25 เม.ย. 2023 เวลา 08:29 • ไอที & แก็ดเจ็ต
สมัยที่ผมอยู่ในวัยเรียน ผมมักไปเดินดูหนังสือและ magazines เกี่ยวกับรถยนต์ที่ร้าน
“Kinokuniya”
เมื่อดูหนังสือรถยนต์จนพอใจแล้ว ผมก็จะเดินดูหนังสือแผนกอื่นๆอีก
จนกระทั่งผมได้พบหนังสือเล่มหนึ่งที่ผมจำชื่อคร่าวๆได้ประมาณว่า
“Apple: The Cult Products”
ครับ
“Cult” ก็แปลว่า “ลัทธิ”
ตามความเข้าใจของผม
และไม่ใช่ว่าสินค้าทุกอย่างจะมี “positioning” ที่จะเป็น “Cult” ได้!
เท่าที่ผมเคยได้ยินมา สินค้ามีอยู่สองประเภทใหญ่ๆคือ
1) commodities คือสินค้าที่ไม่ว่าผู้ผลิตจะเป็นเจ้าไหน สินค้าแต่ละเจ้าแทบจะไม่แตกต่างกันในเชิงคุณภาพ เช่น นำ้ตาลทราย หรือ เกลือ เป็นต้น และแต่ละเจ้าจะแข่งขันกันเรื่องราคาเป็นหลัก
2) differentiated products คือสินค้าที่เน้นเรื่อง Styles หรือจะเรียกว่าใช้ brands ในเชิงการตลาด ซึ่งสินค้าประเภทนี้ ไม่ได้มุ่งเน้นตัดราคาขายกันเพื่อเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาด เช่น สินค้า fashion เสื้อผ้ากระเป๋ารองเท้า, ไวน์ เป็นต้น จะเน้นความแตกต่างเชิงคุณภาพและ brand loyalty
กรณีศึกษาที่ผมสนใจเกี่ยวกับ
“Steve Jobs” กล่าวคือ
เรื่องราวของ RDF หรือ
“Reality Distortion Field”
เรื่องมีอยู่ว่า
ราวปี ค.ศ. 1984 คือช่วงที่ Apple มีการพัฒนาเครื่องคอมพิวเตอร์
“ Macintosh”
SJ ขอให้วิศวกรท่านหนึ่งในทีมพัฒนา Mac ลดเวลาการ boot เครื่อง (boot time) ลง 10 วินาที
วิศวกรคนนั้นตอบสวนกลับทันทีว่า
“มันเป็นไปไม่ได้!”
SJ จึงเปลี่ยนมุมมองต่อปัญหาใหม่ว่า
“ถ้าการที่คุณทำให้เครื่อง Mac ลดเวลา boot ลงได้ 10 วินาที แล้วสิ่งนี้สามารถช่วยชีวิตผู้คนได้
คุณจะทำได้มั้ย?”
วิศวกรคนนั้นตอบว่า “ทำได้”
และอีกไม่กี่อาทิตย์ต่อมา เขาได้เขียนโปรแกรมใหม่ และสามารถลด boot time ได้ถึง 28 วินาที!
หรือแม้แต่ตัวเครื่อง iPhone เอง
ผมเคยได้ยินมาว่า
มันถูกผลิตจาก “แท่งอะลูมิเนียม” ตันทั้งแท่ง (Solid Aluminium Blocks)
นำมาผ่านกระบวนการ “กัด” หรือ “Milling” ด้วยเครื่อง CNC จนเหลือแต่ขอบที่ใช้เป็นตัวโครงของ iPhone
ทั้งหมดทั้งมวลผมมองว่ามันเป็นเรื่องของ “กฎแห่งแรงดึงดูด”
คือ
ถ้าเจ้าของสินค้าซึ่งในที่นี้ผมยกให้เป็น
“Steve Jobs”
ผู้ซึ่งมี “ความหลงใหล” (Obsession) ในตัวสินค้าที่เขาตั้งใจนำเสนอออกสู่ตลาด
ลูกค้าเองก็สามารถรับรู้และสัมผัสถึงพลังนั้นได้
และนี่เองที่สินค้าของ Apple มีแรงดึงดูดให้ลูกค้าที่มีความหลงใหลเช่นกัน ต้องการเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของ
“ลัทธิ”
ที่มีผู้นำที่มีความเข้มแข็งและมีความชัดเจนและเต็มเปี่ยมไปด้วยความเชื่อมั่นศรัทธาในสินค้าที่ตัวเองนำเสนอ
ดังนั้น ลูกค้าของ Apple จึงมิได้เป็นเพียงกลุ่มคนที่ต้องการสินค้า IT ไปใช้งาน
หากแต่พวกเขาและเธอต้องการเป็นส่วนหนึ่งของ “ลัทธิ” โดยการสนับสนุนสินค้าจาก Apple ที่เปรียบได้กับการอุทิศตัวเองเป็น
“สาวก” ของ Apple
และผลิตภัณฑ์จาก Apple ก็มิได้เป็นเพียงสินค้า IT ทั่วไป
หากแต่มันเป็น
“Statement”
ที่เหล่า “สาวก” ของ Apple ใช้สื่อสารให้คนจาก “เผ่า” อื่นๆได้รับรู้ไว้ว่า
“พวกเราเป็นใคร!”
โฆษณา