วยปรากฏการณ์ FOMO (Fear of Missing Out) หรือการกลัวตกกระแส ซึ่งเป็นภาวะที่เกิดจากความไม่พอใจในชีวิต เพราะพลาดการพักผ่อน มีภาระรัดตัวเกินไป รู้สึกขาดอิสรภาพในชีวิต จนทำให้คิดว่าพวกเขาอาจพลาดอะไรบางอย่างไป
แนวคิดนี้จึงถูกนำมาใช้เป็นกลยุทธ์ทางการตลาดของสินค้าต่าง ๆ รวมไปถึงหนังสือด้วย
นอกจากนี้ หนังสือยังส่งเสริมภาพลักษณ์และช่วยเติมเต็มความรู้สึกของผู้ซื้อ เพราะการมีหนังสือไว้ที่บ้าน ทำให้เรารู้สึกฉลาด เป็นคนใฝ่รู้ ทันสมัย
การแชร์คอนเทนต์เกี่ยวกับหนังสือก็ช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีให้กับตัวเราด้วยเหมือนกัน
2
[ทำไมต้องซื้อหนังสือมา ‘กองดอง’]
1
แม้ว่าวัฒนธรรมกองดองจะกลายเป็นคำยอดฮิตในยุคนี้ แต่พฤติกรรมนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่
ในปี 1879 คนญี่ปุ่นมีคำเรียกพฤติกรรมการซื้อหนังสือสะสมว่า “ซุนโดคุ” (Tsudoku) หมายถึงผู้ที่มีหนังสือสะสมจำนวนมาก หรือคำว่าคำว่า “bibliomania” หมายถึงผู้ที่คลั่งไคล้ในการสะสมและครอบครองหนังสือ ก็ใช้ครั้งแรกตั้งแต่ในศตวรรษที่ 19 แล้ว
ส่วนสาเหตุที่ทำให้เกิดกองดอง อาจเกิดจากไม่มีเวลาอ่านหนังสือ เพราะในแต่ละวัน เรามีกิจวัตรต้องทำมากมาย และเราอาจทุ่มเทเวลากับสิ่งอื่น ๆ เช่น ดูซีรีส์ ฟังเพลง พักผ่อน จนไม่มีเวลาอ่านหนังสือ
1
อีกหนึ่งสาเหตุคือหนังสือคือสิ่งที่เรารับรู้ตอนไหนก็ได้
Karen Anne Hope Andrews นักจิตวิทยาในดูไบบอกมองว่าหนังสือที่ยังไม่ได้อ่านคือโลกที่เรารอสำรวจ และการได้หนังสือมาใหม่ก็สร้างความพึงพอใจให้เรา เหมือนเวลาที่ได้สิ่งของอื่น ๆ
2
ด้าน Nassim Nicholas Taleb นักสถิติเจ้าของทฤษฎี Black swan มองว่าหนังสือในกองดองเหล่านี้จะคอยย้ำเตือนให้เราอ่านมากขึ้น เรียนรู้มากขึ้น ไม่ยึดติดว่าเรามีความรู้มากเพียงพอแล้ว
เมื่อเราอายุมากขึ้น หนังสือของเราก็จะมีมากขึ้น เพราะเราเริ่มตระหนักได้แล้วว่าโลกใบนี้ยังมีหลายสิ่งที่เรายังไม่รู้และยังมีความรู้ใหม่ ๆ เกิดขึ้นมากมาย
1
ส่วนสมาคมจิตแพทย์อเมริกันบอกว่า พฤติกรรมที่ว่านี้ไม่ใช่ความผิดปกติ ถ้าการสะสมหนังสือนั้นไม่ได้ทำร้ายสุขภาพหรือความสัมพันธ์ทางสังคม
1
หนังสือบางเล่มอาจจะเหมาะสมกับบางช่วงจังหวะของชีวิต การดองหนังสือเล่มนั้นไว้อ่านในจังหวะที่เหมาะสมก็ไม่ใช่เรื่องผิด
5
แต่ถ้าใครอยากจัดการกองดองหนังสือ อาจจะเริ่มด้วยการหยิบหนังสือที่เราอยากอ่านจริง ๆ ขึ้นมาอ่านก่อน ลองอ่านหลายเล่มสลับกัน หรือฝึกอ่านหนังสือทุกวันจนเป็นนิสัย
1
วิธีเหล่านี้จะช่วยทลายกองดองของเรา และเตรียมพร้อมให้เราซื้อหนังสือเล่มใหม่ได้แบบไม่รู้สึกผิด
4
#TODAYBizview
#MakeTomorrowTODAY
โฆษณา