22 เม.ย. 2023 เวลา 06:04 • หุ้น & เศรษฐกิจ

16 ความคิดเพื่อชีวิตคนไทย : สิ่งที่เป็น ปัญหาที่เห็น และประเด็นชวนคิด

การพูดคุยและถกเถียงในประเด็นนโยบายสาธารณะอย่างสร้างสรรค์นั้น จำเป็นต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของข้อมูล ผลการศึกษาทางวิชาการ และหลักการที่ถูกต้อง
3
สวัสดีปีใหม่ไทย พ.ศ.2566 แด่ผู้อ่านทุกท่านครับ หวังว่าทุกท่านคงจะได้เย็นชุ่มฉ่ำร่างกาย (จากการเล่นน้ำ) และชื่นฉ่ำหัวใจ (จากการรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่) ในเทศกาลสงกรานต์ท่ามกลางอากาศที่ร้อนระอุไปเรียบร้อย
ประจวบหมาะพอดีกับช่วงนี้ที่กำลังใกล้เข้าสู่การเลือกตั้งทั่วไปซึ่งมีบรรยากาศร้อนระอุไม่แพ้อุณหภูมิอากาศโดยบรรดาผู้สมัครรับเลือกตั้งต่างนำเสนอนโยบายด้านต่าง ๆ แก่ประชาชน ทำให้เกิดการพูดคุยและถกเถียงในประเด็นนโยบายสาธารณะกันอย่างกว้างขวาง และนี่ก็เป็นเรื่องปกติธรรมดาในสังคมระบอบประชาธิปไตยครับ
1
อย่างไรก็ดี การพูดคุยและถกเถียงในประเด็นนโยบายสาธารณะอย่างสร้างสรรค์นั้น จำเป็นต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของข้อมูล ผลการศึกษาทางวิชาการ และหลักการที่ถูกต้อง เพื่อจะนำไปสู่การออกแบบและดำเนินนโยบายที่แก้ไขปัญหาได้ตรงจุด ทำได้จริง คุ้มค่ากับต้นทุน และสามารถนำความเจริญมาสู่ประเทศและประชาชนอย่างยั่งยืนต่อไปได้
ผู้เขียน ซึ่งเป็นหนึ่งในคณะบรรณาธิการ (ร่วมกับ ดร.กฤษฎ์เลิศ สัมพันธารักษ์ ดร.โสมรัศมิ์ จันทรัตน์ และ ดร.ฐิติ ทศบวร) ของบทความพิเศษที่มีชื่อว่า “16 ความคิดเพื่อชีวิตคนไทย : สิ่งที่เป็น ปัญหาที่เห็น และประเด็นชวนคิด” ได้ช่วยกันเลือกประเด็นเชิงนโยบายที่สำคัญต่าง ๆ 16 ประเด็นอันเกี่ยวข้องกับความเป็นอยู่ของคนไทย และได้รับความอนุเคราะห์จากนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญในแต่ละด้าน
มาสรุป ‘สิ่งที่เป็น’ ในปัจจุบันจากข้อมูลและผลการศึกษาทางวิชาการ
1
เพื่อสะท้อน ‘ปัญหาที่เห็น’ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นปัญหาเชิงโครงสร้างที่มีมายาวนานและต้องการการแก้ไขอย่างเร่งด่วน
2
พร้อมนำเสนอ ‘ประเด็นชวนคิด’ ที่สาธารณชน สื่อมวลชน ผู้ดำเนินนโยบาย และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องสามารถนำไปประกอบการอภิปรายอย่างสร้างสรรค์ได้ วันนี้จึงขอฉายภาพให้ได้เห็นคร่าว ๆ ครับ
1
ประเด็นต่าง ๆ ทั้ง 16 ประเด็นในบทความนี้ชี้ให้เห็น ‘สิ่งที่เป็น’ ของเศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน 4 ประการที่ส่งผลต่อความกินดีอยู่ดีของคนไทย ได้แก่
1
(1) ความสามารถในการผลิตและการแข่งขันของเศรษฐกิจไทยลดลง ทั้งในภาคธุรกิจและภาคเกษตร ตลาดสินค้าและปัจจัยการผลิตบางชนิดถูกครอบงำโดยผู้มีอำนาจผูกขาด รวมถึงปัญหาคอร์รัปชันที่ได้กัดกร่อนความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
1
(2) ความสามารถในการรับมือกับผลกระทบต่างๆ ของเศรษฐกิจไทยมีข้อจำกัด ทั้งจากภัยพิบัติและมลพิษที่รุนแรงขึ้น ภูมิรัฐศาสตร์โลกใหม่ที่มีความไม่แน่นอนสูง และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
1
(3) เศรษฐกิจไทยกำลังเผชิญกับความท้าทายในเรื่องความยั่งยืนในระยะยาว ทั้งปัญหาสุขภาพของคนไทยจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง สังคมสูงวัย และการเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ ขณะที่หนี้ของทั้งภาครัฐและเอกชนพุ่งสูงขึ้น และ
2
(4) เศรษฐกิจไทยมีความเหลื่อมล้ำที่สูงขึ้น ทั้งความเหลื่อมล้ำของโอกาสและในการกระจายผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ
2
สถานการณ์ที่น่ากังวลเหล่านี้ล้วนเกิดจากการจัดสรรทรัพยากรในระบบเศรษฐกิจไทยที่ขาดประสิทธิภาพและขาดความเป็นธรรม ซึ่งสะท้อนถึง ‘ปัญหาที่เห็น’ ที่สำคัญ 3 ประการ ได้แก่
(1) ข้อจำกัดในการทำงานของระบบตลาดเสรี เช่น การศึกษาของแรงงานไม่ตรงกับความต้องการของตลาด ธุรกิจขนาดเล็กขาดโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนเพราะขาดข้อมูลและหลักประกัน ปัญหามลพิษจากฝุ่น PM2.5
1
(2) ข้อจำกัดของภาครัฐในการแก้ไขความล้มเหลวของระบบตลาด ทั้งการเลือกใช้นโยบายที่ไม่มีประสิทธิผล ผลประโยชน์ที่ได้ไม่คุ้มต้นทุนที่เสียไป การใช้นโยบายที่ลักลั่นซ้ำซ้อน นโยบายที่สร้างแรงจูงใจที่ผิดและก่อให้เกิดผลข้างเคียงอื่นๆ ที่ไม่พึงประสงค์ และ
1
(3) อุปสรรคที่เกิดจากภาครัฐ เช่น กฎเกณฑ์ที่ไม่จำเป็นและการทุจริตคอร์รัปชัน
2
เชิญอ่านต่อเกี่ยวกับประเด็นชวนคิด และรายละเอียดแต่ละประเด็นได้ที่
*บทความนี้เป็นความคิดเห็นส่วนบุคคล จึงไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับความเห็นของหน่วยงานที่ผู้เขียนสังกัด*
ผู้เขียน :
สุพริศร์ สุวรรณิก
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์
โฆษณา