18 เม.ย. 2023 เวลา 07:08 • การศึกษา
มหาวิทยาลัย (มอ) มองเป็น 2 กลุ่มหลักๆ
กลุ่ม 1
กลุ่มมหาวิทยาลัยของรัฐก็แบ่งเป็นระดับแนวหน้าชั้นนำระดับประเทศที่ลูกหลาน
ใครต่อใครก็อยากเข้าไปภาคภูมิใจ กับมอรัฐที่เป็นกลุ่มที่มีทุกจังหวัดเพื่อวัตถุประสงค์
กระจายโอกาสทั่วไปไม่ต้องมารุมผิดหวังเสียใจเข้ามอรัฐ ที่แก่งแย่งกันอย่างเป็นแสนๆเอาพัน
กลุ่ม 2
กลุ่มมอ เอกชน ที่เป็นมอที่เปิดหลักสูตรการเรียนการสอนแบบลงทุนด้วยสถานที่
เรียน อาคารเรียน สภาพแวดล้อม สังคม ความสวยงาม ราคาค่าหน่วยกิจการลงทุน
สูงกว่าภาครัฐหลายๆเท่า อาจเป็นสถาบันหรือมอ ที่พยายามเน้นหลักสูตรที่เข้าสู่การป้อนให้ระบบทุนนิยมรองรับได้ชัดเจนมาก
เพราะบางมอ หลายสถาบัน นักธุรกิจเป็นเจ้าของกำหนดหลักสูตรเป็น Work Baseเพื่อรับนักศึกษาเรียน ทำงานไปพร้อมๆกัน บางสถาบัน นักศึกษามีงานรองรับ100 %ก็ถือว่าทุนนิยมนายทุนผู้ลงทุนมีพลังเครือข่ายธุรกิจกว้างมาก
บางสถาบัน ใครอยากเป็นหมอ หมอคน หมอฟัน ตกเป้าผิดหวังจากมอรัฐ
ก็ไม่ต้องเสียใจ พ่อแม่มีสตางค์ 3-4 ล้านก็ให้ลูกเรียนหมอได้ ก็ไม่เห็นต้องไปแย่งกันให้เหนื่อย จบมาพ่อแม่ก็สร้างคลีนิคให้อีกมีที่ทำงาน
ถามหน่อยเวลา ไปร้านหมอฟัน หมอคน ใครๆคอยนั่งถามอยู่รึว่า จบหมอฟันที่ไหน
ปวดฟันจะตายละ ฟันเลยไม่ต้องถาม
ต่างกับสถาบันเอกชนที่แพงเช่นกันแต่ไม่มีเครือข่ายธุรกิจและยังโดน มอรัฐ ชั้นนำชิงงานด้วยองค์ความรู้ด้วย อันนี้แหละ
สถาบันเอกชน มอเอกชน นั้นๆก็จะถูกลอยแพมากขึ้นเพราะ นักศึกษาเข้าไปเพื่อจบ แต่ไม่มีงานทำมากกว่าได้งาน
หลักสูตรสาชา คณะวิชาต่างๆที่ไม่มีคุณภาพไม่มีศักยภาพในการเรียนการสอนก็จะถูกฟ้องด้วยตัวเลขสถิติว่า คณะนั้นคณะนี้ มอนั้นมอนี้ จบมาหางานไม่ได้
เงินทุนภาครัฐก็ไม่มีสนับสนุนมีแต่พึ่งค่าเล่าเรียนของนักศึกษาเพื่อดำรงงอยู่หรือทำกำไรเท่านั้น บางสถาบันอ่อนแอถูกยุบสาขา คณะ วิชาไปเรื่อยๆ ก็ขาดทุน
ไม่สามารถประครองค่าใช้จ่ายเพราะนักศึกษาเข้าเรียนไม่ถึงเป้าหมาย หลายสถาบันก็ถูกซิ้อด้วยต่างชาติมหาอำนาจที่ซื้อเพื่อใช้เป็นสถาบันรับการระบายของ
ประเทศตนที่แออัดยัดเยียด ไม่มีที่เรียนพอ ก็คงทราบนะครับ
ทำไมมอรัฐ ยังคงยืนหยัดแบบร้างๆเก่าๆขลังๆ ก็เพราะได้เป้านักศึกษาไม่ได้เป้าก็มีงบอุดหนุนสถาบัน เก๋ากว่าดยกย้าย้ายปรับเปลี่ยนหลักสูตรขาดทุนไม่ใช่ปัญหาการดำรงอยู่ ตายแบบไม่ตาย ใช้ชื่อปรับเปลี่ยนชื่อหลักสูตรไปเรื่อยๆ คุณภาพลังๆนี้ก็เริ่มต้องมีการพิจาณาของคณะกรรมการพิจารณาหลักสูตร
ที่เหล่าสถาบันต่างๆหรือสังคม ต้องการให้ตรวจสอบประเมินคุณภาพหลักสูตรและครูบาอาจารย์กัน
จนมีคำนึงในสังคมการศึกษาทุกสถาบันพูดกันกว้างขวางว่า "สถาบันใดสร้างหลักสูตร และหลักสูตรไม่ตอบโจทย์ Needs ตลาดคือหางานทำไม่ได้ไม่มีคุณภาพการเรียนการสอน " สังคมจะเป็นคนปิดหลักสูตรเอง คือไม่มีคนสมัครเรียน
แม้จะมีค่าหัวเป็นแรงจูงใจก็ตามที
มอ เอกชนตายได้ครับ แบบไม่มีคนTake Over ก็ร้างปิด แต่ถ้ามีทุนมีพลังควบรวม
หรือมีเจ้าของเป็นภาคธุรกิจแข็งแรงก็ไปต่อได้
สำหรับ มอรัฐ ค่อนข้าปิดประตูตาย เพราะยังมีงบประมาณของภาครัฐอัดแีด
มีครูข้าราชการ อาจารย์ ผศ รศ ศ. มากมายไม่ได้แข่งกับอะไรแข็งกับตัวเองสอนแบบไม่ได้รับรอง ติดตามคุณภาพนิสิตอะไร จบรุ่นๆนึงก็จากไป ครูอาจารย์มีเงินเดือน มีค่าตำแหน่ง มีค่าผลงาน มีคุณวุฒิทางการศึกษาเป็นเงินทั้งนั้น ก็ไม่ล้มไม่ตายง่ายๆครับ
อย่าว่าไปนะครับเงินเดือนครูอาจารย์เกษียณ หลายๆหลายหมื่นนะครับ
โฆษณา