22 เม.ย. 2023 เวลา 09:49 • ความคิดเห็น
ผมมองว่ามันเป็นแง่มุมของ
“การกระจายอำนาจด้วยเทคโนโลยี”
คุณจะเรียกมันว่า
“decentralisation”
หรือ
“privatisation”
ก็ได้
จุดประสงค์คือ
ประสิทธิภาพของระบบที่ดีขึ้น ย่อมนำมาซึ่งความอยู่รอดของคนส่วนรวมในสังคม ที่มีเงื่อนไขแห่งความไม่เท่าเทียมและความเหลื่อมล้ำเป็นข้ออ้าง และเป็นเครื่องมือดั่งเช่น สะพานที่ทอดยาวให้คนที่ได้เปรียบกลุ่มเล็กๆฉกฉวยผลประโยชน์จากโอกาสในการเข้าถึงอำนาจรัฐเพื่อตัวเองและลิ่วล้อ!
sydNEY: The Storiographer
1
สำหรับผม ทุกครั้งที่ผมผ่านไปในย่านตัวเมืองที่มี
“ตึกจอดรถ”
ตั้งอยู่ ผมมักนึกถึงพื้นดินขนาดใกล้เคียงกันในชนบทที่ห่างไกลแสนกันดาล ที่อย่างมากก็จะถูกใช้ในการเพาะปลูกพืชที่ปีๆหนึ่งคงสร้างรายได้ให้กับเจ้าของที่ดินได้ไม่เท่ากับ คนที่เป็นเจ้าของที่ดินขนาดเท่ากันแต่ที่ของเขาตั้งอยู่ในเมืองที่มีช่องทางด้านเศรษฐกิจดีกว่ามาก ด้วยเหตุผลของ
“การกระจุกตัวของความเจริญ”
ที่สร้างความได้เปรียบให้กับคนกลุ่มเล็กๆ เพียงไม่กี่กลุ่ม!
ซึ่งเมื่อ “ความเจริญก้าวหน้า” ทางเทคโนโลยีเติบโตขึ้น สิ่งนี้อาจมีส่วนช่วยกระจายอำนาจบางอย่าง หรือในทางตรงกันข้าม อาจถูกใข้ในการรวมศูนย์อำนาจบางอย่างได้
ผมขอวาดภาพดังนี้ครับ
“ฉากทัศน์ ๑”
1) เมืองใหญ่มีคนเยอะ
2) คนเยอะ—>ตลาดมีขนาดใหญ่
3) ตลาดขนาดใหญ่—>มีโอกาสเรื่องอาชีพมากกว่า
4) คนเมืองเล็ก ย้ายเข้า เมืองใหญ่
5) ราคาที่ดินในเมืองใหญ่ด้วยพื้นที่เท่ากัน ของเมืองใหญ่แพงกว่า ดังนั้นคนในเมืองใหญ่แค่ผันตัวเป็นผู้ให้เข้าอสังหาริมทรัพย์ก็รวยแล้ว
6) คนรวยในเมืองใหญ่ไปกว้านซื้อที่ดินที่ถูกกว่าในเมืองเล็กๆ คนในเมืองเล็กมีเงินเดือนใข้ชนเดือน ถ้าจะกลับไปเมืองเล็กๆ คนรวยจากเมืองใหญ่ก็เป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ในเมืองเล็กๆไปเยอะแล้ว!
ถ้าให้เรียกเป็นภาษาอังกฤษก็คงจะเรียกได้ว่า
modern day slavery
“ฉากทัศน์ ๒”
1) “ความแตกต่าง” ทำให้เกิด “การเคลื่อนไหว” ครับ
ลมเกิดจากอะไร?
พื้นที่ A อุณหภูมิ “สูง” ความกดอากาศ “ต่ำ”
พื้นที่ B อุณหภูมิ “ต่ำ” ความกดอากาศ “สูง”
อากาศจึงไหล (ลมพัด) จาก B —-> A
2) “เมืองใหญ่ๆ” มีโอกาสเยอะ คนใน “เมืองเล็กๆ” จึงย้ายไปหาโอกาสที่มีมากกว่าในเมือง ที่ดินในเมืองใหญ่ที่มีพื้นที่เท่ากับที่ดินในเมืองเล็ก แต่ราคาแพงกว่าหลายเท่านัก! เพราะกลไกอุปสงค์อุปทานต่างกัน
3) คนที่มีอำนาจก็อยากรักษาอำนาจไว้ คนไม่มีอำนาจก็ถูกกีดกันไม่ให้เข้าถึงอำนาจ
1
“มีอำนาจก็ใช้แสวงหาเงิน มีเงินก็เข้าถึงอำนาจได้สะดวก” ถ้าคุณเปลี่ยนกลไกนี้ได้ ความเหลื่อมล้ำจะไม่หมดไป แต่จะบรรเทาลงครับ
1
เพราะถ้า “แตกต่าง” มากๆ “พายุใหญ่” จะมาบ่อยขึ้นและรุนแรงขึ้น!
เราทุกคนคงทราบกันดีว่า
“ยาบางตัวต้องกินก่อนอาหารเพราะตัวยาจะออกฤทธิ์ดีในสภาพความเป็นกรดไม่มากก่อนที่เราจะกินอาหารตอนที่น้ำย่อยยังไม่ทำงาน”
“ประชาธิปไตย”
ก็เช่นกัน มันเป็นระบบที่ทำงานได้ดีมากเฉพาะในสถานการณ์ที่
“คนในสังคมมีความเท่าเทียมกันทั้งความรู้ความเข้าใจในสิทธิ์ของตัวเอง, โอกาสในการเข้าถึงทรัพยากรและอำนาจของตัวเอง
, และโอกาสทางเศรษฐกิจที่มองการผูกขาดเป็นบ่อเกิดแห่งความไม่เท่าเทียมและความเหลื่อมล้ำ”
ผิดจากนี้ไป
”ประชาธิปไตย”
ก็เปรียบได้กับการเอายาก่อนอาหารไปกินหลังอาหาร!
แล้วคนที่ขายยานั้นให้เราก็จะรำ่รวยมหาศาลและช่องว่างแห่งความเหลื่อมล้ำก็จะขยายตัวมากขึ้นจากรุ่นสู่รุ่นไปเรื่อยๆ
เพราะเราต้องซื้อยาจากเขาตลอด เนื่องจากกินเข้าไปเท่าไหร่ก็ไม่หายสักที!
เมื่อวานตอนที่ผมยืนล้างจานอยู่ ผมได้มีโอกาสฟัง debate จากทาง ThaiPbs
ชาวบ้านสนใจประเด็นการแก้ปัญหาคอรัปชั่นเป็นเรื่องใหญ่ที่สุด ลองดูนะครับ ว่า
“พวกเขา” คิดและพูดอะไรออกมา
ผมเองเป็นชาวบ้านธรรมดาๆ ก็ขอฝากนโยบายที่ผมคิดขึ้นมาดังนี้ครับ
> “ประชานิยมคือการตลาดอาบยาพิษ?”
> “แก้คอรัปชั่นทีต้นตอ ด้วยการสร้าง App!”
คำถามแบบบ้านๆสำหรับคนที่ชอบอ้างว่า
“ทั้งสี่ห้องหัวใจ มีแต่ประชาธิปไตย”
คือ
“ถ้าเป็นประชาธิปไตยจริงๆ
ทำไมต้อง ‘ผูกขาด’ แต่นามสกุลเดิมๆ ครอบครัวเดิมๆ พูดแนวเดิมๆ ลิ่วล้อหน้าเดิมๆ เที่ยวออกมาพูดอะไรเดิมๆ
1
โดยที่ปัญหาของประเทศเดิมๆ นอกจากจะไม่ถูกแก้ไขแล้ว ยังจะก่อตัวทวีความรุนแรงมากขึ้น!?”
1
ทำไม?!
> ข้อมูลจาก
“World Bank”
ที่มีชื่อว่า
“GINI index”
ที่มีคะแนนจาก 0-100 โดย
0 คือ เหลื่อมล้ำสุดขั้ว
100 คือ เท่าเทียมกันสุดขั้ว
ลองดูนะครับว่า
“บ้านเรา”
ที่มีประชาธิปไตยโดยที่คนส่วนใหญ่ของประเทศในยุค พ.ศ. 2475 ยังไม่ค่อยเข้าใจว่าคำๆนี้มี “ความหมาย” อย่างไรในปริบทของชีวิตของพวกเขา
จะมี GINI index เท่าไหร่?
จาก link ข้างล่างนี้
> คอรัปชั่นบ้านเรา
“ติดอันดับโลก”
โฆษณา