21 เม.ย. 2023 เวลา 02:27 • หุ้น & เศรษฐกิจ

ทำไม ค่าไฟแพง และบริษัทผลิตไฟฟ้าเอกชน ถึงขาดทุน

รวมถึง กฟผ. ทั้งๆ ที่ราคาก๊าซโลก ลดลงจาก 50 เหรียญ มา 13 เหรียญแล้ว
และประชาชนอย่างเราๆ จะต้องแบกรับค่าไฟแพงต่อไป อีก 1-2 ปี น่าจะแตะ 5฿
ทั้งนี้อาจเป็นปัญหาในการบริหารของทางรัฐฯ จากแหล่ง เอราวัณ และบงกช ที่ทำให้การส่งต่อไม้ จาก chevron มาเป็น PTTEP ไม่ smooth จึงเสียเวลาในการขุดหลุมใหม่ และ ปริมาณก๊าซหลุมเดิมๆ ก็ลดลงเรื่อยๆ เราจึงต้องนำเข้าเพิ่ม
1.เข้าใจว่าไทยเรานำเข้า LNG มากขึ้นเพราะแหล่งก๊าซ เอราวัณ ผลิตได้น้อยลงเหลือเพียง 300 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน จากเป้าหมายตามสัญญาที่ 800 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน
2.ราคาก๊าซเมื่อปีก่อนพุ่งไป 50 เหรียญจึงทำให้ต้นทุนนำเข้า แพงมหาศาล จากต้นทุนของอ่าวไทยเฉลี่ยไม่เกิน 5-6 เหรียญ ทำให้ขาดทุนกันยับเยิน ทั้งเอกชนและ กฟผ.
3.รัฐต้องชดเชยการขาดทุนให้ กฟผ. ที่ขาดทุนไปราวๆ 100,000 กว่าล้านบาท หลังจากที่ราคาพลังงาน(ก๊าซ)ลดลงแล้ว ต้องให้โอกาสกู้ขาดทุนคืน โดยที่ประชาชนต้องแบกรับผลขาดทุนนี้
4.ต้นทุนก๊าซ LNG คิดเป็นราวๆ 40-50% ของการผลิตไฟฟ้าทั้งประเทศ เมื่อราคาspot ขึ้นสูง ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าก็สูงตาม แต่ค่าไฟไม่ได้ขึ้นตามได้ทันที
กำลังการผลิตก๊าซ G1/61 (แหล่งเอราวัณ)​ เฉลี่ยเดือน พ.ค.65 ลดเหลือ 300 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน จากในวันสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน 23 เม.ย.65 ที่ยังอยู่ที่ 399 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ต่ำกว่าสัญญา PSC ที่กำหนดไว้ 800 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน โดยเร่ง ปตท.สผ.อีดี ขุดเจาะหลุมผลิตเพิ่มอีก 100 หลุมในปีนี้ คาดต้นปี 2566 ผลิตได้เพิ่มเป็น 400 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน
โฆษณา