23 เม.ย. 2023 เวลา 13:08 • ดนตรี เพลง

[รีวิวอัลบั้ม] the record - boygenius >>> พลังแห่งมิตรภาพ

This is like supergroup therapy.
-สิ่งที่หนึ่งในสมาชิก Phoebe Bridgers ได้ให้นิยามไว้ในบทสัมภาษณ์กับ Pitchfork ร่วมกับ Julien Baker และ Lucy Dacus ผมพอเข้าใจเป้าประสงค์ของการรวมตัวเฉพาะกิจที่ไม่ได้มีแค่ทำเพื่อเอาสนุกอย่างเดียว แต่เป็นการร่วมวงเพื่อมาอัพเดทสารทุกข์สุขดิบ แชร์เรื่องราวของตัวเอง ซึ่งนั่นก็ทำให้คนฟังรู้สึกคุ้นๆกับเศษเสี้ยวเรื่องราวที่อาจจะค้างคาใจจากบทเพลงเก่าๆของแต่ละคน หรือการมีประสบการณ์ใหม่ที่อาจทำให้มองเพลงเดิมๆที่ผ่านมาไม่เหมือนเดิมอีกต่อไปก็เป็นได้
-ย้ำอีกทีว่า นิยามของ supergroup เป็นเหมือน side project การรวมตัวกันของศิลปินเดี่ยวที่ได้ปูเส้นทางตัวเองมาตั้งแต่แรกอยู่แล้ว รวมตัวเฉพาะกิจด้วยความถูกชะตาและมิตรภาพ ทำอะไรสนุกๆร่วมกัน แน่นอนว่าแฟนเพลงของแต่ละคนต่างคาดหวังการประสานพลังของสามสาวที่ต้องได้พลังงานที่มากกว่าของใครของมันอยู่แล้ว
-แต่การเปิดซิงด้วยอัลบั้มแรกในครานี้กลับทำสิ่งที่อาจจะสวนทางความคาดหวังของ fan base แต่ละคนด้วยการนำเสนอความเรียบง่ายบนพื้นฐานของการรวมตัวกันบำบัดทุกข์ บำรุงสุขของกันและกันเนี่ยแหละ ซึ่งต่างจากสามพี่น้อง HAIM ที่พวกเขาต้องร่วมหัวจมท้ายจริงจังในการบรรลุเป้าประสงค์ในแต่ละ era อยู่แล้ว
-Without You Without Them แทร็คเปิดอัลบั้มที่พวกเธอพร้อมคายทุกอย่างให้ผู้ฟังได้รับรู้ ประสานเสียง acapella สุดน่ารัก สานต่อธรรมเนียมเพลง Ketchum, ID แทร็คสุดท้ายจาก Self-Titled EP เป็นการสร้างบรรยากาศเป็นกันเอง ประหนึ่งมีเพื่อนมานั่งล้อมวงสังสรรค์ชวนร้องเพลงอย่างชื่นมื่น break the ice คลายความตึงเครียดเป็นการเริ่มต้น
3
Speak to me
Until your history's no mystery to me
Talk to me
Until the words run dry, we'll see eye to eye
Without You Without Them
-แค่ชื่ออัลบั้มง่ายๆเป็น the record คำนามทั่วๆไปเลย ไม่ต้องบัญญัติศัพท์เฉพาะเพื่อนิยามภาพรวมของอัลบั้ม แต่เรื่องราวในอัลบั้มแบ่งสัดส่วนทั้งเพลงแบบประสานพลังทรีโอ้เพื่อเล่าเรื่องเดียวกัน สลับกับการแตกแขนงเรื่องราวของใครของมัน ซึ่งอาจจะยากหน่อยสำหรับคนที่เพิ่งติดตามพวกเธอ อาจทำให้ไม่เก็ตในจุดเชื่อมโยงของเพลงก่อนหน้านั้นเพื่อปะติดปะต่อสิ่งที่พวกเธอได้ระบายออกมาได้แหล่มชัด เพราะเรื่องราวและสไตล์ของแต่ละคนแตกต่างอย่างเห็นได้ชัด
-อย่างไรก็ดีเรื่องราวของทั้งสามกลับมีจุดเชื่อมบางอย่างที่ได้มาซึ่งสำนวน “มองตากันก็รู้ใจ” มีเรื่องที่จุดติดให้ relate จนคันปากอยากจะเสริมมุมมองต่อเรื่องนั้น
-จุดร่วมที่พวกเธอพูดเป็นประจำเลยคือ self-value ความมีตัวตนในสายตาคนอื่น ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญของความมีอยู่ของรักแท้ที่พวกเธอไฝ่หานั่นเอง ซึ่งพวกเธอแต่ละคนมีรสนิยมทั้งเลสเบียนและ bisexual ปนๆกันอยู่แล้ว นั่นจึงทำให้ผมมโนถึงหน้าตาความรักของพวกเธอออกมาเป็นผู้หญิงมากกว่าผู้ชายเสียอีก
-เพลงที่แชร์มุมมองความรักเพื่อนสาวได้ชัดเจนอย่างปฏิเสธไม่ได้คือเพลง Emily I’m Sorry ซึ่งเป็นพาร์ทของ Phoebe Bridgers ที่ดังที่สุดในวงอย่างปฏิเสธไม่ได้ ซึ่งเกี่ยวโยงกับข่าวที่เคยสร้างความฮือฮาอยู่ช่วงนึง เหตุเกิดจากความสัมพันธ์ซับซ้อนกับสาวในชื่อเดียวกันกับเพลงอย่าง Emily Bannon ซึ่ง ณ ตอนนั้น Emily กำลังคบกับ Chris Nelson ในปี 2018 แล้วก็เลิกรากันในปี 2019 ในช่วง post-breakup Emily ก็ดันไปได้ดีกับ Phoebe จนเธอได้รับเชื้อเชิญให้ไปโผล่ในเอ็มวีเพลง Kyoto ด้วย
-ทว่าความสัมพันธ์ครั้งเก่าของ Emily ก็ใช่ว่าจะจบด้วยดี จากการที่ Phoebe แฉถึงพฤติกรรมของ Nelson ที่กระทำไม่ดีต่อ Emily ซึ่ง Phoebe ยืนยันว่าเห็นกับตา จน Nelson เป็นเดือดเป็นร้อนฟ้องกลับ Phoebe ที่ทำให้เขาเสื่อมเสียชื่อเสียงไปตามระเบียบด้วยค่าเสียหายสูงถึง 3.8 ล้านดอลล่าร์ สุดท้าย Phoebe ก็รอดตามกฏหมายปกป้องสิทธิ์อันพึงมี จนคดีฟ้องร้องนั้นถูกคว่ำลง
-สำหรับสไตล์เพลง Emily I’m Sorry ยังคงความ emo-folk แบบที่เราคุ้นเคยกันงานชุด Punisher ซึ่งกลายเป็นเอกลักษณ์ประจำตัวของฟีบี้ไปแล้ว และยังคงแชร์ถึงความรู้สึกผิดในความไม่สมบูรณ์แบบ เห็นได้บ่อยจนกลายเป็นความระทมอย่างนึงที่ทำให้ความรักใคร่ที่เกิดจากความสัมพันธ์ซับซ้อนที่มาได้ผิดเวลาเป็นอันต้องล่มและห่างเหินกันในที่สุด
-Not Strong Enough เพลงประสานพลังสามสาวก็มีมุมมองการด้อยค่าตัวเองที่บอกให้คนรักของพวกเธออย่าคาดหวังความวิเศษวิโสมากนัก ในขณะเดียวกันก็แอบประชดประชันสังคมชายเป็นใหญ่ด้วยวลี Always an angel, never a god ผู้หญิงมักถูกมองเป็นนางฟ้าซึ่งเป็นยศที่ต่ำกว่าพระเจ้าอยู่แล้ว ความเชื่อเรื่องพระเจ้าต้องเป็นผู้ชายเป็นความเชื่อที่ฝังลึกยากที่จะพลิกมุมมอง
-pop rock ของเพลงนี้น่าจะเข้าถึงง่ายสุด ด้วยกลิ่นอาย Road Music โลดแล่นติดหูง่าย สวนทางความคิดความอ่านที่สับสน พาร์ทท่อนฮุกของ Phoebe และ Julien ติดกลิ่นอายอิทธิพลคันทรี่ของ Sheryl Crow ชัดมาก ส่วน Lucy ปรับรสให้ emotional และประชดประชันถ่างไปไกลกว่ารสคันทรี่ของทั้งสองคน
-Cool About It มีแนวโน้มตัดเป็นซิงเกิ้ลถัดไป อคลูสติคโฟล์คซองสุดชิวล์น่าคล้อยตาม แต่ก็ยังคงน้อยเนื้อต่ำใจ เสแสร้งว่าไม่เป็นไร ทำเป็นคูล ลอยตัวไปกับความผิดหวังได้ ทั้งๆที่ในใจแม่งก็พัง ตัดไม่ขาด ไม่มูฟออน บางทีก็ยากที่จะเข้าใจอีกฝ่ายว่าคิดยังไงกับเรา เป็นสถานการณ์ที่ผู้ฟังสามารถ relate ได้ไม่ยาก
-Satanist ร็อคชวนโยกที่ตั้งคำถามถึงแนวคิดปรัชญา ที่คนเคร่งศาสนาหรือคนส่วนใหญ่มักจะไม่ยอมรับ ถ้าเรามีแนวคิดเหล่านั้น เขาหรือเธอทั้งหลายยังจะยอมรับในตัวตนของเราได้หรือไม่? Julian เป็นคนจุดประกายไอเดียนี้โดยได้แรงบันดาลใจจากการที่เธอได้ไปดูสารคดี Hail Satan แล้วเกิด self-doubt กับความคิดตัวเองที่ว่า เธอจะเข้าข่ายการเป็นคนลัทธิบูชาซาตานหรือไม่ ? ซึ่ง Julian เติบโตมาจากครอบครัวที่เคร่งศาสนาด้วย
-Phoebe ก็แชร์ถึงแนวคิดขบถส่วนตัวเกี่ยวกับอนาธิปไตย ส่วน Lucy ก็มีเชื้อแนวคิดสูญนิยม (Nihilism) ในเชิงไม่คิดอะไรมาก ถ้าไม่ยึดติดอะไรมาก เป็นเรื่องดีที่จะปล่อยใจให้โล่งบรรเทาที่สุด แต่ก็ไม่ได้แปลว่าไร้เป้าหมายในการใช้ชีวิต ไม่ค่อยมีศิลปินคนไหนแชร์ประเด็นที่ basic แต่ละเอียดละออแบบนี้มาก่อนเลยจริงๆ เป็นการเล่าออกมาในทางไม่ซีเรียส ทีเล่นทีจริง
-มาพูดถึงสไตล์ของแต่ละคนกันบ้าง เริ่มจาก Julien Baker สาวห้าวร่างเล็กสวนทางกับน้ำเสียงแหลมๆแบบสาวบ้านๆ เป็นตัวเปิดความเข้มข้นได้ดีในเพลง $20 ที่สร้างความ first impression เป็นการเบื้องต้นตั้งแต่การประกาศการมาของอัลบั้ม เป็นความพังค์ที่น่าจะซื้อใจทุกคนได้ไม่ยาก คอรัสที่แข็งแรง การว๊ากของฟีบี้ก็ช่วยเติมเต็มความขบถให้เพลง เป็นการเบิกทางออกไปผจญภัยด้วยเงินเพียง 20 Bucks
-เล่าประสบการณ์เกือบจมน้ำตายที่ชายหาดมาลิบูในเพลง Anti-Curse ซึ่งนั่นทำให้เธอไม่ได้รู้สึกหดหู่จนเก็บมาคิดอะไรมาก อย่างน้อยก็พึงระลึกได้ว่าโคตรมีความสุขที่ได้ใช้ชีวิตเต็มที่ ตายก็ไม่เสียดาย แค่อาจจะเป็น bad joke ให้เพื่อนๆขำไม่ออกก็เท่านั้น แต่ ณ ตอนนั้นเธอตัดสินใจที่จะว่ายน้ำกลับไป เป็นการฟาดเคราะห์ดีๆนี่เอง
-ในพาร์ทของ Lucy Dacus สาวอวบนุ่มนิ่มก็ถ่ายทอดความหนักแน่นมาเต็มเหมือนติดกลิ่นอายจากชุด Home Video ไม่จางในเพลง True Blue ที่แสดงความ royalty แบบแนบแน่น ราวกับตกผลึกนิยามความรักที่ดีต้องรู้หน้ารู้ใจได้ดีที่สุด
-สวนทางกับ We’re In Love ที่ช่างโหยหาและเหงาซะเหลือเกิน เป็นการเอื้อนเอ่ยภายใต้บัลลาดเปียโนที่งดงาม เคลิ้บเคลิ้มจนหยุดเวลา ทั้งๆที่ลูซี่เองใส่เจตนาแห่งความรักล้วนๆ แต่พอผมได้อ่านความเห็นทั้งฟีบี้และจูเลี่ยนที่รีวิวไว้ว่า เศร้าชิบหาย ซึ่งผมเห็นพ้องกับทั้งสองคนเลย ยิ่งส่อง lyrics ยิ่งอดระลึกถึงความเพ้อฝันที่ลมๆแล้งๆไม่ได้จริงๆ
-Lucy ก็ยังทดลองทำเพลงโฟล์คซองสั้นๆในเพลง Leonard Cohen เป็นการคารวะศิลปินโฟลค์ระดับตำนานในชื่อเดียวกันกับเพลงโดยหยิบ quote เพลง Anthem ที่กล่าวว่า “There’s a crack in everything, that’s how the light gets in” ถ้าไม่มีรอยรั่วใดๆเลย ก็คงไม่มีแสงส่องถึงด้านที่ดีได้ ทุกอย่างมีรอยตำหนิด่างพร้อยในตัว แต่นั่นก็ทำให้เป็นเอกลักษณ์ในบางอย่างเหมือนกัน ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดสูญนิยมที่เธอต้องการจะสื่อในแง่ของการไม่ยึดติดความสมบูรณ์แบบนั่นเอง
-ปิดท้ายด้วยคนที่ดังสุดในวงอย่าง Phoebe Bridgers ซึ่งผมก็ได้กล่าวข้างต้นไว้บางเพลงแล้ว ต้องบอกว่าคาแรคเตอร์ของ Phoebe เป็นความกึ่งกลางผสมปนเปกับสองคนนั้นจริงๆ ทั้งรสนิยมทางเพศที่ชายก็ได้หญิงก็ได้ ความห้าวขบถแบบแมนๆ มีมุมนุ่มนิ่มอ่อนโยนอยู่หน่อย ผมก็ได้แต่คิดจริงๆนะว่า กลไกของโลกมักจะเหวี่ยงคนที่เหมือนๆกับเรามาหมุนรอบวงโคจรของเรา boygenius คือตัวอย่างทฤษฎีเรื่องโชคชะตาจริงๆ
-Revolution 0 ฟีบี้ยังคงพูดถึง depression ที่กดทับให้รู้สึกเหนื่อยในการหายใจไปวันๆ ซึ่งนั่นทำให้เธอคิดได้ว่า อาการป่วยเรื้อรังเป็นอะไรที่โคตรทรมานกว่าการตายแล้วจบเสียอีก หลับตาแล้ววูบไปเลยจะดีกว่ามั้ย? ซึ่งก็สานต่อประเด็นจุดจบของโลกในเพลง I Know The End ที่ต่อให้โดนทำลายล้างก็ไม่กลัวอีกแล้ว แต่ในเพลงนี้ เธอเลือกที่จะลืมตาเพื่ออยู่กับปัจจุบันต่อไป
-Letter To An Old Poet เพลงภาคต่อ Me & My Dog ที่ว่าด้วย toxic relationship ที่เกิดความสับสนในความสัมพันธ์ที่บางทีอยากจะยื้อต่อ บางทีก็อยากหลีกหนีไปพร้อมกับหอบน้องหมาของเธอไปอยู่ในที่แสนไกลอย่างสงบสุข ซึ่ง ณ ตอนนั้น Max น้องหมาดำของเธอไปอยู่ดาวหมาแล้วเป็นที่เรียบร้อย
-แต่สำหรับเพลงภาคต่อนี้ดูเหมือนว่าเธอจะเริ่มหักล้างสิ่งที่เธอเคยเผชิญกับ toxic relationship ด้วยความรู้สึกตาสว่างที่คนรักเก่าในครั้งนั้นก็ไม่ได้มีดีห่าไรมาก ในขณะที่นิยามความสุขที่เธอต้องการนั้นยังคงเลือนลางเกินกว่าที่จะแหล่มชัด ซึ่งเธอเองก็รอคอยความชัดเจนเหล่านั้นอยู่เหมือนกัน
-ประโยควลีที่คล้องจอง ตัวโน้ตที่คุ้นเคย และ Outro ที่แซมเสียงบรรยากาศการแสดงสดเพลง Me & My Dog ที่ Brooklyn Steel เมื่อปี 2018 ป็นการฉายโมเมนต์ที่น่าจดจำลอยขึ้นมาในมโนสำนึกเพื่อพึงระลึกถึงความหลังที่จุดประกายความหวังที่ดีกว่าครั้งที่แล้วมาอย่างแน่นอน
-ยอมรับว่าตอนแรกแอบคาดหวังกับผลลัพธ์ของการประสานพลังที่น่าจะได้มากกว่านี้ แต่พอได้รับรู้ถึงเป้าประสงค์ที่ยกมากล่าวไว้ข้างต้น ผมก็พอเข้าใจในความเรียบง่ายของการกลับมารวมตัวประหนึ่งทำอะไรสนุกๆ แถมได้เล่าอะไรเพิ่มเติมในสิ่งที่ตัวเองได้เจอมา หลังจากที่แยกทางตามเส้นทางของตัวเอง ทั้งนี้มันเป็นการรักษามิตรภาพให้แนบแน่นในแบบที่จูงมือกันเดินทางเพื่อขับเคลื่อนความรักความฝันไปด้วยกัน
-ผลลัพธ์ที่ประจักษ์ให้เห็นถึงความงดงามของ Teamwork ความกลมเกลียวในการคราฟท์เรื่องอะไรก็ได้ที่ตัวเองอยากจะเล่า โดยที่ไม่โยงไปที่คนใดคนนึงจนเกินไป ไม่มีใครได้ซีนที่เหนือกว่า พวกเธอต่างคนต่างมีซีนแล้วมาบรรจบกัน สิ่งที่เพิ่มเติมคือความคิดความอ่านที่ตกผลึกชีวิตได้ลึกซึ้งกว่าที่แล้วมา จากที่เคยเป็นเด็กหัวขบถ มองอะไรก็ไม่พอใจ ไม่ได้ดั่งใจไปทุกสิ่ง จนถึงตอนนี้มีเหตุผลเพิ่มเติมเข้ามามาก นั่นทำให้การฟังบันทึกชุดแรกของสามสาวเกิดความรู้สึกโคตรสบายใจ และรู้สึกผูกพันในความสัมพันธ์
-ต่อให้แยกทางไปตามเส้นทางของตัวเอง ผมเชื่อว่าแฟนเพลงของใครคนใดคนนึงอยากที่จะตามเส้นทางทั้งสามสาวแบบครบถ้วนราวกับจักรวาลของสามสาวดันเป็นจักรวาลเดียวกันไปเสียแล้ว และผมก็อยากเห็นการกลับมารวมตัวที่เพิ่มเติมด้วยประสบการณ์ที่เก๋าขึ้นในบทบันทึกชุดถัดไปอย่างแน่นอน
Top Tracks: $20, True Blue, Cool About It, Not Strong Enough, Revolution 0, Satanist, We’re In Love, Letter To An Old Poet
Give 7.5/10
Thx 4 Readin’
See Y’all
โฆษณา