ดังนั้น ผู้บริหารต้องตัดสินใจเลือกทางเลือกที่ใช้ทรัพยากรที่มีจำกัดนั้นให้เกิดกำไรสูงสุด โดยพิจารณาจากกำไรส่วนเกินต่อหน่วยของทรัพยากรที่จำกัด (Contribution Margin Per Unit of the Scarce Resource)
ตัวอย่างเช่นบริษัทแห่งหนึ่ง ผลิตสินค้า 2 ชนิด คือ สินค้า A และสินค้า B โดยมีข้อมูลเกี่ยวกับราคาขาย ต้นทุนและกำไรของสินค้าทั้ง 2 ชนิดเป็นดังนี้
อัตรากำไรส่วนเกิน คือ กำไรส่วนเกินของสินค้าคิดเป็นร้อยละเท่าใด เมื่อเทียบกับยอดขายหรือราคาขายสินค้านั้นๆ จึงคำนวณได้จาก (กำไรส่วนเกิน ÷ ยอดขาย) x 100
ดังนั้นสินค้า A จึงมีอัตรากำไรส่วนเกินเท่ากับ (24 ÷ 60) x 100 = 40% และสินค้า B มีอัตรากำไรส่วนเกินเท่ากับ (30 ÷ 50) x 100 = 60%
จากข้อมูลข้างต้น ในกรณีที่ตลาดมีความต้องการสินค้า A และสินค้า B ไม่จำกัด กิจการควรผลิต สินค้า B ให้มากที่สุด เพราะมีกำไรส่วนเกินต่อหน่วยและอัตรากำไรส่วนเกินสูงกว่าสินค้า A ดังนั้น การขายสินค้า B จะทำให้กิจการมีกำไรดีกว่าการขายสินค้า A อยู่หน่วยละ 6 บาท (30 บาท - 24 บาท
แต่ในกรณีที่สินค้า A และสินค้า B ผลิตจากเครื่องจักรชนิดเดียวกันและกิจการมีชั่วโมงเครื่องจักรเพียงเดือนละ 20,000 ชั่วโมง การตัดสินใจเลือกผลิตสินค้าชนิดใดนั้นจะต้องพิจารณาถึงกำไรส่วนเกินที่จะได้จากชั่วโมงเครื่องจักรที่มีอยู่จำกัดนั้นแทนที่จะพิจารณาจากกำไรส่วนเกินต่อหน่าย
สินค้า A ให้กำไรส่วนเกินต่อชั่วโมงเครื่องจักรที่มากกว่าสินค้า B เนื่องจากใช้เวลาในการผลิตน้อยกว่าสินค้า B ดังนั้นกิจการควรผลิตและขายสินค้า A ให้มากที่สุดเท่าที่ตลาดมีความต้องการ หากกิจการมีจำนวนชั่วโมงเครื่องจักรที่เหลือจากการผลิตสินค้า A แล้วจึงค่อยนำมาผลิตสินค้า B เพื่อให้กิจการสามารถทำกำไรในภาพรวมให้มากที่สุด