1 พ.ค. 2023 เวลา 06:00 • ยานยนต์

บริษัทรถที่ลงทุนด้าน EV ในไทยนอกจากญี่ปุ่น มีอะไรบ้าง?

เปิด 3 เหตุผล อะไรคือ “จุดแข็งสำคัญ” ที่ทำให้ไทยถูกเลือกเป็นฐานผลิตรถ EV จากต่างชาติ โดดเด่นมากกว่าประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาค จนสามารถก้าวขึ้นมาเป็น “ฮับ EV ของอาเซียน” ได้
1
ปัจจุบัน เงินทุนต่างชาติต่างแห่เข้ามาลงทุนตั้งฐานผลิตรถ EV ในไทย ดังจะเห็นได้จาก
เมื่อล่าสุด บริษัทฉางอัน ออโตโมบิล (Changan Automobile) ผู้ผลิตรถรายใหญ่ของจีน ลงทุนในไทยเป็นจำนวนเม็ดเงินสูงถึง 9,800 ล้านบาท สร้างโรงงานผลิตรถ EV พวงมาลัยขวา
GAC AION ค่ายรถ EV ยักษ์ใหญ่เบอร์ 3 ของจีน ก็ประกาศลงทุนสร้างโรงงานผลิตรถ EV ในไทย 6,400 ล้านบาทเช่นกัน
ก่อนหน้านี้ก็มีหลายบริษัทต่างชาติที่แห่ตั้งฐานผลิตรถ EV ในไทย นำโดยบริษัทรถยนต์แบรนด์จีนอย่าง Great Wall Motor (GWM), Dongfeng , Neta และ BYD
Foxconn ของไต้หวันที่ร่วมทุนกับ ปตท.
แบรนด์รถยนต์สหรัฐอย่าง Ford
Mercedes-Benz ค่ายรถยนต์จากเยอรมนี
ค่ายรถชื่อดังเหล่านี้ต่างเลือกไทยเป็นฐานการผลิตรถ EV ผลิตแบตเตอรี่ EV
อะไรคือ “จุดแข็งของไทย” ที่ทำให้บริษัทต่างชาติตัดสินใจเลือกไทย ซึ่งอาจสรุปคำตอบได้ 3 ข้อดังนี้
1. ไทยมีฐานการผลิตรถที่แข็งแกร่ง
เนื่องจากไทยเป็นฐานการผลิตรถยนต์สันดาปสำหรับค่ายรถญี่ปุ่นมายาวนาน จึงทำให้แรงงานไทยมีประสบการณ์ด้านการผลิตและประกอบชิ้นส่วนรถ รวมถึงไทยยังส่งออกชิ้นส่วนรถไปขายต่างประเทศด้วย
ดังนั้น ถ้าค่ายรถจีนและค่ายรถตะวันตกเข้ามาตั้งฐานผลิตที่ไทย ทักษะแรงงานไทยก็สามารถรับหน้าที่นี้ได้ไม่ยาก
นอกจากแรงงานไทยที่มีประสบการณ์แล้ว ไทยยังมีโครงสร้างพื้นฐานที่เอื้อต่อการลงทุนจากต่างชาติ ดังจะเห็นได้จากจำนวนสถานีชาร์จรถ EV ในไทยที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตามปั๊มน้ำมัน ห้างสรรพสินค้า หรือแม้แต่คอนโดบางแห่ง
ข้อมูลทางการปี 2565 ของสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า จำนวนสถานีชาร์จรถ EV ในไทยปัจจุบัน มีจำนวน 944 สถานี และจำนวนสถานีเหล่านี้ ก็กำลังขยายตัวมากขึ้นเรื่อย ๆ
นอกจากนี้ “ไทยยังตั้งอยู่บนภูมิรัฐศาสตร์ที่โดดเด่น” คือ อยู่ตรงกลางของภูมิภาคอาเซียน มีพรมแดนติดเพื่อนบ้าน 4 ประเทศ ได้แก่ เมียนมา ลาว กัมพูชา มาเลเซีย จึงเอื้อต่อการกระจายสินค้า
โซนแถบล่างก็ติดอ่าวไทยและทะเลอันดามัน ซึ่งเอื้อต่อการขนส่งสินค้าทางเรือ
1
ยิ่งไปกว่านั้น ถนนหนทางในไทยก็เชื่อมโยงถึงกัน เป็นแผ่นดินเนื้อเดียวกัน
ขณะที่อินโดนีเซีย คู่แข่งด้าน EV ไทย มีภูมิประเทศเป็นหมู่เกาะมากที่สุดในโลก โดยมีจำนวนเกาะมากถึง 13,677 เกาะ จึงทำให้การขยายถนน โครงข่ายไฟฟ้า และโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ อาจไม่เอื้ออำนวยเท่าไทย
ส่วนเวียดนาม ประเทศที่กำลังเติบโตเร็ว และเป็นคู่แข่งกับไทยในด้าน EV ก็ยังต้องใช้เวลาพอสมควรในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้ทัดเทียมเท่าไทย
เวียดนามยังเป็นพื้นที่ปะทะกับพายุไต้ฝุ่นโดยตรง เนื่องจากอยู่ติดทะเลจีนใต้ ขณะที่ไทยตั้งอยู่โซนใน ซึ่งมีลาวปกป้องอีกชั้น พายุที่เข้ามาก็จะอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชันแทน จึงทำให้ผลกระทบจากภัยธรรมชาติต่อภาคอุตสาหกรรมของไทยเบากว่าเวียดนาม
เมื่อปีที่แล้ว Arthur D. Little บริษัทที่ปรึกษาด้านการจัดการองค์กรระดับโลก ได้เผยแพร่ ดัชนีชี้วัดความพร้อมด้านการขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ้าทั่วโลก (Global Electric Mobility Readiness Index) พบว่า “ประเทศที่มีสภาพแวดล้อมเอื้อต่อการใช้รถ EV มากที่สุด” คือ สวีเดน ตามมาด้วย จีน เยอรมนี และสิงคโปร์ตามลำดับ
“ในขณะที่ไทยขึ้นมาอยู่ที่อันดับ 9 ของโลก” ในกลุ่มประเทศตลาดยานยนต์ไฟฟ้าเกิดใหม่ แซงหน้าเวียดนามอันดับ 14 และอินโดนีเซียอันดับ 13 ซึ่งสองประเทศนี้อยู่ในระยะตั้งไข่ด้านตลาดยานยนต์ไฟฟ้า
สามารถอ่านเนื้อหาต่อได้ที่:
โฆษณา