24 เม.ย. 2023 เวลา 03:19 • การศึกษา

เด็กสร้างสรรค์ MIT Maker

ในโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ธุรกิจถูก Disrupt ซ้ำแล้วซ้ำเล่า ธุรกิจต้องการคนที่จะเข้ามาช่วยหาธุรกิจใหม่ ช่วยพัฒนาการทำงาน จึงมีความต้องการแรงงานกลุ่มใหม่ที่มีความคิดสร้างสรรค์
แต่ในการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย การสอนแทบจะไม่ได้มีการสอนให้มีความคิดสร้างสรรค์เลย และการที่จะมาสอนให้คนที่ไม่มีให้มี เป็นเรื่องที่ทำได้ยาก โดยเฉพาะเวลาที่มีอายุมากขึ้น
แล้วมหาวิทยาลัยในต่างประเทศปรับตัวอย่างไรล่ะ มหาวิทยาลัยดังอย่าง MIT ที่ให้ความสนใจเรื่องนวัตกรรม และเทคโนโลยีมานานแล้ว ได้เห็นถึงปัญหาดังกล่าวเช่นกัน มหาวิทยาลัยจึงเริ่มต้นโครงการหนึ่งที่น่าสนใจที่เรียกว่า MIT Maker Portfolio มาตั้งแต่ปี 2013
โครงการนี้เปิดช่องให้เด็กที่เคยทำงานวิจัย หรือโครงการนอกชั้นเรียนให้มีโอกาสส่งผลงานที่ตัวเองทำ ไม่ว่าจะเป็นการแต่งเพลง การเล่นดนตรี การเต้น การเขียนบทละคร งานวิจัย หรือสิ่งประดิษฐ์ เข้าประกวด
โครงการนี้คงไม่แตกต่างกับ Portfolio ของเด็กไทยมากนัก เพียงแค่การแข่งขันเข้มข้นกว่ามาก และมหาวิทยาลัยคัดเลือกเด็กกลุ่มนี้ด้วยความจริงจังมาก จึงทำให้ MIT ได้เด็กที่เก่ง และมีความคิดสร้างสรรค์ไปเป็นจำนวนมาก และเป็นแรงผลักดัน และจูงใจให้เด็กนักเรียนคนอื่นต้องพยายามคิดสร้างสรรค์มากขึ้นตามไปด้วย
1
แต่หนึ่งในปัญหาที่เกิดขึ้นก็คือ สัดส่วนของผู้ชายและผู้หญิงในการส่ง Portfolio เข้าโครงการ MIT Maker Portfolio หลังการดำเนินงานมานาน MIT พบว่า คนที่ส่งผลงานเข้าโครงการนี้มักจะเป็นผู้ชายมากกว่าผู้หญิงในเกือบทุกประเภทของการประกวด ถึงแม้ว่าจะมีความพยายามทำให้เด็กผู้หญิงมีความสนใจทางด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีมากขึ้น อย่างเช่นโครงการ http://girlswhocode.com/ แล้วก็ตาม
1
ผลงานบางชิ้นที่เด็กส่งเข้ามาเรียกได้ว่าไม่ธรรมดาเลย บางชิ้นขนาดนักวิจัยยังไม่สามารถทำได้ง่ายๆ เลยก็มี
ใครที่สนใจลองอ่านเพิ่มได้ที่ : https://bit.ly/3UZOmWS
และดูตัวอย่างของ Portfolio ได้ที่
โฆษณา