29 เม.ย. 2023 เวลา 15:38 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี

บนดวงจันทร์มีรอยเท้าของนีล อาร์มสตรอง และขี้ 96 ถุง

กว่าครึ่งศตวรรษที่ผ่านมา โครงการอะพอลโลได้พานักบินอวกาศ 12 ชีวิตเหยียบสู่พื้นผิวของดวงจันทร์ พิภพลึกลับที่อารยธรรมมนุษย์ในยุคก่อนได้แต่แหงนหน้ามองมานับนับสหัสวรรษ
มีสิ่งของมากมายหลงเหลืออยู่บนพื้นผิวของดวงจันทร์ ไม่ว่าจะเป็นชิ้นส่วนของยานอวกาศ รถโรเวอร์ อุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ที่บางชิ้นก็ยังคงถูกใช้จนถึงทุกวันนี้ รวมไปถึงขยะหลากหลายประเภทที่ถูกทิ้งไว้เพื่อลดน้ำหนักของยานให้สามารถพานักบินอวกาศกลับสู่วงโคจรได้ และหนึ่งในนั้นก็คือถุงบรรจุอุจจาระ ปัสสาวะ และอาเจียนของนักบินอวกาศรวมแล้วทั้งสิ้น 96 ถุง
9
ถุงบรรจุของเสียเหล่านี้มีอยู่หลายประเภทตามลักษณะการใช้งานที่ต่างกัน อย่างในเวลาปกติ หรือระหว่างการทำภารกิจนอกยาน แต่ประเภทที่โดดเด่นและถูกนำมาพูดถึงมากที่สุดคือถุงพลาสติกที่มีชื่อว่า Fecal Containment Device
1
ถุงประเภทนี้ถูกออกแบบมาเพื่อใช้ในระหว่างที่นักบินอวกาศอยู่ในสภาวะแรงโน้มถ่วงต่ำ หรือก็คือเกือบทั้งหมดของภารกิจ ฝาถุงดังกล่าวมีลักษณะปากกว้างและมีเทปที่ไว้ใช้แปะกับก้นของนักบินอวกาศเพื่อไม่ให้ขี้ของนักบินอวกาศหลุดออกลอยออกมาล่องลอยอย่างอิสระในยาน (ซึ่งก็น่าเศร้าที่เคยมีวีรบุรุษนักบินอวกาศต้องเผชิญหน้ากับเหตุการณ์นั้นในระหว่างภารกิจอะพอลโล 10) และอย่างที่เล่าไป ถุงขี้เหล่านี้ก็ถูกทิ้งไว้อยู่บนดวงจันทร์ทิ้งเป็นของต่างหน้าให้ลูกหลานให้อนาคตได้กลับมาเจอนั่นเอง
8
อ่านเพิ่มเติม: https://spaceth.co/shit-in-space/
Joking aside, กลับมามองดูเรื่องนี้ด้วยเลนส์ที่จริงจัง ในตอนนั้นปัญหาเรื่องขยะที่ถูกทิ้งไว้บนอวกาศอาจยังไม่ถูกมองว่าเป็นเรื่องที่ใหญ่มากนัก แต่ในยุคปัจจุบันที่มนุษย์เริ่มตั้งใจไปอาศัยอยู่บนดวงจันทร์ (และดาวอังคาร) เรื่องนี้ก็กลายมาเป็นสัญญาณของความเป็นไปได้ของปัญหาสำคัญที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
4
ถ้าพูดสั้น ๆ คือถ้าการสำรวจยังเป็นไปด้วยวิธีนี้ต่อไป ก็เป็นไปได้ว่าดวงจันทร์อาจเต็มไปด้วยถุงขี้ที่ย่อยสลาย โ ค ต ร ย า ก เพราะมันทำจากพลาสติก หรือสักวันหนึ่งดินแดนศักดิ์สิทธ์ในวัฒนธรรมโบราณของเกือบทุกชาติพันธุ์ก็จะถูกปนเปื้อนไปด้วยขยะไม่ต่างจากบนโลก คำถามก็คือ: เราอยากให้มันเป็นเช่นนั้นจริงหรือ?
2
วาคลาฟ สมิล (Vaclav Smil) นักวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมชื่อดังวิเคราะห์ไว้ว่าอารยธรรมมนุษย์สมัยใหม่ประกอบไปด้วยเสาหลักสี่อย่างได้แก่แอมโมเนีย (ที่มักถูกใช้ในการทำปุ๋ยที่เป็นที่มาของอาหาร) เหล็ก ซีเมนต์ และพลาสติก ซึ่งภาพของการใช้พลาสติกในภารกิจอวกาศก็คงสะท้อน Dependency ของพลาสติกต่อสังคมมนุษย์ออกมาได้เป็นอย่างดี
3
นี่เป็นปัญหาเชิงโครงสร้างที่ค่อนข้างใหญ่ เพราะเราไม่สามารถปฏิเสธความสำคัญของพลาสติกในชีวิตได้เลย ถึงแม้จะรู้ความอันตรายและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของมัน เพราะถึงเราจะลดการใช้มันในชีวิตได้ แต่มันก็ยังคงฝังรากลึกอยู่ในระบบเศรษฐกิจในแง่ของการผลิตและการขนส่งระดับมหภาคอยู่ดี
3
สุดท้ายนี้มีแง่คิดที่น่าสนใจสองอย่างจากนิทาน (เรื่องจริง) เรื่องนี้:
เรื่องที่หนึ่ง ค่อนข้างมั่นใจได้ว่าแนวคิดของการตั้งอาณานิคมบนดวงจันทร์และดาวอังคาร จะกระตุกจิตกระชากใจให้มนุษย์ตั้งคำถามเชิงปรัชญาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น ว่าเราจะปล่อยให้พิภพใหม่นี้ต้องเผชิญหน้ากับปัญหาเดียวกันที่เกิดขึ้นบนโลกจากการอยู่อาศัยของมนุษย์จริงหรือ หรือเราจะพัฒนาเทคโนโลยีหรือควาญหาแนวทางใหม่ ๆ เพื่อจัดการกับปัญหาสิ่งแวดล้อมหรือไม่
3
กรณีที่น่าสนใจคือเรื่องของแอนตาร์กติกา ที่ policy คือผู้คนที่ไปที่นั่นต้องเอาของทุกอย่างที่ขนไปกลับมาด้วย แต่บนดวงจันทร์และดาวอังคารเราไม่สามารถทำอย่างนั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพแน่นอน จาก logistic cost ที่สูงและซับซ้อนมากกว่ามาก
2
เรื่องที่สอง จากภาพอันน่ากลัวของโครงสร้างสังคมอันซับซ้อนและ dependency ของมนุษย์ต่อวัตถุหลายอย่างที่ไม่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ที่การกระทำของคนหนึ่ง ๆ อาจส่งผลต่อระบบมหภาคน้อยมาก แล้วเราจะสิ้นหวังหรือทำอะไรกับมัน? แคมเปญรณรงค์สิ่งแวดล้อมทั้งหลายแหล่มีประโยชน์จริงหรือ?
1
อย่างน้อยแล้ว เราก็อาจจะพูดได้ว่ากระแสรณรงค์ที่เกิดขึ้นก็ทำให้มนุษย์ยังคงตระหนักได้ว่าเราควรเดินหน้าไปทางไหน ถึงแม้ภาพของสิ่งแวดล้อมในอุดมคติจะเป็นภาพที่ดูไกลเกินเอื้อม แต่อย่างน้อยก็คงเป็นสิ่งที่ดีที่เราจะตระหนักถึงมัน และเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วย contribute ให้มนุษย์สามารถเดินไปถึงปลายทางได้สักวันหนึ่ง
2
โฆษณา