ระหว่างทางจากตักศิลาไปละฮอร์มีป้อม Rohtas สร้างโดยพระเจ้า Sher Shah Suri แห่งอาณาจักร Sur จากอัฟกานิสถาน และเป็นมรดกโลกในฐานะที่เป็นแบบอย่างสถาปัตยกรรมมุสลิมเพื่อการทหารที่โดดเด่นในเอเชียใต้ ส่วนละฮอร์มีทั้งป้อมปราการและมัสยิดที่เป็นร่องรอยความรุ่งเรืองมั่งคั่งของจักรวรรดิโมกุล
รูปแบบสถาปัตยกรรมของ Lahore Fort คล้ายกับ Red Fort ที่นิวเดลี คือ แบ่งพื้นที่ตามการใช้งาน เช่น ท้องพระโรงสำหรับให้ขุนนางเข้าเฝ้า ที่ประทับของจักรพรรดิ และส่วนที่เป็นที่พักอาศัยของฝ่ายใน ลักษณะอาคารเป็นทรงเรขาคณิตสมมาตร มีสวนที่ตกแต่งด้วยไม้พุ่มและน้ำพุตามแบบเปอร์เซีย ซึ่งมีอิทธิพลทางวัฒนธรรมอย่างมากต่อจักรวรรดิโมกุล อาทิ การใช้ภาษาเปอร์เซียในราชสำนัก ส่วนชาวบ้านใช้ภาษาฮินดี
ดังนั้น ภาษาฮินดี เบงกาลี และอูรดูจึงมีคำยืมจากภาษาเปอร์เซียหลายคำ เช่น sipahi ที่แปลว่าทหาร ในภาษาเบงกาลีออกเสียงว่า ซีปอย เป็นที่มาของชื่อกบฏซีปอยเมื่อปี ๒๔๐๐ ซึ่งเป็นการลุกฮือของนายทหารท้องถิ่นชาวฮินดูและมุสลิมในสังกัดบริษัท British East India
เพราะกัลกัตตาเคยเป็นศูนย์กลางของบริษัท British East India ในการปกครองอังกฤษก่อนจะย้ายไปเดลี และในบังกลาเทศก็มีเมือง Sonargaon ซึ่งเคยเป็นศูนย์กลางการส่งออกฝ้ายและมัสลินไปยุโรปจนเป็นแหล่งรายได้หลักของเบงกอล แต่โดยที่เบงกอลตะวันออกเป็นเพียงหัวเมืองรองของจักรวรรดิโมกุล จึงไม่มีป้อมปราการหรือเมืองเก่าที่ยิ่งใหญ่อลังการเท่าละฮอร์ เดลี หรืออักรา
กัลกัตตาเคยเป็นศูนย์กลางของบริษัท British East India ในการปกครองอังกฤษก่อนจะย้ายไปเดลี และในบังกลาเทศก็มีเมือง Sonargaon ซึ่งเคยเป็นศูนย์กลางการส่งออกฝ้ายและมัสลินไปยุโรปจนเป็นแหล่งรายได้หลักของเบงกอล
Lahori Gate เป็นทางเข้าหลักสู่ Red Fort ที่นิวเดลี คนสัญชาติประเทศสมาชิกบิมสเทครวมทั้งไทยสามารถซื้อบัตรเข้าชมโบราณสถานในอินเดียได้ในราคาที่มีส่วนลด โดยต้องแสดงหนังสือเดิน