Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ร้อยเรื่องหลากมุมกับ ภก.ปราโมทย์
•
ติดตาม
4 พ.ค. 2023 เวลา 22:01 • สุขภาพ
"งูสวัด" เป็นแล้วตาย?
ช่วงเวลาปลายเดือนเมษายนต่อต้นเดือนพฤษภาคมแบบนี้ เป็นช่วงที่มีอาการร้อนจัด สลับกับมีพายุฤดูร้อน ทำให้มีฝนตกสลับกับอากาศในช่วงกลางวันที่ร้อนจัด ลักษณะอากาศแบบนี้ทำให้คนเราเสี่ยงที่จะเจ็บป่วยมากขึ้น โดยส่วนมากก็จะเป็นโรคทางเดินหายใจอย่างไข้หวัด เจ็บคอ แต่อีกโรคที่อาจพบได้มากในช่วงนี้ คือโรคที่เกิดจากไวรัสต่าง รวมถึงงูสวัดด้วย
เรามักได้ยินคำพูดจากคนเก่าคนแก่ในทำนองที่ว่า "หากเป็นงูสวัดรอบตัวแล้วจะตาย" ถ้าจะถามว่าประโยคดังกล่าวเป็นจริงแค่ไหน เราต้องมาทำความเข้าใจกับงูสวัดกันก่อน โดยงูสวัดเกิดจากเชื้อไวรัสวาริเซลลา (varicella virus) ซึ่งเป็นเชื้อตัวเดียวกับที่ทำให้เกิดโรคสุกใส
ภาพแสดงการแฝงตัวของเชื้อ
ความน่าสนใจก็คือ เมื่อเราได้รับเชื้อดังกล่าวเข้าไป จะทำให้เกิดโรคอีสุกอีใส(โดยเฉพาะในเด็ก) และเมื่อหายดีแล้ว เชื้อดังกล่าวแม้จะอ่อนกำลังลง ก่อโรคไม่ได้ แต่ก็ไม่ได้หายไปจากร่างกาย หากแต่หลบส่วนอยู่ในปมประสาทบางจุดในร่างกายเป็นเวลานานหลายปี โดยไม่มีอาการผิดปกติ จนกระทั่งร่างกายอ่อนแอ ภูมิคุ้มกันต่ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้สูงอายุ และผู้ป่วยที่มีภาวะภูมิคุ้มกันผิดปกติจากยาหรือโรคบางอย่าง เชื้อที่แฝงตัวอยู่ก็จะแบ่งตัว ทำให้เส้นประสาทอักเสบ เกิดการปวดตามแนวเส้น ประสาท และปล่อยเชื้อไวรัสออกมาที่ผิวหนัง
งูสวัดระยะลุกลาม
"ตามแนวเส้นประสาท" ใช่แล้ว งูสวัดจะแพร่เชื้อกระจายตัวตามแนวเส้นประสาท ซึ่งเส้นประสาทของมนุษย์โดยปกติจะแตกออกตามแนวระยางค์ทั้งสองข้าง(แขนกับขา) ทำให้ไม่มีโอกาสที่งูสวัดจะพันรอบตัว ดังนั้นจึงเกิดกรณีที่งูสวัดพันรอบตัวน้อยมาก โอกาสที่จะเกิดขึ้นอาจมาจากภาวะภูมิคุ้มกันผิดปกติ หรือมีการใช้มือเกา หรือการรักษาแบบแปลกๆ เช่น เอานั่นเอานี่มาเป่าใส่แผล ทำให้เกิดการติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำซ้อน ทำให้เกิดโรคร่วมต่างตามมาได้
ดังนั้น เมื่อเป็นงูสวัด ไม่ต้องกลัวตาย อย่ามัวไปหาทางรักษาแปลกๆ(เดี๋ยวจะได้ตายจริงๆ) แต่ควรรีบไปพบแพทย์ เนื่องจากในปัจจุบันมียาที่ได้ผลดีต่องูสวัด โดยปกติแนวทางการรักษาจะแนะนำยา acyclovir ภายใน 48-72 ชั่วโมงหลังเกิดอาการ จะช่วยให้รอยโรคทางผิวหนังหายได้เร็วขึ้นและลดความรุนแรงของโรค รวมถึงลดภาวะแทรกช้อนต่างๆได้ เช่น อาการปวดปลายประสาท เป็นต้น ร่วมกับการประคบแผลด้วยน้ำเกลือ ครั้งละประมาณ 10 นาที 3-4 ครั้ง/วัน จะช่วยทำให้แผลแห้งขึ้น
ที่สำคัญ ต้องไม่แคะ แกะ เกา บริเวณแผล เพราะจะเพิ่มโอกาสในการติดเชื้อแบคทีเรีย ควรตัดเล็บให้สั้น รักษาความสะอาดของแผล ไม่นานอาการงูสวัดก็จะหายไปเอง
2
ด้วยความห่วงใย
เพจหมอยาเดินไพร
อ้างอิง
1.
https://www.nature.com/articles/nrdp201516/figures/1
2.
https://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/epl/admin/article_files/1085_1
เจ็บป่วย
การแพทย์
รักษาโรคผิวหนัง
บันทึก
4
2
4
4
2
4
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย