2 พ.ค. 2023 เวลา 04:19 • สุขภาพ

Dopenezil

ปัจจุบันพบคนเป็นโรคอัลไซเมอร์มากขึ้น ในวันที่คนใกล้ตัว หรือ คนรู้จัก เริ่มเป็นโรคอัลไซเมอร์ ทำให้มินนี่ ลองหาข้อมูลเกี่ยวกับยาที่ใช้ในโรคนี้ วันนี้จะมาเล่าเกี่ยวกับยาตัวหนึ่ง ชื่อ ยา Dopenezil ซึ่งนิยมใช้มากพอสมควร
.
ก่อนจะเข้าเรื่องยา ขอเล่าเรื่องอัลไซเมอร์สักนิดนึงนะคะ
.
อัลไซเมอร์ หรือที่คนทั่วไปเรียก โรคสมองเสื่อม แต่จริงๆแล้ว ภาวะสมองเสื่อม พบได้หลายรูปแบบ และอัลไซเมอร์ เป็นกลุ่มอาการที่พบบ่อยที่สุด จึงทำให้เราเข้าใจเหมารวมว่า อัลไซเมอร์ คือ โรคสมองเสื่่อม
.
กลุ่มอาการสมองเสื่อม (Dementia)เป็นกลุ่มอาการที่มีสาเหตุจากการเสื่อมถอยของการทำงานของสมอง โดยแสดงความผิดปกติ ทางด้านความคิดความจำ การตัดสินใจการเคลื่อนไหว ซึ่งรุนแรงและรบกวนการดำรงชีวิตของผู้ป่วย ร่วมกับมีการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรม
.
ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญคืออายุที่มากขึ้น ไม่สามารถทราบสาเหตุที่แน่ชัด ไม่เกี่ยวข้องกับกรรมพันธุ์ พบว่า มีการสร้าง Beta amyloid peptide หนาแน่นกว่าปกติ ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นพิษต่อสมอง และทำลายเซลล์สมอง
.
อาการที่พบ ผู้ป่วยมักจะมีปัญหาเรื่องสูญเสียและ cognitive อิ่นร่วมด้วย โดยมีความรุนแรงจนเป็นปัญหาในการใช้ชีวิตประจำวัน
1.ไม่สามารถคิดในสิ่งที่ซับซ้อนได้
2. สูญเสียการตัดสินใจ
3.มีปัญหาเกี่ยวข้องกับการใช้ภาษาด้านการพูดหรือการเข้าใจ
4.ไม่สามารถบังคับการเคลื่อนไหวที่ซับซ้อนได้ในขณะที่ผู้ป่วยยังเข้าใจคำสั่งได้ดี กล้ามเนื้อดีก็ยังปกติดี
5.ไม่สามารถบอกชื่อสิ่งของและบุคคลได้ในขณะที่ประสาทสัมผัสยัง ปกติอยู่
โรค อัลไซเมอร์ สามารถใช้ยาเพื่อช่วยประคับประคองอาการ และชะลอการดำเนินโรคได้ แต่ยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้
.
ยาDopenezil มีกลไกการออกฤทธิ์ อย่างไร
.
โรคอัลไซเมอร์เกิดจากการที่เซลล์ประสาทสมองมีสารเป็นสื่อประสาทที่เรียกว่า acetylcholine(ACH)  ลดลงทำให้ความจำบกพร่อง
ยา Dopenezil ออกฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ Acetylcholinesterase ซึ่งมีหน้าที่ทำลาย ACH จึงทำให้ปริมาณ ACH  ในเซลล์ ประสาทสมองเพิ่มขึ้น
.
ข้อบ่งใช้ รักษาโรคอัลไซเมอร์ทั้งในระดับน้อยปานกลางและมาก และมีการใช้นอกเหนือข้อบ่งใช้ ได้แก่   dementia ที่สัมพันธ์กับ parkinson
.
ขนาดยาที่ใช้ เริ่มจาก 5 มิลลิกรัม วันละครั้ง ปรับเพิ่มเป็น 10 มิลลิกรัม วันละครั้ง  และปรับเพิ่มเป็น 23 มิลลิกรัม ตามความรุนแรงของอาการ
.ไม่ต้องปรับขนาดยาในผู้ป่วยโรคตับ ไต
.
อาการไม่พึงประสงค์ที่พบ
พบบ่อย  >10 % นอนไม่หลับ คลื่นไส้
พบน้อยกว่า 10% เช่น ปวดศีรษะ วิตกกังวล อ่อนเพลีย  เบื่ออาหาร ปวดท้อง ท้องผูก เจ็บหน้าอก เป็นต้น
ครั้งต่อไป  อาจจะมาต่อด้วยเรื่องยารักษาโรคอัลไซเมอร์ตัวอื่น หรือถ้าผู้อ่านต้องการข้อมูลหรือให้เล่ายาตัวอื่น แจ้ง comment หรือ inbox ได้นะคะ ขอบคุณที่ติดตามนะคะ🙏🙏😊☺
ข้อมูลอ้างอิง
1.บทความวิชาการ เรื่อง Alzheimer's disease โดยเภสัชกรปริญญา ปั้นผล
2.การบริการทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อม โดยนายนิติรัฐ วิเศษกิจ นายบุญเลิศ ลิ้มวงศ์สุวรรณ คณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล
3.บทความยาน่ารู้ โดยภญ.จันทริกา สนั่นเกียรติเจริญ โรงพยาบาลพระปกเกล้า จ.จันทบุรี
โฆษณา