18 เม.ย. 2023 เวลา 05:26 • ความคิดเห็น
Q : ทำไมเราทุกคน ไม่รู้จักพอ ไม่เคยพอ ไม่มีวิถีชีวิตแบบพอเพียง ?
A : เพราะ มันเป็นเหตุผลของธรรมชาติ
ธรรมชาติต้องการให้พัฒนายิ่งขึ้น
ต้องการให้เจริญก้าวหน้า
ต้องการให้ดีกว่าเก่า
ต้องการให้มีมากกว่าเดิม
ต้องการผลักดันให้เรา
เปลี่ยนจากมีก้อนหินเป็นมีขวานมือ
เปลี่ยนจากมีโทรเลขเป็นมีโทรศัพท์
เปลี่ยนจากมีรถม้าเป็นมีรถยนต์
เปลี่ยนจากมีเทียนไขเป็นมีหลอดไฟ
เปลี่ยนจากตำแหน่งลูกจ้างเป็นตำแหน่งเจ้าของธุรกิจ
เปลี่ยนจากมีเงิน 1 พันบาทเป็นมีเงิน 1 ล้านบาท
ถ้าเรารู้จักพอ วันนี้เผ่าพันธุ์เราอาจจะยังวิ่งอยู่ในทุ่งหญ้าแอฟริกาก็เป็นได้
ธรรมชาติ มีหน้าที่ช่วยสร้างระบบการทำงานของร่างกาย
เพื่อช่วยให้เราอยู่รอดและดำรงเผ่าพันธุ์ต่อไปบนโลกใบนี้นานๆ
ระบบกลไกที่อยู่เบื้องหลังนี้ เรียกว่า วงจรความสุข
(Peasure circuit หรือ Reward system)
มันไม่มีหน้าที่ช่วยเรากำหนดว่า จุดไหนคือความพอดี
กระบวนการความสุข คล้ายกับ กระบวนการลูกโป่งแห่งความสุข
การทำงานคือ ลูกโป่งจะพองตัวขึ้น เมื่อใดก็ตามที่สารความสุขถูกหลั่งออกมา
สารความสุข ถูกกำหนดให้หลั่งออกมาแค่เพียงในสถานการณ์ที่สมองเราตีความว่า
เป็นสถานการณ์ที่มีประโยชน์ส่งเสริมการอยู่รอดและสืบพันธุ์
เช่น การได้กินอาหาร การได้คบคนที่เราหมายปอง
เมื่อสารความสุขหลั่งออกมา เราจะรู้สึก Happy หัวใจพองโตเหมือนลูกโป่งพองโตขึ้น และเมื่อเราปล่อยเวลาให้ผ่านไปสักพัก สารความสุขก็จะเริ่มมอดจางเหมือนลมเริ่มไหลออก ลูกโป่งก็ค่อยๆฟีบตัวลงตามไปด้วย
เพื่อบรรลุเป้าหมายชีววิทยานี้(การอยู่รอดและสืบพันธุ์)
ธรรมชาติออกแบบติดตั้งระบบกลไก วงจรความสุข
มันคอยทำงานหนักให้เราตลอดเวลา
มันช่วยให้เราเรียนรู้ลำดับเหตุการณ์ที่จะพาเราไปสู่สิ่งดีในชีวิต
มันกระตุ้นให้เรา
พยายามมุ่งหน้าเลี้ยงลูกโป่งแห่งความสุขให้พองลมอยู่ตลอดเวลา
พยายามคอยหาหนทางใหม่ๆที่จะมีความสุขตลอดเวลา
แต่ปัญหาที่น่าเศร้าคือ
1. เมื่อไหร่ก็ตามที่วงจรนี้ทำภารกิจได้บรรลุเป้าหมาย
สามารถเรียนรุ้เรียงลำดับเหตุการณ์ที่พาเราไปสู่ความสุขได้แล้ว
สามารถเรียนรู้เรียงลำดับเหตุการณ์ที่พาเราไปสู่สิ่งที่สมองตีความว่ามีประโยชน์เสร็จสิ้นลง
สมองเราจะพยายามประหยัดอดออมพลังงานโดยค่อยๆเอาสารความสุขออกไปจากถนนที่สร้างเสร็จแล้ว เมื่อความสุขลดลงหรือลูกโป่งเริ่มฟีบแฟบ เราทุกคนก็จะไม่สามารถรับรู้ถึงปริมาณความสุขได้มากเท่าเดิม แม้ว่าเราจะทำกิจกรรมความสุขแบบเดิม
อารมณ์ที่ถูกใช้เป็นตัวล่อให้เราตื่นตัวและจำลำดับเหตุการณ์ได้ ก็ไม่จำเป็นต้องถูกหลั่งออกมามากๆอีกต่อไปแล้ว
สมองเราจะพยายามประหยัดอดออมพลังงานให้เราเอาไปใช้ในเรื่องใหม่ๆที่มีประโยชน์
เมื่อสารเคมีถูกหลั่งออกมาน้อยลง อารมณ์ก็เริ่มจางไป ความรู้สึกที่ลดลงกว่าในตอนแรกๆ คือที่มาของ "ความเบื่อ" นั่นเอง
ธรรมชาติหวังดีอยากให้เราคอยหาหนทางใหม่ๆที่จะมีความสุขอยู่ตลอดเวลา
เพราะเมื่อเรา "รู้สึกเบื่อ" เราก็จะอยากหาสิ่งใหม่ๆที่สนุกขึ้น ที่ตื่นเต้นขึ้น มาสนองความสุขที่ลดลง เป็นการคอยเพิ่มถนนหลายๆสายเอาไว้ในสมองของเรา เพื่อที่เราจะได้มีความรู้ความเข้าใจโลกมากๆ มีหนทางมากมายที่จะพาตัวเราไปสู่ชีวิตที่ดีขึ้น
2. เมื่อไหร่ก็ตามที่เราทิ้งช่วงไม่ทำกิจกรรมที่มีประโยชน์ส่งเสริมเป้าหมายทางชีววิทยานานเกินไป ลูกโป่งก็จะค่อยๆเริ่มฟีบลงเรื่อยๆเช่นกัน
เราจะเริ่ม "รู้สึกหดหู่ เครียด เหงา" ความรู้สึกไม่ดีจะถาโถมเข้ามาเรื่อยๆ จนกระทั่งเราต้องลุกขึ้นมาทำกิจกรรมที่หลั่งสารความสุข เป่าลมเข้าไปในลูกโป่งให้กลับมาพองตัวอีกครั้ง
ดังนั้นเกมชีวิต คือ
การพยายามเลี้ยงลูกโป่งของเราให้พองลมอย่างต่อเนื่อง
การหากิจกรรมที่มีประโยชน์ส่งเสริมเป้าหมายทำ
เป็นกลไกที่ธรรมชาติฝังมาในตัวเราทุกคน
จะเห็นว่า
เมื่อไหร่ไม่ลุกขึ้นมาทำ ก็รู้สึกเบื่อ
เมื่อไหร่ลุกขึ้นมาทำจนบรรลุ ก็รู้สึกเบื่ออีกเช่นกัน
นี่แหละครับ คือ กลไกอันแสนชาญฉลาดของธรรมชาติที่จะล่อให้เราเลี้ยงลูกโป่งแห่งความสุขไปตลอดเส้นทางชีวิต
โฆษณา