2 พ.ค. 2023 เวลา 13:00 • สิ่งแวดล้อม

ทำความรู้จัก กับ "โรคไฟทอปธอรา"

โรครากเน่า-โคนเน่า หรือ โรคไฟทอปธอรา (Phytophthora diseases) เป็นเชื้อราที่อาศัยอยู่ในดิน และเจริญเติบโตได้ดีในดินที่มีความชื้นสูง หรืออาจเป็นพื้นที่ที่มีน้ำท่วมขังเป็นเวลานาน สามารถพักตัวในช่วงแห้งแล้งได้ โรคที่ลุกลามได้อย่างรวดเร็วตั้งแต่ส่วนราก ไปจนถึงผลทุเรียน ผ่านท่อลำเลียงน้ำและอาหาร เป็นสาเหตุสำคัญอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้พืชยืนต้นตาย
อาการของ โรคไฟทอปธอรา
ต้นพืชที่มีการติดเชื้อ พบว่า ใบจะค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีเหลืองซีดเหมือนโดนน้ำร้อนลวก ใบร่วง กิ่งแห้ง เปลือกไม้บริเวณลำต้นปริแตก เนื้อไม้มียางไหลสีน้ำตาลคล้ายเป็นแผลเน่า ถ้าหากเชื้อแพร่กระจายขึ้นสู่ยอดใบแล้ว ยอดจะหลุดร่วงเหลือแค่กิ่ง และมีโอกาสลามไปเป็น "โรคราสีชมพู" ซ้ำต่อได้
การแพร่ระบาด
ในส่วนมากเชื้อจะเริ่มลุกลามจากบริเวณราก หรือ โคนต้นในระดับพื้นดิน รากจะเน่า และไม่มีการแตกรากใหม่ จากนั้นเชื้อจะกระจายเข้าสู่ท่อน้ำและอาหารไปยังส่วนต่างๆ ของพืช คล้ายอาการติดเชื้อในกระแสเลือดของมนุษย์ หากการระบาดเป็นช่วงติดผล ผลผลิตจะมีอาการเน่าจากด้านใน และต้นจะทรุดโทรมลงเรื่อยๆ จนกระทั่งพืชยืนต้นตาย
วิธีรับมือ & ป้องกันเบื้องต้น
1. ตัดแต่งกิ่งให้โปร่ง ทำให้อากาศถ่ายเทสะดวก
2. คอยหมั่นตรวจสอบดูแลแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ รวบรวมเศษกิ่งและใบที่เป็นโรคไปเผาทำลายทิ้ง
3. คอยตรวจสอบและปรับปรุงพื้นที่บริเวณที่มีน้ำท่วมขัง
4. ใช้ "เมทาแลกซิล" พ่น, ทา, หรือฉีดเข้าลำต้นบริเวณที่มีอาการ (โดยมีทั้งสีขาวและสีชมพู ความเข้มข้น 25% และ 35% ตามลำดับ)
หากสวนของคุณกำลังพบเจอปัญหา ติดต่อเราได้ ที่นี่
Facebook : Global Heal - โกลบอลฮีล

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา