17 เม.ย. 2023 เวลา 11:55 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี

แสงขั้วโลก (Aurora Polaris)

ปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เรียกว่า แสงขั้วโลก (Aurora Polaris) มีลักษณะเป็นแสงสวยงามเรืองรอง สะท้อนอยู่บนท้องฟ้าของประเทศแถบขั้วโลก เช่น ไอซ์แลนด์ นอร์เวย์ สวีเดน นิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย
แสงขั้วโลกที่เกิดในแถบขั้วโลกเหนือ เรียกว่า แสงเหนือ (Aurora Borealis) ส่วนแสงขั้วโลกที่เกิดในแถบขั้วโลกใต้ เรียกว่า แสงใต้ (Aurora Australis)
แสงขั้วโลกเกิดจากอนุภาคพลังงานสูง ซึ่งถูกปลดปล่อยจากดวงอาทิตย์ขณะที่กำลังหมุน อนุภาคเหล่านี้เคลื่อนที่มากับลมสุริยะ มุ่งหน้าเข้าสู่ชั้นบรรยากาศโลก เนื่องจากสนามแม่เหล็กบนผิวโลก ในขณะที่อนุภาคเคลื่อนที่ผ่านชั้นบรรยากาศโลกที่ ระดับความสูง 80-640 กิโลเมตรจากพื้นดิน จะชนกับโมเลกุลของก๊าซในชั้นบรรยากาศ และปลดปล่อยพลังงานออกมาในรูปของแสงที่ตามนุษย์มองเห็นได้
โฆษณา