4 พ.ค. 2023 เวลา 11:30 • ธุรกิจ

ทำไม “Service Charge” เวลาไปทานอาหารที่ร้าน ถึงต้องเป็น 10%

เวลาไปทานอาหารที่ร้าน หลายคนน่าจะเคยโดนเรียกเก็บค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม จากค่าอาหารและเครื่องดื่ม
เช่น VAT ที่เป็นภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% และ “Service Charge” ที่เป็นค่าบริการเพิ่มอีก 10% กันอยู่บ่อย ๆ
4
ซึ่งในส่วนของ VAT หรือภาษีมูลค่าเพิ่มนั้น เป็นเรื่องปกติที่ผู้ประกอบการสามารถผลักภาระในการจ่ายภาษีให้ผู้บริโภคได้ตามกฎหมายอยู่แล้ว
ทำให้ไม่ว่าจะเป็นร้านอาหารไหน ๆ อย่างน้อยก็ต้องมีการเก็บ VAT เพิ่มจากค่าอาหาร 7% เป็นเรื่องปกติ
อยู่ที่ว่าร้านจะมีนโยบาย บวกค่าใช้จ่ายส่วนนี้ตั้งแต่แรก ให้ผู้บริโภคได้เห็นในหน้าเมนูเลย (Including VAT) หรือค่อยบวกทีหลัง ตอนเช็กบิล (Excluding VAT)
7
แต่ในส่วนของ “Service Charge 10%” หลายคนก็ยังสงสัยว่า มันคือค่าอะไรกันแน่ ?
2
เพราะร้านอาหารบางร้าน ก็เลือกจะไม่เก็บค่าบริการตรงนี้
แต่ร้านอาหารบางร้าน กลับเลือกเก็บค่า Service Charge ทั้ง ๆ ที่ก็ไม่ได้มีบริการพิเศษกว่าร้านอื่น..
1
ความลับของตัวเลขท้ายใบเสร็จ มีที่มาอย่างไร
และทำไม Service Charge ถึงต้องเป็น 10% ?
บทความนี้ MarketThink จะสรุปให้ฟัง
เรื่องของ Service Charge ในความหมายของใครหลายคน ดู ๆ แล้วจะคล้ายกับสิ่งที่เรียกว่า “ทิป” ที่คนมักจะมอบให้กัน เพื่อตอบแทนบริการดี ๆ จากพนักงาน
1
โดยจุดเริ่มต้นของการให้ทิปนั้น ต้องย้อนกลับไปในช่วงศตวรรษที่ 17 ที่หลายฝ่ายเชื่อว่า มีที่มาจากชาวอังกฤษ
1
ที่ “ชนชั้นสูง” มอบของขวัญเล็ก ๆ น้อย ๆ ให้แก่ “ชนชั้นที่ด้อยกว่า” ก่อนธรรมเนียมดังกล่าวจะเริ่มเผยแพร่ไปในประเทศอื่น ๆ
จึงทำให้การให้ทิปนั้น จะมีมุมมองที่ค่อนข้างแตกต่างกันในแต่ละประเทศ
2
บ้างก็มองเป็น “การดูถูก” บ้างก็มองเป็น “การแสดงน้ำใจ” ยกตัวอย่างเช่น
- ประเทศจีน ที่ไม่ยอมรับวัฒนธรรมการให้ทิป จนถึงขั้นมีการห้ามให้ทิปกับพนักงานเสิร์ฟ เพราะมองว่าเป็นการติดสินบน
5
- สหรัฐอเมริกา ที่มีการให้ทิปกันจนเป็นบรรทัดฐานของสังคมไปแล้ว จนเคยมีการประเมินว่า ปีหนึ่งธุรกิจร้านอาหารในสหรัฐอเมริกา มีรายได้จากทิปอย่างเดียวรวมกันถึง 1,370,000 ล้านบาทเลยทีเดียว
5
- ญี่ปุ่น มองว่าการให้ทิปเหมือนเป็นการ “ดูถูก” ว่าบริการไม่ดี จนต้องจ่ายเงินเพิ่ม..
4
ส่วนประเทศไทยของเรา แม้จะยังไม่มีธรรมเนียมที่แน่ชัดว่า
ตกลงเราควรให้ทิปกับพนักงานเสิร์ฟหรือเปล่า
และถ้าให้ ควรให้เท่าไร หรือให้กี่เปอร์เซ็นต์ ?
2
เรื่องนี้ ถึงแม้จะไม่ได้มีกฎหมายกำหนดเป็นตัวเลขตายตัว
แต่ถ้าอ้างอิงตาม สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ที่ให้ความเห็นว่า
ร้านอาหาร สามารถเรียกเก็บค่าบริการพิเศษ เช่น เติมน้ำ, เก็บโต๊ะ และการอำนวยความสะดวกต่าง ๆ จากลูกค้าได้ ในรูปแบบของ “Service Charge”
แต่จะมีเพดานคือ ไม่เกิน 10% จากค่าอาหาร
1
ซึ่งหากเรียกเก็บเกินกว่านี้ อาจเข้าข่ายคิดค่าบริการสูงเกินควร และมีโทษทางกฎหมาย
3
ที่ต้องเป็นตัวเลข 10% ก็มีเหตุผลคือ เพราะเป็นอัตราที่มีความสากล และผู้บริโภคส่วนใหญ่รับได้
4
ดังนั้นหลาย ๆ ร้านอาหารที่ตั้งใจจะเรียกเก็บค่า Service Charge ไหน ๆ ก็เก็บทั้งที จึงคิดอัตราเต็ม Max ที่ 10%
พอมีร้านอาหารเก็บในอัตรานี้ตาม ๆ กัน และผู้บริโภคในประเทศไทย เคยชินกับตัวเลขนี้
2
ทำให้การเก็บค่า Service Charge ในอัตรา 10% นั้นกลายเป็นธรรมเนียมอย่างหนึ่งของร้านอาหารในไทยไปแล้ว..
11
อย่างไรก็ตาม ร้านอาหารที่คิดค่า Service Charge ร้านนั้น ๆ ต้องสื่อสารกับลูกค้าให้ชัดเจนว่า จะมีการเก็บค่า Service Charge
เพื่อช่วยให้ผู้บริโภคตัดสินใจง่ายขึ้นว่า จะใช้บริการร้านดังกล่าวหรือไม่ นั่นเอง..
9
และหากสื่อสารไม่ชัดเจน หรือไม่ครบถ้วน ผู้บริโภคก็สามารถปฏิเสธการเรียกเก็บค่า Service Charge จากร้านได้
4
โดยร้านที่เก็บค่า Service Charge ก็จะมีข้อดีคือ เจ้าของธุรกิจ จะมีตัวช่วยในการแบ่งเบาเรื่องของค่าจ้างพนักงาน ที่เป็นหนึ่งในต้นทุนสำคัญของธุรกิจประเภทร้านอาหาร
3
แถมยังเป็นการส่งเสริมให้พนักงานรู้สึกมีส่วนได้ส่วนเสียกับกิจการมากขึ้น
ทำให้พนักงานมีแนวโน้มในการให้บริการลูกค้าดีขึ้นอีกด้วย
4
รวมถึง Service Charge อาจช่วยเพิ่มกำไรให้กับร้านอาหารได้ เพื่อนำไปขยายธุรกิจและพัฒนาร้านต่อไป
2
แต่จะมีข้อเสียคือ จะทำให้ราคาสุทธิ ที่ลูกค้าต้องจ่ายสูงขึ้น
และร้านอาจเสียเปรียบในการแข่งขันเรื่องราคา นั่นเอง
 
ดังนั้นหลายร้านที่เก็บค่า Service Charge ก็มักจะใช้กลยุทธ์บอกราคา โดยการแสดงราคาในเมนูอาหาร ที่ไม่รวมค่า Service Charge เพื่อให้ราคาดูไม่สูงจนเกินไป
แต่บางทีวิธีนี้ ก็อาจทำให้ลูกค้าบางคนรู้สึกไม่ดี ที่ต้องจ่ายแพงขึ้น ตอนเห็นบิล..
3
พอเป็นแบบนี้ มันจึงอธิบายได้อีกว่า ทำไมร้านอาหารบางร้าน ถึงเลือกที่จะเก็บค่า Service Charge
แต่บางร้าน ถึงเลือกที่จะไม่เก็บค่า Service Charge ทั้ง ๆ ที่บริการอาจไม่ต่างกัน นั่นเอง
สุดท้ายนี้ เรื่องของค่าบริการ ก็ค่อนข้างจะเป็นเรื่องปัจเจกบุคคล
1
เพราะถ้าร้านไหนบริการดี เหมาะสมกับการเก็บค่า Service Charge แล้วทำให้ลูกค้ารับรู้ได้ว่า ควรค่ากับเงินที่จ่ายไป
ธุรกิจนั้นก็มีแนวโน้มที่จะสดใสในระยะยาว
3
ส่วนร้านไหนมีบริการไม่เหมาะสม ก็ไม่แปลกเลย ที่ลูกค้าจะไม่ค่อยกลับไปใช้บริการ เพราะรู้สึกไม่คุ้มค่ากับเงินที่จ่ายไปนั่นเอง..
1
Sponsored by JCB
สัมผัสประสบการณ์ที่มากกว่ากับ บัตรเครดิต JCB
ที่มาพร้อมสิทธิพิเศษดีๆ มากมาย
ให้คุณได้เพลิดเพลินทั้ง ช้อป กิน เที่ยว
พร้อมกับการให้บริการสุดพิถีพิถันทุกรูปแบบ
ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่ >> http://www.specialoffers.jcb/th/promotion/japan_contents_of_ASEAN/
 
ติดตามความพิเศษที่เป็นเอกสิทธิ์เฉพาะคุณได้ที่
Facebook : @JCBThailand
LINE Official Account : @JCBThailand (https://bit.ly/JCBTHLine)
#JCBThailand #JCBCard
#JCBOwnHappinessOwnStory
#อีกขั้นของความสุขในรูปแบบที่เป็นตัวคุณ
โฆษณา