Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ซับศิลป์
•
ติดตาม
23 เม.ย. 2023 เวลา 18:12 • ศิลปะ & ออกแบบ
ไม่ใช่สตรีผู้สูงศักดิ์ แต่เป็นสาวใช้ในครัวที่ต่ำต้อย: ผลงาน The Milkmaid
ผลงาน The Milkmaid โดย Johannes Vermeer (โจฮาน เวอร์เมีย)
ในสมัยก่อนภาพวาดถือเป็นสิ่งฟุ่มเฟือย ผู้ครอบครองผลงานศิลปะล้วนแล้วแต่เป็นบุคคลที่มีฐานะ ศิลปินเองส่วนมากก็มักจะได้รับการอุปถัมถ์จากบุคคลเหล่านั้น ภาพที่จ้างให้วาดมักเกี่ยวข้องกับเรื่องทางศาสนา บุคคลในประวัติศาสตร์ หรือผู้สูงศักดิ์ แต่ในผลงาน “The Milkmaid” โดย โจฮาน เวอร์เมีย จิตรกรชาวดัตช์ได้วาดภาพสาวใช้ในครัวที่กำลังเทนมลงในภาชนะดินเผาอย่างระมัดระวัง
ภาพวาดที่แสดงถึงความธรรมดาสามัญนี้เป็นหนึ่งในภาพที่วาดให้แก่ผู้อุปถัมภ์ที่ร่ำรวยของเขา ไม่ได้วาดเพื่อจัดแสดงต่อสาธารณะ เวอร์เมียยังได้วาดภาพผู้หญิง (สาวใช้) อีกหลายภาพ และมักจะวาดขึ้นโดยมีพื้นหลังเป็นฉากภายในบ้าน บรรยายถึงชีวิตประจำวันของชาวเนเธอร์แลนด์ที่มีรายละเอียดน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง
ผลงาน “The Milkmaid” แสดงภาพหญิงสาวในชุดแบบดั้งเดิม สวมหมวกผ้าลินินสีขาว เสื้อคลุมสีเหลือง และผ้ากันเปื้อนสีน้ำเงิน แขนเสื้อของเธอถูกม้วนขึ้นเผยให้เห็นท่อนแขน เราจะสังเกตได้ว่าสาวใช้มีรูปร่างที่แข็งแรง ไม่ใช่คนสวยบอบบางดังนางในอุดมคติ เธอเป็นเพียงหญิงธรรมดา มีกล้ามเนื้อที่มาจากการทำงานหนักในครัว ด้านหน้าของเธอมีตะกร้าขนมปัง เศษขนมปัง และแจกัน ที่จัดวางไว้คล้ายกับการจัดหุ่นนิ่งเพื่อวาดภาพสีน้ำมันที่เป็นที่นิยมในขณะนั้น
นับตั้งแต่เริ่มต้นยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาในเนเธอร์แลนด์ หรือราวปี ค.ศ. 1400 ความหมายเชิงสัญลักษณ์ดั้งเดิมของสาวใช้ได้ถูกนำมาใช้ในผลงานเชิงอีโรติกอย่างตรงไปตรงมาที่ ทั้งนี้ยังมีสัญลักษณ์อื่นที่ปรากฏเพิ่มเข้าไปในภาพด้วย เช่น หัวหอม (ขึ้นชื่อว่ามีสรรพคุณกระตุ้นอารมณ์ทางเพศ) หรือเหยือกปากกว้าง (บ่งบอกลักษณะทางกายวิภาคของผู้หญิง)
1
นอกจากนี้ในวรรณกรรม และเรื่องเล่าของชาวดัตช์ เป็นที่ชัดเจนว่าสาวรีดนมวัว หรือสาวใช้มักเป็นภาพแทนของความปรารถนาทางเพศ และอารมณ์ใคร่ การปรากฏตัวของสาวรีดนมวัวหรือสาวใช้ในวรรณกรรมหรือภาพวาดใด ๆ จึงมักเกี่ยวข้องกับการถ่ายทอดความปรารถนาทางเพศของผู้ชาย
ในภาพ“The Milkmaid” เหยือกปากกว้างจึงเป็นสัญลักษณ์ของกายวิภาคของสตรี บนผนังกระเบื้องบนพื้นทางด้านซ้ายของที่วางเท้าเป็นรูปกามเทพซึ่งเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ความรัก ภาพบนกระเบื้องทางด้านขวาของเครื่องอุ่นเท้าคือภาพผู้ชายถือไม้พลองยาว เครื่องอุ่นเท้าเมื่อวางไว้ใต้กระโปรงจะทำให้ร่างกายใต้เอวอุ่นขึ้น ศิลปินจึงมักใช้เป็นสัญลักษณ์ของความเร้าอารมณ์ทางเพศของผู้หญิง
เช่นนั้นแล้วจึงสื่อได้ว่าหญิงสาวเองก็กำลังตกอยู่ในภวังค์รัก และกำลังนึกถึงชายคนรักของเธอเช่นกัน ทำให้ภาพสาวใช้รินนมของ เวอร์เมียหาได้ทำหน้าที่เป็นเพียงวัตถุกระตุ้นความใคร่ของผู้ชาย แต่สาวรีดนมของเวอร์เมียนั้นก็มีชีวิตจิตใจ และมีความปรารถนาของเธอเองเช่นกัน
1
-ซับศิลป์-
ที่มา
https://www.metmuseum.org/exhibitions/listings/2009/vermeer
https://www.ctpost.com/default/article/Vermeer-s-Milkmaid-cause-for-celebration-at-MMA-212061.php
https://joyofmuseums.com/museums/europe/netherlands-museums/amsterdam-museums/rijksmuseum/the-milkmaid-by-johannes-vermeer/
http://www.visual-arts-cork.com/famous-paintings/milkmaid.htm
2 บันทึก
6
6
2
6
6
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย