21 เม.ย. 2023 เวลา 05:14 • ข่าวรอบโลก

ชาวอเมริกันติดหนี้บัตรเครดิตสูงเป็นประวัติการณ์ แถมเงินเดือนแทบไม่พอใช้

ปัญหาหนี้บัตรเครดิต ถือว่าเป็นปัญหาคลาสสิคของผู้คนในทุกประเทศทั่วโลก ซึ่งเกิดจากการจับจ่ายใช้สอยและการบริโภคส่วนบุคคล และเป็นหนี้สินก้อนใหญ่ของผู้คนนับล้านที่ไม่สามารถล้างให้หมดไปได้ และส่วนใหญ่มักสมัครใจที่จะอยุ่กับหนี้ก่อนนั้นด้วยการชำระขั้นต่ำไปเรื่อยๆ
3
ไม่เพียงแค่ประเทศกำลังพัฒนาที่ประชากรมีรายได้น้อยเท่านั้นที่ผลสำรวจจากหน่วยงานทางการภายในประเทศทั้งจากสถาบันการเงิน สำนักงานสถิติแห่งชาติ หรือบริษัทผู้เชี่ยวชาญในการเก็บข้อมูลต่างๆ รวมทั้งการเก็บข้อมูลจากหน่วยงานทางการเงินระหว่างประเทศ ที่สะท้อนให้เห็นว่าประชากรในกลุ่มประเทศเหล่านี้ติดหนี้บัตรเครดิตสูง และมีแนวโน้มจะเป็นหนี้ระยะยาวไม่จบไม่สิ้น
ประเทศพัฒนาแล้วซึ่งขึ้นชื่อว่าเป็นมหาอำนาจโลกอย่างสหรัฐฯ ก็กำลังเผชิญกับการที่ประชาชนชาวอเมริกันติดหนี้บัตรเครดิตในระดับที่สูงมาก และนับเป็นมูลค่าหนี้สินรวมกันมาที่สุดเป็นประวัติการณ์ไปเป็นที่เรียบร้อย
จากข้อมูลจของธนาคารกลางสหรัฐฯ สาขานิวยอร์ก เปิดเผยรายงานเกี่ยวกับหนี้ครัวเรือนรายไตรมาสของชาวอเมริกันว่า ในไตรมาสสุดท้ายของปี 2022 ยอดคงค้างบัตรเครดิต ในสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 61,000 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 2.013 ล้านล้านบาท เป็น 986,000 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 32.5 ล้านล้านบาท ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ แซงหน้าสถิติเดิมซึ่งอยู่ที่ 927,000 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 30.6 ล้านล้านบาท ในช่วงก่อนการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในไตรมาส 4 ปี 2019
5
รายงานดังกล่าวระบุเพิ่มเติมว่า ในไตรมาสที่ 4 ปีที่แล้ว ผู้ใช้บัตรเครดิตที่ชำระยอดการรูดบัตรล่าช้าอย่างน้อย 30 วัน พุ่งขึ้นแตะระดับ 5.9% จากช่วงก่อนหน้าที่ 5.2% ขณะที่เปอร์เซ็นต์ผู้ค้างชำระบัตรเครดิตขั้นรุนแรง หรือล่าช้า 90 วันขึ้นไป เพิ่มขึ้นแตะระดับ 4% ในไตรมาสเดียวกัน จาก 3.7% ในไตรมาสก่อนหน้า
1
โดยเฟดสาขานิวยอร์กเผยว่า “อัตราส่วนการผิดนัดชำระหนี้อาจปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในปีนี้”
3
สำนักงานคุ้มครองผู้บริโภคทางการเงิน หรือ Consumer Financial Protection Bureau (CFPB) เปิดเผยว่า อัตราดอกเบี้ยของบัตรเครดิตในสหรัฐได้เพิ่มขึ้นอย่างมากโดยอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยจะมากกว่า 20% จากแนวโน้มของชาวอเมริกัน 175 ล้านคนที่มีบัตรเครดิต ซึ่งประเมินได้ว่าหนี้บัตรเครดิตคงค้างอาจยังคงสร้างสถิติทะลุ 1 ล้านล้านดอลลาร์ในปีนี้
และด้วยอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยสําหรับบัตรเครดิตใกล้แตะ 21% ซึ่งเป็นระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ เป็นสิ่งที่ทำให้ผู้บริโภคมีความสามารถในการชำระหนี้นี้ยากขึ้น
2
สำหรับยอดคงค้างบัตรเครดิตเฉลี่ยต่อประชากรชาวอเมริกัน 1 คนเพิ่มขึ้นแตะระดับ 5,805 ดอลลาร์ต่อคน หรือประมาณ 191,565 บาท ขณะที่รายได้เฉลี่ยของชาวอเมริกันทั่วไปอยู่ระหว่าง 4,152 - 6,239 ดอลลาร์ต่อเดือน หรือประมาณ 130,000 - 200,000 บาทต่อเดือน
ยังไม่รวมหนี้สินอื่นๆ ที่ต้องแบกรับทั้งหนี้จากสินเชื่อบ้าน หนี้เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา และรายจ่ายเพื่อการยังชีพประจำเดือนที่แปรผันไม่ตามพื้นที่ของแต่ละเมือง แต่ละรัฐที่ไม่เท่ากัน
ในสภาวะที่จะต้องเผชิญกับอัตรเงินเฟ้อสูง และการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายอย่างต่อเนื่องของเฟด ทำให้รายได้ของประชากรในสหรัฐฯ ที่มองจากภายในนอกก็รู้สึกว่าค่อนข้างสูงอยู่แล้วเมื่อเทียบกับประเทศพัฒนาแล้ว หรือกำลังพัฒนาหลายประเทศทั่วโลก แต่ชาวอเมริกันส่วนใหญ่กลับมีรายได้ไม่เพียงพอต่อการใช้จ่าย
1
ผลก็คือชาวอเมริกันที่มีงานทำอยู่มากกว่าครึ่งเริ่มพิจารณาหา Second Job หรืองานที่สอง เพื่อหาเงินมาใช้จ่ายกับค่าครองชีพที่เพิ่มมากขึ้น
1
ดร.เบนจามิน เกรนเจอร์ หัวหน้านักจิตวิทยาด้านสถานที่ทำงานของ Qualtrics กล่าวว่า งบประมาณในครัวเรือนที่ตึงตัว ทำให้คนทำงานมองหาวิธีรับมือค่าครองชีพที่สูงขึ้นด้วยการหางานใหม่ ส่งผลให้อัตราการลาออกตอนนี้สูงกว่าช่วงก่อนเกิดโรคระบาด และผู้คนได้ให้ความสำคัญกับค่าตอบแทนมากที่สุด
2
ผลสำรวจบอกอีกว่า ชาวอเมริกันที่มีลูก 69% มองว่าค่าจ้างของพวกเขาไม่สอดคล้องกับค่าใช้จ่าย โดยมากกว่า 47% มองหางานที่สอง
1
ยิ่งชาวอเมริกันที่มีลูกยิ่งต้องเผชิญกับค่าใช้จ่ายที่สูงกว่าปกติ และมีแนวโน้มที่จะย้ายไปเมืองที่มีค่าใช้จ่ายถูกกว่า เพราะผลการศึกษาของ Brookings Institution คาดการณ์ว่าราคาสินค้าและค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้น ทำให้ปัจจุบันการเลี้ยงดูเด็กอายุ 17 ปี มีค่าใช้จ่ายมากกว่า 300,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 10 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 26,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือ 892,320 บาทนับตั้งแต่เกิดภาวะเงินเฟ้อ
9
ทั้งนี้ก็มีมุมมองจากผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินในสหรัฐฯ ให้มุมมองว่าเกี่ยวกับการแก้ปัญหาหนี้บัตรเครดิตว่า ยังมีทางเลือกในการแก้ปัญหาหนี้บัตรอยู่ หนึ่งในนั้นคือ “Zero-percent Balance Transfer” หรือแคมเปญที่รวบหนี้บัตรเครดิตของลูกค้าเป็นก้อนเดียวโดยไม่มีดอกเบี้ยหรือดอกเบี้ยต่ำมาก ซึ่งวิธีการนี้เป็น “อาวุธ” ที่ดีที่สุดที่ชาวอเมริกันมี เพื่อต่อสู้กับหนี้บัตรเครดิต
2
ในสภาวะที่โลกกำลังเผชิญกับวิกฤตเศรฐกิจและวิกฤตการเงิน สิ่งที่จำเป็นที่สุดคือการตระหนักรู้ว่าหนี้สินที่เกิดขึ้นเป็นสิ่งที่ยากต่อการรับมือ ฉะนั้นอาจจะไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะแก้ปัญหานี้สินเหล่านี้ เพราะคงเป็นเรื่องของพฤติกรรมส่วนบุคคล หรือกระบวนการให้ความรู้ทางการเงินจากหน่วยงานต่างๆ ที่ต้องสร้างการรับรู้ในเชิงลึกแก่ประชาชน และประชาชนเองก็ต้องเปิดสมอง ตัดความรู้(ดี) ที่ไม่รู้จริงของตัวเองออกไป เพื่อศึกษาเรื่องการเงินอย่างถูกต้อง
2
เพราะสุดท้ายแล้วปัญหาหนี้สิน หรือการใช้เงินเกินตัวจนเกิดปัญหาจะเป็นเหมือนงูกินหางไปเรื่อยๆ ไม่มีวันจบสิ้น และผลกระทบที่เกิดขึ้นก็จะเกิดกับตัวของคนๆ นั้นเอง
1
โฆษณา