27 เม.ย. 2023 เวลา 13:47 • หนังสือ

EP.2 Part.1 : “ the four ”

ก่อนอื่นต้องบอกเลยครับว่าหนังสือ “ the four ” เล่มนี้ ตรงกับคำโปรยบนหน้าปกที่เขียนไว้ว่า “เปิดโปงด้านสีเทาของ 4 พ่อมดไอที” อย่างมากครับ หรือผู้อ่านบางท่านอาจจะไม่เห็นว่าว่าเป็นสีเทา แต่เห็นว่าเป็นสีเทาแก่หรือสีดำก็ได้นะครับ และสำหรับคนในยุคปัจจุบัน
ผมเชื่อว่าคนส่วนใหญ่น่าจะรู้จัก หรืออย่างน้อยก็น่าจะเคยได้ยินชื่อเหล่าพ่อมดทั้ง 4 ของวงการไอทีที่ชื่อ amazon, apple, facebook และ google อย่างแน่นอน ซึ่งผู้เขียนคือ คุณสก๊อตต์ แกลโลเวย์ ได้มีประสบการณ์ตรงที่ขึ้นกับคุณสก๊อตต์เอง โดยที่เขาเป็นศาสตรจารย์สอนในมหาวิทยาลัย ที่ปรึกษาด้านการตลาด รวมถึงเป็นนักธุรกิจ ซึ่งเป็นประสบการณ์ที่ไม่ค่อยดีกับบริษัทไอทีดังกล่าว
โดยส่วนตัวแล้วผมเคยได้ยินมาบ้างกับข่าวในแง่ลบกับบริษัทใหญ่ๆ ทั้งหลายในตลาด ซึ่งเชื่อว่าคงไม่ได้มีแค่ข่าวที่เราๆ ท่านๆ ได้ยินได้ฟังกันมา (ก็คงเป็นเหมือนบริษัทใหญ่ๆ ในบ้านเรา) ว่าข่าวในแง่ลบจะค่อนข้างถูกปกปิดไม่ให้เป็นข่าวดัง แต่ในหนังสือเล่มนี้ก็จะเจาะลึกลงไปว่ามีเรื่องราวอีกด้านซึ่งบางเรื่องจากความเห็นส่วนตัวผมมองว่าไม่ใช่สีเทาแต่เป็นสีดำครับ
แต่ก็ไม่มีใครทำอะไรได้ รวมถึงกฎหมายของประเทศก็ตาม แต่ก็มีแง่มุมทางธุรกิจที่น่าสนใจไม่น้อยครับ ว่าทำไมพ่อมดไอทีทั้ง 4 นี้สามารถผงาดอยู่ในวงการนี้ได้ (ลืมบอกไปครับ ว่าในตอนที่ 1 คุณสก๊อตต์มีคำอธิบายไว้ครับ ว่าทำไมถึงเรียกบริษัทไอทีทั้ง 4 ว่าเป็นพ่อมดครับ)
ผมขอเริ่มที่พ่อมดตัวแรกของวงการไอทีครับคือ amazon ของคุณเจฟฟ์ เบซอส ซึ่งเป็นบริษัทค้าปลีกบนอี-คอมเมิร์ซที่ใหญ่ที่สุด โดยเริ่มต้นจากแค่เป็นร้านขายหนังสือออนไลน์ในยุคเริ่มต้นธุรกิจ แต่ด้วยวิสัยทัศน์, ความมุ่งมั่นใจ และความสามารถในการมองภาพธุรกิจในอนาคต และที่สำคัญอีกประการคือ ความสามารถในการเจรจา ซึ่งสามารถระดุมมาขยายธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งกว่าจะมีกำไร amazon ต้องใช้เวลาถึง 7 ปีที่เดียวครับ กว่าที่เราๆ ท่านๆ จะเห็น amazon ย่ิงใหญ่อย่างในปัจจุบัน
ความน่ากลัวแรกของ amazon แรกก็คือ การกินรวบครับ คือจะไม่เหลือคู่แข่งในตลาดที่สามารถต่อกรกับ amazon ได้นั่นเอง ทำให้คู่แข่งทางรายได้ลดลงและขาดทุนไปเอง เนื่องจากลูกค้าไปซื้อสินค้าจาก amazon เพิ่มมากขึ้น ส่ิงที่ต่อขยายสำหรับการลดต้นทุนคือ
การใช้ระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์เข้ามาแทนที่คน ซึ่งเป็นความน่ากลัวอย่างที่สอง สำหรับเราๆ (แต่โชคดีที่เกิดขึ้นในอเมริกา แต่ก็ไม่แน่ครับ บ้านเราก็มีค้าปลีกเจ้าใหญ่อยู่เช่นกันครับ) ซึ่งก็จะทำให้เกิดการว่างงานมากขึ้นในระดับ 100,000 อัตรา
อันดับถัดมานอกจากการกินรวบในธุรกิจค้าปลีกแล้ว ยังจะขยายต่อไปในธุรกิจซัพพลายเชนท์ คือการขนส่งต่างๆ และการสร้างโกดังสินค้าขนาดใหญ่ เพื่อความสามารถในการดำเนินธุรกิจและเป็นการป้องกันให้คู่แข่งเข้ามาแข่งในตลาดดังกล่าวด้วย อีกทั้งยังมีการขยายไปยังธุรกิจอื่นๆ อีกด้วย
พ่อมดตัวถัดมาคือ apple ซึ่งมีผู้ก่อตั้งคือ คุณสตีฟ จ๊อบส์ และคุณสตีฟ วอร์นิแอก ก่อนอื่นต้องออกตัวอีกครั้งว่าจริงๆ ผมก็เป็นสาวก apple เช่นกันไม่ได้มีอคติใดๆ กับ apple ทั้งสิ้น (เพราะคอมพิวเตอร์ที่ใช้เขียนบล๊อกนี้ก็ใช้ macbook เช่นกันครับ)
แต่ตามคำโปรยเช่นเดิม “เปิดโปงด้านสีเทาของ 4 พ่อมดไอที” คุณสก๊อตต์ บอกไว้ว่า apple นั้นปฏิเสธที่จะปฏิบัติตามกฎหมาย และคุณสก๊อตต์ก็ได้รับเชิญไปพูดถึงในกรณีดังกล่าว ต่อไปได้มีจดหมายว่ากล่าว ด่าทอถึงคุณสก๊อตต์หลายฉบับ ลองตามอ่านกันดูนะครับ ว่าเป็นเรื่องอะไร ด้วยความที่เป็นเจ้าตลาดทำให้ apple มีอำนาจและเหมือนเป็นบริษัทที่มีสาวกจำนวนมากปกป้องอยู่
โดยธุรกิจของ apple ทุกคนคงทราบดีว่าเริ่มต้นจากคอมพิวเตอร์ แล้วต่อยอดไปที่สินค้าตัวอื่นๆ รวมถึงการปฏิวัติวงการเพลง ซึ่งในคุณสก๊อตต์ได้ให้ข้อมูลว่า มีอำนาจที่ทำให้มีกฎหมายที่เอื้อประโยชน์ให้กับ apple ซึ่งยิ่งทำให้ apple ยิ่งมีความสามารถเหนือคู่แข่งยิ่งขึ้นไปอีก และผู้อ่านคงเคยได้ยินได้ฟังถึงความสามารถในออกแบบ การนำเสนองานของคุณสตีฟ จ๊อบส์
แต่ก็มีอีกด้านทีใช้อำนาจบาดใหญ่ที่กระทำกับพนักงานในบริษัทของเขาเช่นกัน
การที่แอปเปิลสามารถก้าวขึ้นมาเป็นบริษัทแถวหน้าของบริษัทไอทีได้ ก็มีผลมาจากความสร้างสรรค์ ในการออกแบบและความสามารถด้านการตลาด ซึ่งทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าได้ใช้สินค้าในระดับพรีเมี่ยม แต่อีกเช่นกัน apple ก็สามารถสร้างกำไรได้มหาศาล หลังจากที่เปิดตัวสินค้าหลักทั้ง (iPod, iPhone และ iPad) เมื่อรายได้มากก็มีปัญหาเรื่องการหลบเลี่ยงภาษีอีกเช่นกัน
แต่ด้วยความที่ apple มีจุดแข็งในการที่เปลี่ยนภาพลักษณ์จากสินค้าไอทีทั่วไป เป็นแบรนด์ที่แสดงถึงความหรูหรา (ปัจจุบันอาจเรียกชิคและคูล) ซึ่งทำให้เป็นแบรนด์ที่แข็งแกร่งขึ้น เหมือนมีกำแพงเมืองหรือคูเมืองที่แข็งแกร่ง ปกป้องการรุกรานจากบริษัทคู่แข่งอื่นๆ ที่จะเข้ามาในตลาด อีกกำลังป้องกันถูกสร้างขึ้นด้วยร้านค้า apple’s store ที่เมื่อคู่แข่งจะสร้างต้องใช้เวลาและงบประมาณอีกไม่น้อยเลยทีเดียว
สำหรับตอนหน้าก็จะมาเล่าให้ฟังถึงพ่อมดอีกสองตัวคือ facebook และ google จาก “ the four ” ครับ มาติดตามกันว่ามีอะไรที่น่าสนใจบ้างครับ
ขอให้มีความสุขกับการอ่านหนังสือ “ the four ” นะครับ
ขอบคุณท่านผู้อ่านที่ติดตามอ่านครับ พบกันใหม่ตอนหน้าครับ
KeY_MaN
โฆษณา