3 พ.ค. 2023 เวลา 23:51 • ธุรกิจ

Problem Solving by #8D Methodology

8 D เหมาะสมกับกรณีการแก้ไขปัญหาที่เราไม่ทราบ สาเหตุที่แท้จริง และข้อดี คือ เมื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาแบบ 8D แล้ว เราจะได้เอกสาร ข้อมูล มาตรฐานการปฏิบัติงาน SOP: Standard Operation Procedure หลังจากการแฏิบัติการแก้ไขและป้องกัน
Action
D0: The Planning Stage
D1: the Team การสร้างทีมกลุ่มเล็กๆที่มีองค์ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการแก้ไขปัญหา นั้นๆ
D2: Problem Definition / Statement & Description Developing การนิยามปัญหา ลักษณะปัญหา จำนวนหรือปริมาณปัญหา ลูกค้าที่ร้องเรียน lot no. ซึ่งอาจจะใช้ภายถ่าย ภาพร่าง คำอธิบาย รายละเอียดปัญหา เพื่อให้สามารถจัดการกับปัญหาได้อย่างถูกต้อง และหาสาเหตุที่แท้จริง หรือสมมติฐานที่ใกล้เคียงได้
D3: Interim Containment Action การริเริ่มให้มีการแก้ไข เช่น การสืบสวนประวัติกระบวนการผลิต การสอบกลับข้อมูลต่างๆ
D4: Identifying & Verifying Root Cause Identifying Permanent การหาสาเหตุที่แท้จริง เช่น
- Why-Why analysis
- Fish-bone diagram(Cause and effect diagram)
- 4W1H การวิเคราะห์ว่าปัญหาอะไร ปัญหาเกิดเมื่อใด พบปัญหานี้ที่ไหน ใครคือผู้พบปัญหา และพบปัญหาได้อย่างไร
D5: Identifying Permanent Corrective Actions (PCA)
การปฏิบัติการแก้ไข การปฏิบัติการแก้ไขกระบวนการต่างๆ การปฎิบัติการแก้ไขปัญหาอย่างถาวร
D6: Implementing & Validating Permanent Corrective Actions (PCA) PCA
การนำการแก้ไขไปปฏิบัติ และพิสูจน์ยืนยันว่า การปฎิบัติกาารแก้ไขที่ระบุขึ้น นั้นมีประสิทธิผล สามารถยับยั้ง ป้องกันไม่ให้เกิดปัญฆาขึ้นได้จริง
D7: Preventing Recurrence
การป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นซ้ำ
D8: Recognizing Team Efforts
การมอบรางวัล ความชื่นชมให้กับทีมงานที่แก้ไขปัญหา นั้น ได้สำเร็จ
นอกจากนี้เรายังสามารถใช้เทคนิคอื่นๆ ร่วมด้วยในการแก้ไขปัญหา เช่น
เทคนิค PDCA: Plan Do Check Action
เทคนิค DMAIC: Define Measure Analyze Improvement Control
เทคคนิค KAIZEN:
- การวิเคราะห์กระบวนการ
- การหาจุดปรับปรุง
- การแก้ไขปัญหาและการปรับปรุงเพื่อให้ทำงานได้สะดวกขึ้น ดีขึ้น ง่ายขึ้น
- การรักษษมาตรฐานการทำงาน
โฆษณา