25 เม.ย. 2023 เวลา 13:38 • ธุรกิจ

#SOAR Analysis คืออะไร?

#SOAR เป็นกรอบการวางแผนเชิงกลยุทธ์(strategic framework) ที่มีแนวทางที่มุ่งเน้นให้ความสำคัญที่่จุดแข็ง(strength) และพยายามที่จะทำความเข้าใจระบบทั้งหมด (whole system) โดยการรวมเสียงของลูกค้า (voice of customer) และที่เกี่ยวข้องกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (stakeholder)
การสื่อสาร SOAR จะเน้นที่แนวคิดเชิงกลยุทธ (strategic thinking) การมุ่งสู่อนาคต การสร้างความร่วมมือกับผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียในความสำเร็จขององค์กร การสร้างความเข้าใจและความมุ่งมั่นต่อแผนปฏิบัติการ
SOAR คือการสื่อสารผ่านศูนย์กลาง ว่า สิ่งที่องค์กรดำเนินไปอย่างถูกทิศทาง ทักษะความชำนาญใดที่ถูกต้อง และสิ่งใดคือ สิ่งที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย สนใจในด้านความสำเร็จขององค์กร
SOAR คือ "... แนวทางเชิงบวกในการคิดเชิงกลยุทธ์และการวางแผนที่ช่วยให้องค์กรสามารถสร้างอนาคตผ่านการทำงานร่วมกันความเข้าใจร่วมกันและความมุ่งมั่นที่จะลงมือทำ" (Stavros, J. & Hinrichs, G. (2009))
#Strengths: What can we build on?
จุดแข็ง: เราสร้างอะไรได้บ้าง?
#Opportunities: What are our stakeholders asking for?
โอกาส: ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของเราต้องการอะไร?
#Aspirations: What do we care deeply about?
ความทะเยอทะยาน: เราสนใจอะไรอย่างลึกซึ้ง?
#Results: How do we know we are succeeding
ผลลัพธ์: เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเราประสบความสำเร็จ?
ด้วยการใช้การวิเคราะห์ SOAR องค์กรจะมุ่งเน้นไปที่สิ่งที่พวกเขาทำได้ดีสิ่งที่สามารถปรับปรุงได้ และสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
การใช้แนวทาง SOAR ทำให้แผนกลยุทธ์ (Strategic Plan) มีแนวคิดขับเคลื่อน (Dynamic) ความคิดสร้างสรรค์(Creative) และความคิดที่เหมาะสม ยืดหยุ่น (Optimization) มากขึ้น
SOAR ใช้การสัมภาษณ์ หาข้อมูลรายละเอียดเพิ่มเติม (appreciative Inquiry)
ซึ่งเป็นแนวทางในการวิเคราะห์และการเรียนรู้ขององค์กร(Organization analysis and learning)
- ความมุ่งมั่นที่จะค้นหา ความสำเร็จขององค์กร
(Intended for discovering)
- การทำความเข้าใจและส่งเสริมการคาดการณ์นวัตกรรมที่สามารถทำมาประยุกต์ใช้
(understanding and fostering innovations)
- การจัดระเบียบรูปแบบการทำงานขององค์กรและกระบวนการขององค์กรต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
(social organizational arrangements and processes)
โฆษณา