Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ประสบการณ์ของพี่ทอมเองครับ
•
ติดตาม
19 เม.ย. 2023 เวลา 04:16 • ความคิดเห็น
สถิติข้อมูลผู้สูงอายุในไทยมาใหม่จากสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
พอได้เห็นและมาวิเคราะห์แล้วอนาคตระบบเศรษฐกิจไทยอีกไม่เกิน 5 ปีมันน่าจะเหนื่อยมากและน่ากลัวมากนะครับ
ลองเข้าไปดูข้อมูลดิบได้ที่
https://www.nesdc.go.th/main.php?filename=PageSocial
ถ้าเราตามข่าวเศรษฐกิจฝรั่งเศส เราจะเห็นว่าตอนนี้คนฝรั่งเศส 2 ล้านคนกำลังประท้วงเพราะระบบบำนาญที่นั่นไม่มีเงินจะจ่ายให้ผู้สูงอายุ เพราะผู้สูงอายุเยอะขึ้นแต่คนเกิดน้อยลง คนทำงานน้อยลง จนรัฐบาลฝรั่งเศสขอยืดอายุคนเกษียณไปเป็น 65 ปีจาก 60 ปี แต่คนฝรั่งเศสไม่ยอม เลยประท้วงหนัก
ตัดกลับมาที่ไทย ข้อมูลที่สำคัญๆเกี่ยวกับผู้สูงอายุผมแปะไว้ในรูปลองซูมดูละกันนะครับ
มาวิเคราะห์แบบละเอียดๆเกี่ยวกับระบบเศรษฐกิจกันครับ
สังคมผู้สูงอายุทำไมน่าห่วงต่อระบบเศรษฐกิจไทย
สังคมผู้สูงอายุในไทยจะคิดจากจำนวนคนที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ต่อประชากรทั้งหมด ถ้าเกิน 20% เรียกว่าสังคมผู้สูงอายุสมบูรณ์แบบ
1. ถ้ามองประเทศคือบริษัท การที่ประเทศจะอยู่ได้ต้องมีเงิน นั่นคือการหารายได้ให้มากกว่ารายจ่าย รายได้ของประเทศที่ได้มาส่วนใหญ่ที่จ่ายภาษี ไม่ว่าภาษี VAT ภาษีบุคคลธรรมดา นิติบุคคล และรายจ่ายก็มีหลายแบบ แต่ถ้ามาเจาะแค่สังคมผู้สูงอายุ นั่นคือการจ่ายเงินค่าสวัสดิการ บำนาญหรือการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกโครงสร้างพื้นฐานให้แก่ประชาชน
2. ประเทศที่หาเงินได้มากกว่าจ่ายออกไป ยังไงก็มีกำไรเหลือ เอามาทำประโยชน์ต่อประเทศได้ แต่กลับกันประเทศไหนรายจ่ายมากกว่ารายรับ ไม่ช้าก็ไว ประเทศนั่นก็เริ่มจนลงจนลง ถ้าไม่ไหวก็ล้มละลาย
3. จะเห็นได้ว่าประเทศไหนมีวัยทำงาน วัยจ่ายภาษี วัยบริโภค มากกว่าผู้สูงอายุ ประเทศนั่นก็จะมีความมั่นคงต่อระบบเศรษฐกิจระดับดี (ถ้าไม่คอรัปชั่นกันเยอะ) เพราะถ้าสังเกตดีดี พอเราสูงวัยเลย 60 ปี การบริโภคต่างๆจะน้อยลงกว่าวัยหนุ่มเยอะ
เช่น เรามีบ้านแล้วเราก็ไม่ซื้อบ้านเพิ่ม การกินอาหารอายุเยอะกินได้น้อยกว่าวัยทำงาน จะซื้อของก็ซื้อน้อยลง กิเลสเริ่มลดลง ไม่เหมือนวัยทำงาน เที่ยวน้อยลงส่วนใหญ่จะอยู่ติดบ้านและไปหาหมอมากกว่า เมื่อการบริโภคน้อยลงกว่าวัยหนุ่ม สังคมผู้สูงอายุระบบเศรษฐกิจก็จะไม่หมุนเท่ากับสังคมวัยทำงาน
4. ตามสถิติไทยเรา ตั้งแต่ปี 2554 ถึง 2565 เป็นเวลา 11 ปีที่ผ่านมา เปอร์เซ็นต์ผู้สูงอายุเพิ่มจาก 12.4% มาเป็น 19.2% คาดว่าปี 2566 ไทยเราจะมีเปอร์เซ็นต์ผู้สูงอายุ 20% และเป็นสังคมผู้สูงอายุสมบูรณ์แบบ
5. ผู้สูงอายุในไทยตั้งแต่ปี 2545-2564 จะมีสัดส่วนอยู่กันหลายคนมากกว่าอยู่คนเดียว แต่สัดส่วนการอยู่หลายคนลดลง ส่วนสัดส่วนอยูาคนเดียวเพิ่มขึ้นทุกปี นั่นหมายถึงผู้สูงอายุเริ่มอยู่คนเดียวมากขึ้น ไม่แน่ใจว่าโสดไม่มีลูกกัน หรือไม่มีคนเลี้ยงดู สถิติไม่ได้บอกไว้
6. อันนี้พีคที่สุดคือ การออมของผู้สูงอายุทั้งหมดในไทย ตั้งแต่ปี 2550 ถึง 2560 มีเพิ่มขึ้น จาก 4.8 ล้านคนเป็น 8.2 ล้านคนแต่เริ่มลดลงในปี 2564 เหลือออม 7.1 ล้านคน!!!
7. แต่จำนวนคนไม่ออม ปี 2550-2560 มีประมาณ 2.2 ล้านเพิ่มเป็น 2.8 ล้าน แต่ที่หนักกว่านั้นคือปี 2564 จำนวนคนไม่ออมเพิ่มเป็น 6 ล้านคน!! หรือเพิ่ม 300% น่าตกใจไหมครับ ไม่แน่ใจว่าเกี่ยวกับอะไรถ้าความคิดเห็นส่วนตัวคือ หายังไม่พอใช้จ่าย จะเอาที่ไหนไปออมและช่วง 3 ปีที่ผ่านมาก็โควิดด้วยครับ เข้าใจเลยว่ากว่าจะผ่านมาได้เหนื่อยกันเกือบทุกคน
8. ตรงนี้ที่น่าสนใจนะครับ สังเกตจำนวนผู้สูงอายุปี 2550 มีทั้งหมด 7 ล้านคน เพิ่มเป็น 13.3 ล้านคน เงินยังชีพที่รัฐจ่ายให้ถ้ายังให้เดือนละเท่าเดิมภาระคลังที่ต้องจ่าย ก็เพิ่ม 2 เท่า แต่ถ้าสมมติทุกพรรคบอกต้องเพิ่มให้อีกคนละ 3000 จาก 600 กลายเป็น เพิ่มแบบคำนวนคร่าวๆก็ 10 เท่า
คิดดูภาระการจ่ายของคลังจะไหวไหม คลังจะทนได้นานขนาดไหน การจ่ายส่วนนี้เพิ่มขึ้นเยอะ แต่ประชากรไทยลดลงคนจ่ายภาษีลดลง เหมือนเรามีเงินเก็บก้อนหนึ่ง เราหาไม่พอจ่าย เราก็ต้องชักเงินเก็บมาใช้จ่ายหรือไปกู้มาเพิ่ม คำถามคือเราจะทนได้นานขนาดไหน ดูแล้วถ้ายังหารายได้เพิ่ม ภายใน 5-10 ปีนี้ระบบการคลังเราน่าจะหนักเหนื่อยสุดๆ
9. บางคนบอกกลัวทำไม ญี่ปุ่นสังคมผู้สูงอายุเร็วกว่าและมากกว่าเรา ยังเหนื่อยเลย ถ้าใครตามข่าว สัดส่วนผู้สูงอายุที่ญี่ปุ่นมีเงินออมมากกว่าไทย แต่คนไทยแก่ก่อนรวย คนไม่มีเงินออมเพิ่มขึ้นตามสถิติ รัฐต้องรับภาระมากกว่าญี่ปุ่นเยอะ
10. ดูในรูปดูอัตราการเป็นภาระที่หมายถึงอัตราส่วนคนอายุ 60 ปีขึ้นไป ต่อคนวัยทาไงานที่อายุ 15-59 ปี 100 คน จะเห็นได้ว่าปี 2550 วัยทำงาน 100 คนมีผู้สูงอายุ 16 คน แต่ปี 2564 ผู้สูงอายุเพิ่มเป็น 30 คน หมายถึงสวัสดิการต่างๆที่รัฐต้องจ่ายให้ผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นมากมาย
11. ดูดัชนีการสูงอายุที่หมายถึง การทดแทนประชากรที่จำนวนคนสูงอายุกับจำนวนเด็กต่ำกว่า 15 ปี ถ้าค่าเกิน 100 แสดงว่า ผู้สูงอายุมีมากกว่าเด็ก คืออัตราการเกิดลดน้อยลงอย่างน่าใจหาย ปี 2550 ดัชนีนี้อยู่ที่ 47.7 หมายถึงเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปีมีมากกว่าผู้สูงอายุ แต่ปี 2564 ดัชนี้ 120 นั่นหมายถึงจำนวนผู้สูงอายุเยอะมากกว่าเด็กมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆ ตีความหมายว่า อนาคตคนมาทำงานหาเงินจ่ายภาษีน้อยลงมากๆๆๆๆๆๆๆๆ
12. หลายๆคนอาจยังไม่เข้าใจว่าระบบเศรษฐกิจและสังคมที่ดี ต้องมีคนซื้อขายเยอะๆ มีการกระจายรายได้ เพราะรายได้รายจ่ายของประชาชนคือรายได้ของรัฐ ที่เห็นๆและทุกคนต้องเสียคือภาษี VAT ซื้อของมาเราก็ต้องจ่ายถาษีตัวนี้แล้ว ตามก้วยภาษีบุคคลธรรมดา ถ้าผู้สูงอายุเยอะการบริโภคจะน้อยลงเรื่อยๆ ภาษีที่จ่ายก็จะน้อยตามอย่างที่เน้นย้ำ
13. การแก้ปัญหาเป็นโจทย์ยากมาก เพราะระบบเศรษฐกิจฝืด ค่าครองชีพสูง เป็นธรรมดาที่คนรู้สึกไม่มั่นคงทางเศรษฐกิจก็ไม่อยากมีลูก แค่เลี้ยงตัวเองยังยากทำให้ประชากรลดลงไวกว่าเดิมอีก โจทย์นี้รัฐต้องมาวางนโยบายและทำให้เศรษฐกิจดีขึ้นทำให้คนส่วนใหญ่รู้สึกมั่นคง แล้วการมีลูกเยอะขึ้นจะตามมาเอง แต่บอกเลยว่ายากที่จะแก้ปัญหานี้ได้
14. หรือไม่ก็หารายได้เข้าไทยเยอะๆ ผ่านการท่องเที่ยวเหมือนญี่ปุ่นที่กำลังทำ แต่ก็จะได้จังหวัดที่มีการท่องเที่ยวเท่านั้น จังหวัดเล็กๆไม่มีอะไรก็ไม่ได้อะไร หรือต้องสนับสนุน ธุรกิจไทยไปตีตลาดโลก แต่ก็นั่นแหละครับผ่านมา 50 ปี ผมยังไม่เห็นธุรกิจไทยตรระดับโลกผ่านการสนับสนุนจากภาครัฐเลย
15. มีบางท่านบอกขยายอายุเกษียณจาก 60 เป็น 65 เป็นทางเลือกที่น่าจะดี แต่ผมก็ยังมองว่ามันคือการยืดเวลา ยืดการระเบิดออกมาปัญหาไม่ได้แก้ไขเพราะวัยทำงานมีน้อยกว่าผู้สูงอายุ ทำให้ประเทศรายได้น้อยกว่ารายจ่าย ถึงเวลาเงินหมดยังไงปัญหาก็ต้องระเบิดอยู่ดี
16. บทความนี้ไม่ได้ว่าผู้สูงอายุนะครับ เผื่อใครอ่านแล้วเข้าใจผิด คนเราเกิดมาต้องแก่ ผมก็ต้องแก่ในสักวันหนึ่งเป็นธรรมชาติ แต่จะชี้ให้เห็นว่าระบบเศรษฐกิจการคลังผูกกับสังคมผู้สูงอายุเยอะเหมือนกัน
4
17. เราต้องวางแผนพึ่งตัวเองมากกว่ารอนโยบายรัฐ ปัญหาสังคมผู้สูงอายุมีคนวิจัยและร้องออกมาตั้งแต่ปี 2544 แต่ไม่มีใครสนใจกันเท่าไร ผู้มีอำนาจนีกการเมือง หยิบมาถกปัญหาแล้วก็วางไว้ที่เดิม คิดว่าไกลตัว ผ่านมา 20 ปี ปัญหานี้กำลังเป็นระเบิดเวลาต่อสภาพเศรษฐกิจถัดจากหนี้ครัวเรือนไทย
18. ผู้มีอำนาจ นักการเมืองไม่เดือดร้อนพวกนี้เพราะเขามีเงินเก็บเยอะ อำนาจ บำนาญใช้กินตอนแก่ เขาเลยชิลๆ แต่คนธรรมดาต้องวงแผนกันนะครับ
ปล. ถ้าให้ยกตัวอย่างธุรกิจไทยเริ่มมีผลกระทบต่อสังคมผู้สูงอายุ ลองมองอสังหาระดับกลางๆและรากหญ้าดูตอนนี้ครับ ตอนปี 2012-2015 ราคาอสังหาในไทยเพิ่มพีคสุด ถ้าใครซื้อราคาจุดสูงสุดในตอนนั้น แล้วจะขายตอนนี้ขายได้ราคามากกว่าเดิมกันไหมครับ
หรือดูบางจังหวัดของญี่ปุ่น คนเกิดน้อยผู้สูงอายุเยอะราคาอสังหาบางแห่ง 0 บาทหรือถูกมากๆแจกฟรีแต่ต้องมาจ่ายภาษีเยอะพอสมควร
ราคาของสินทรัพย์จะขึ้นอยู่กับความต้องการ คนต้องการมา ราคาเท่าไรก็สู้ ความต้องการน้อยลงราคาก็ลดลง
ไม่ต้องแปลกใจ ทำไมรัฐบาลถึงจะออกนโยบายให้ต่างชาติมาซื้ออสังหาได้ ไม่งั้นจะหาอะไรมาประคองราคาอสังหา
แต่ยังไงผมเชื่อเมืองท่องเที่ยวเมืองอุตสาหกรรม
เมืองใหญ่เศรษฐกิจหลัก ราคาอสังหายังไปได้ครับ
ผู้สูงอายุ
เศรษฐกิจไทย
1 บันทึก
1
1
1
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย