2 พ.ค. 2023 เวลา 20:57 • ท่องเที่ยว

#SpainDiary

Day 5: Malaga
04.27.2023.01.30pm
คาบสมุทรไอบีเรียตอนเหนือที่ติดกับภาคตะวันตกเฉียงใต้ของฝรั่งเศสมีมนุษย์อาศัยตั้งแต่ยุคหินเก่าตอนปลายต่อยุคหินใหม่ (15,000 ปี หรือ 15 กิโลปีก่อนลงมา) หลักฐานที่พบคือภาพเขียนสีในถ้ำ Altamira และ Lascaux ในสเปนและฝรั่งเศส, ตามลำดับ
เชื่อว่าแผ่นดินส่วนนั้นไม่หนาวจัดและไม่มีธารน้ำแข็งปกคลุมในห้วงเวลา Glacier Maximum (หนาวสุดของยุคน้ำแข็งก่อนจะอุ่นขึ้นในยุคหินใหม่), Homo sapiens (ตัวเอียง) จึงมาพึ่งบรมโพธิสมภารสภาพภูมิอากาศ
ชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนของคาบสมุทรไอบีเรียเป็นแหล่งวัฒนธรรมไอบีเรียนอันเกิดจากการฟิวเชิ่นของวัฒนธรรมกรีกและฟินิเชียน
ทั้งสองกลุ่มชาติพันธุ์เป็นชาวเล มีความเชี่ยวชาญเรื่องโล้สำเภา นางมีโคโลนีกระจัดกระจายตามชายฝั่งเมดิเตอร์เรเนียนในทุกทวีปที่ล้อมทะเลนี้ (ฟินิเชี่ยนขึ้นท่าตั้งแต่ 9-8 ร้อยปีก่อนเวลาปัจจุบัน หรือ BCE; ส่วนกรีกตามมา 2 ถึง 3 ร้อยปีให้หลัง)
ฝั่งตะวันตกจนถึงประมาณภาคกลางของคาบสมุทรไอบีเรียเป็นภูมิภาคอารยธรรมเคลติก, ชาวอินโดยูโรเปียนที่อพยพมาจากเอเชียกลางต่อยุโรปตะวันออกตั้งแต่ 2 กิโลปี BCE (แต่เข้ามาในไอบีเรียช่วงพันปีแรก BCE)
ยังมีอีกสองกลุ่มชาติพันธุ์ที่ยูนีค คือ (1) เคลต์ไอบีเรียน กับ (2) บาสก์ กลุ่มแรกคือทวิชาติเคลต์กับไอบีเรียน แต่ใช่ neither กลุ่มสองนี่ fascinating เพราะพูดภาษาที่ไม่สัมพันธ์กับภาษาใดในโลก (language isolate) และมี DNA ที่เก่าแก่กว่าชาวอินโดยูโรเปียน ประหนึ่งนางเจริญต่อเนื่องจากชนพื้นเมืองยุคหินใหม่
ครึ่งหลังสหัสวรรษแรก BCE โรมันและคาร์เถจ (off-shoot ของฟินิเชียน มีตูนิเซียเป็นเซ็นเตอร์) รบกันเพราะเสือสองตัวอยู่ถ้าเดียวกันไม่ได้ (นางทั้งคู่เป็นมาเฟียทะเลเมดิเตอร์เรเนียนฝั่งตะวันตก)
โรมันรบชนะคาร์เถจในปลายศตวรรษที่ 3 BCE และจัดไอบีเรียให้เป็นส่วนการปกครองของจักรวรรดิ หรือ จังหวัด เรียก Hispania; กลายเป็น hispanic และ Espana (บนหัว n มี ~)
หลังจากโรมันตะวันตกคุยในคริสต์ศตวรรษที่ 5, วิสิก็อธ ชาวเจอแมนิกได้เข้ามาเป็นนายโรมันเนี่ยนใน Hispania
วิสิก็อธนับถือคริสต์สาขา Arianism ที่เชื่อว่าจีซัสกับพระเจ้าไม่ได้มาจาก substance เดียวกัน และอย่างหลังสร้างอย่างแรกขึ้นมา แต่โรมันฮิสปาเนียนับถือสาขาคาทอลิก
นอกจากวิสิก็อธจะถูกวัฒนธรรมโรมันกลืน นางยังเปลี่ยนจาก Arianism มาเป็นคาทอลิก เหมือนมองโกลหรือแมนจู, แม้ได้ครอบครองจีน ก็ได้แค่ตัว แถมยังรับเอาอารยธรรมเขามาใช้อีก
หลังจากพระศาสดามูฮัมหมัดปรินิพพาน ศูนย์กลางการเมืองอิสลามกำเนิดขึ้น ณ ดามัสกัส เรียก Umayyad Caliphate
กองทัพอิสลามตีเมืองแอฟริกาเหนือจากตะวันออกถึงโมร็อกโกและคาลิฟตั้งผู้ว่ามาว่าราชการต่างพระเนตรพระกรรณที่นี่
ปี 711 ท่านผู้ว่าสั่ง Tariq ibn Ziyad ข้ามช่องแคบโนเนมไปสำรวจแผ่นดินที่ห่างจากโมร็อกโกชั่วตาเห็น
คุณ Tariq ขึ้นท่าตรงเนิน และเนินนั้นถูกตั้งชื่อ: Jabal Tariq หรือ Mountain of Tariq และ, guess what กลายเป็นชื่อช่องแคบ Gibralta ที่ใช้กันมาจนถึงปัจจุบัน
เจ้าวิสิก็อธ, รอด เดอะ เรด หรือ Roderic, ได้ยินข่าวจึงกรีธาทัพมาดูตัวผู้มาใหม่, บังเอิญรบกัน, เจ้ารอดตุย, คุณทาริกเลยตีรัฐวิสิก็อธขึ้นไปถึงกลางประเทศ
ท่านผู้ว่าโมโห เพราะสั่งให้ไปดูลาดเลาแต่สาระแนตีเมืองเขา นางจึงยกทัพหลวงตามไป (ฉันว่าอิจฉา กลัวทาริกจะได้หน้า)
ทัพหน้าทัพหลวงเจอกันและ reconcile แต่คาลิฟแห่งดามัสกัสเป็นไรไม่ทราบเรียกทั้งสองคนกลับตะวันออกกลางแล้วสำเร็จโทษทั้งคู่ นางส่งผู้ว่าฯคนใหม่ไปปกครองโมร็อกโก ไอบีเรียกลางและใต้จึงตกเป็นของ House of Umayyad ตั้งแต่ครึ่งแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 8
นางเรียกจังหวัดนี้: Al Andalus ซึ่งกลายเป็น Aldalucia (ใช้ s ตรง cia หากสะกดแบบแองโกล) ในปัจจุบัน
III>II2
จากสถานีกลางอภิวัฒน์มาดริด ฉันนั่งรถไฟสายทักษิณมุขมโนมัยความเร็วสูงที่เร่งเวโลซิแตด (velocidad) ได้สูงสุด 290 ก.ม./ชั่วโมง มาถึงมะละกาเที่ยงครึ่ง (ใช้เวลา 2 ชั่วโมง 50 นาที และจอดรับ-ส่ง 5 สถานีรวมมะละกา)
ระหว่างทางเป็นเนินแห้งแล้งเหมือนภูมิภาค Southwest ณ อเมริกา (แต่ฉันชอบภูมิอากาศกึ่งทะเลทรายแบบนี้ ดูสวยดี)
มะละกาเป็นเมืองใหญ่ติดทะเลเมดิเตอร์เรเนียน มีท่าเรือน้ำลึกและเป็น origin ของเรือสำราญหลายบริษัท ระหว่างนั่งแท็กซี่เห็นร้านรวงริมทะเลละม้ายพัทยากับภูเก็ต ไม่ได้ว้าวมากเพราะหาดไม่ค่อยสวย
ร.ร. ที่ประทับเคยเป็น ร.พ. มาก่อน เก๋ อยากนอนห้องไอซียู มะละการ้อนมาก ยุโรปพังแน่ เพราะปีนี้เป็นปีเด็กชาย หรือ El Nino คลื่นความร้อนคงแพร่กระจายคนตายเป็นใบไม่ร่วง นี่ขนาดสปริงยังร้อนเว่อร์ ถ้าเข้าคิมหันตฤดูจะเยินขนาดไหน
เช็คอินแล้วยืนรอเพื่อนสาวชาวเจ็ท อาคันตุกะจากอุษาคเนย์ นางจะมาแจม 5 วัน ตื่นเต้น ไม่ได้เจอกันสี่ปี นางกำลังอูเบอร์มาจากสนามบินมีคุณโฮเซ่เป็นสารถี
#SpainDiary
Day 5: Malaga
04.27.2023.08.00pm
ยามมาเที่ยวกับเพื่อน, ความสามาถในการเก็บเกี่ยวประสบการณ์จะต่ำมาก ค่าที่เม้าส์มอยหอยกาบจนไม่ได้ดูความงามบ้านเมือง
มะละกาเคยเป็นถิ่นโรมันและมุสลิมก่อนถูกคิงคริสเตียนรวบอำนาจและขับไล่นางออกนอกคาบสมุทร
ปราสาทราชวังใจกลางเมืองจึงมีกลิ่นอายสถาปัตยกรรมอิสลาม อย่างโค้งประตูที่ทำเป็นรูปขาม้า (Horseshoe) หรือ รูกุญแจ
ด้านหน้า ร.ร. เป็นทะเล ด้านหลังเป็นภูเขา บนภูมีป้อมค่ายและวังเจ้าเมืองสมัยที่ Caliphate of Codoba แตกกลายเป็นนครรัฐอิสลามกระจัดกระจายทั่วไอบีเรีย (ประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 11) เรียกรัฐเหล่านี้ว่า Taifas (อ่านเหมือน typhus) โดยมีมะละกาเป็นหนึ่งในนั้น
ปัจจัยที่ทำให้ยูนิตี้ล่มสลาย คือ การแย่งชิงอำนาจภายในกลุ่มมุสลิม และ ถูกคริสเตียนคิงของรัฐทางเหนือประกาศสงครามแย่งชิงแผ่นดิน (Reconquista)
ฝ่ายคริสเตียนก็ไม่ได้เป็นหนึ่งเดียวเพราะมีหลายก๊กหลายเหล่า เช่น Leon-Castille, Navarre, และ Aragon มากไปกว่านั้น, ช่วงไหนพักรบกับอิสลาม พวกนางก็รบพุ่งกันเองมิได้ขาด
ตีนภูมี Roman Theater และ ร้านอาหารปริมาณมากให้เลือกรับประทาน ข้าง ๆ ภูเป็นเขตเมืองเก่าให้นักท่องเที่ยวเดินเท้าสัมผัสชีพจรนคร กลางเมืองมีโบสถ์พระแม่มารีขนาดใหญ่มาก สถาปัตยกรรมเป็นแบบโกธิคผสม (ผสมอะไรไม่รู้)
เดินทะลุตรอกนั้นซอยนี้จนอิ่มตาก็แวะร้าน Tapas สั่งสำรับถวายพระพุทธกินให้อิ่มกระเพาะ มีปลาหมึกยักษ์, ปลาหมึกน้อย, ปลาซาร์ดีน, ปลาทูน่า, ฯลฯ แปะขนมปัง ดูง่าย ๆ แต่อร่อยใช้ได้ มีกลิ่นอายวัตถุดิบที่สดใหม่ไม่ต้องปรุงเพิ่มให้เสียอรรถรส
กลับมาจบวันด้วยนั่งริมระเบียงห้องชมตะวันลับเหลี่ยมฟ้า และท่องคาถา “เงินเท่านั้นที่ knock everything ธนบัตรเท่านั้น ที่ทำให้เราได้โบยบิน ขับพอร์เช่ แล้วมันฟิน ฟิน ฟิน เดิน red carpet เข้าปาร์ตี้ที่มีแต่ธีม” ให้ขึ้นใจเพื่อเอาไปใช้เป็นมงคลชีวิต
โฆษณา